ศบค.เคาะ 6 จังหวัด งดเดินทางออกนอกพื้นที่สกัดติดโควิด19

ศบค.เคาะ 6 จังหวัด งดเดินทางออกนอกพื้นที่สกัดติดโควิด19

ศบค.ยกระดับ 6 จังหวัดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ห้ามนั่งทานในร้านอาหาร-งดเดินทางออกนอกพื้นที่ เพิ่มวันกักตัว 14 วันผู้เดินทางจากต่างประเทศ เริ่มบังคับใช้ 1 พ.ค.64

เวลา 16.00 น. วันที่ 29 เม.ย. 2564 ที่ทำเนียบรัฐบาล นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19(ศบค.) แถลงภายหลังการประชุมศบค.ชุดใหญ่ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานว่า ศบค.ให้มีการ ระดับมาตรการป้องกันและควบคุมโรคโควิด 19 โดย 1. การปรับระยะเวลากักตัวเป็น 14 วันสำหรับผู้เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักร จากเดิมที่ลดเป็น 7-10 วัน ก็ให้กลับมาเป็น 14 วันทั้งหมด รวมทั้ง ไม่อนุญาตให้ออกนอกห้องพัก เพื่อทำการตรวจหาเชื้อและรักษาพยาบาล และผู้ที่ได้รับอนุมัติตั้งแต่ 1 พ.ค.หรือก่อนวันที่ 1พ.ค.64และเดินทางถึงราชอาณาจักรนับตั้งแต่วันที่ 6 พ.ค. 64เป็นต้นไปและตรวจหาเชื้อ 3 ครั้ง


6จ.พื้นที่ควบคุมสูงาดและเข้มงวด
2.การปรับระดับของพื้นที่รายจังหวัด เป็น 3 สี คือ สีแดงเข้ม พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด มี 6 กรุงเทพฯ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ ชลบุรีและเชียงใหม่ สีแดง พื้นที่ควบคุมสูงสุด มี 45 จังหวัดที่เหลือ และสีส้ม พื้นที่ควบคุมมี 26 จังหวัด คือ กระบี่ กาฬสินธุ์ ชัยนาท ชุมพร ตราดนครนายก นครพนม หนองคาย บึงกาฬ บุรีรัมย์พังงา พะเยา แพร่ มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ยโสธรเลย สกลนคร สตูล สมุทรสงคราม สิงห์บุรี สุรินทร์ หนองบัวลำภู อุตรดิตถ์ อุทัยธานีและอำนาจเจริญ

มาตรการตามระดับพื้นที่
สำหรับมาตรการในแต่ละระดับพื้นที่ ประกอบด้วย 1. การสวมหน้ากากอนามัย/ผ้า ให้สวมหน้ากากอนามัย หน้ากากผ้าเมื่อออกจากเคหสถานหรืออยู่ในที่สาธารณะ เหมือนกันทุกพื้นที่ 2. การจัดกิจกรรม พื้นที่สีแดงเข้ม ห้ามจัดกิจกรรมรวมคนมากกว่า 20 คน พื้นที่สีแดงและสีส้ม ห้ามจัดมากกว่า 50 คน 3. ร้านอาหาร พื้นที่สีแดงเข้ม งดรับประทานอาหารในร้าน ซื้อกลับบ้านได้ เปิดไม่เกิน 21.00 น. งดการจำหน่ายและดื่มสุราในร้าน พื้นที่ สีแดงบริโภคในร้านได้ไม่เกิน 21.00 นสั่งกลับบ้านไม่เกิน 23.00 น งดการจำหน่ายและดื่มสุราในร้าน พื้นที่สีส้ม บริโภคในร้านได้ไม่เกิน 23.00 นงดการจำหน่ายและงดดื่มสุรา 4. ร้านสะดวกซื้อ ตลาดโต้รุ่ง พื้นที่สีแดงเข้มและพื้นที่สีแดง เปิดบริการ 04.00 -23.00 น.พื้นที่สีส้ม เปิดบริการตามปกติตามมาตรการที่กำหนด


5. สถานบริการ สถานบันเทิง บาร์คาราโอเกะทุกพื้นที่ ปิด 6. ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า ทุกพื้นที่ เปิดบริการตามปกติไม่เกิน 21.00 น. จำกัดจำนวนคน งดจัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย 7. สถานศึกษาทุกระดับ สถาบันกวดวิชา ทุกพื้นที่ห้ามใช้อาคารสถานที่เพื่อจัดการเรียนการสอนกิจกรรมที่มีการรวมคนจำนวนมาก และ 8. สถานที่เสี่ยงหรือสถานที่ที่มีกิจกรรมเสี่ยง พื้นที่สีแดงเข้ม ปิดยกเว้นสถานที่เล่นกีฬากลางแจ้งเปิดได้ไม่เกิน 21.00 นแข่งขันได้โดยไม่มีผู้ชม ส่วนพื้นที่สีแดง เปิดบริการตามข้อกำหนด สถานที่เล่นกีฬาเปิดได้ไม่เกิน 21.00 น.แข่งขันได้โดย จำกัดผู้ชม ผู้เล่น และพื้นทีสีส้ม เปิดบริการตามข้อกำหนดสถานที่เล่นกีฬาเปิดปกติแข่งขันได้โดยจำกัดผู้ชม/ผู้เล่น

161969286946

งดเดินทางออกนอกพื้นที่
นอกจากนี้ ในส่วนของพื้นสีแดงเข้ม 6 จังหวัด
ขอให้ประชาชนที่อยู่ในเขตพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด งดการเดินทางออกนอกพื้นที่โดยไม่มีเหตุจำเป็นเพื่อลดการเดินทางที่อาจเสี่ยงต่อการติดโรค แต่หากมีความจำเป็นให้ขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงที่ตั้งด่านต่างๆ ทั้งหมดให้มีผลตั้งแต่ 1 พ.ค.2564

หามาตรการเยียวยาผู้เดือดร้อน
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวอีกว่า ศปก.ศบค.ได้มีข้อเสนอเพิ่มเติม คือ 1. ประเด็นการบังคับใช้บังคับใช้กฎหมายและบทลงโทษสำหรับบุคคลที่ฝ่าฝืนกรณีการใส่หน้ากากให้กรมควบคุมโรคเสนอเรื่องต่อคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติพิจารณาออกระเบียบการเปรียบเทียบกับกรณีการฝ่าฝืนไม่สวมหน้ากากอนามัย รวมถึง กรณีอื่นที่จำเป็นในสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด 19 ให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐเจ้าของกิจการหรือผู้ประกอบการภาคเอกชนพิจารณาดำเนินการ work from home มาตรการขั้นสูงสุดอย่างน้อย 14 วัน

2. ขอให้ศบศ.พิจารณากำหนดมาตรการเยียวยาเพื่อช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ที่ได้รับผลกระทบจากการยกระดับมาตรการในครั้งนี้โดยเร่งด่วน 3. ขอให้กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับภาคประชาสังคมเร่งรัดในการช่วยเหลือดูแลพี่น้องประชาชนผู้มีรายได้น้อยและประชาชนกลุ่มเปราะบางอย่างเต็มความสามารถและ 4 .ให้ศปก.ศบค.ประสานกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับ และส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.)ในการจัดให้มีระบบประกันสุขภาพให้กับบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อตามข้อห่วงใยของผอ.ศบค.โดยเร็วที่สุด

กรอบสธ.จัดหาวัคซีนเพิ่มเติม
นพ.ทวีศิลป์ กล่าวด้วยว่า สำหรับแผนการจัดหาวัคซีน ประชากรในประเทศไทย 70 %หรือคิดเป็น 50 ล้านคนต้องใช้วัคซีนจำนวน 100 ล้านโด๊สขณะนี้ประเทศไทยมีการจัดหาแล้ว 63 ล้านโด๊สต้องจัดหาเพิ่มเติมอีก 37 ล้านโด๊ส ซึ่งกรณีที่สามารถจัดหาวัคซีนได้เพียงพอและทันเวลาจะฉีดวัคซีนเข็มที่ 2 เสร็จสิ้นภายในเดือนธ.ค. 2564 และหากสามารถจัดหาวัคซีนได้ 20 ล้านต่อเดือนจะทำให้สามารถฉีดวัคซีนได้ความครอบคลุมของวัคซีนรวดเร็วยิ่งขึ้น

ส่วนการให้บริการฉีดวัคซีนนั้น ทั่วประเทศจุดบริการทั้งในและนอกโรงโรงพยาบาลจำนวน 1000 แห่ง แห่งละ 500-1,000 โดสต่อวันรวม 500,000 - 1 ล้านโดาต่อวัน เป็นระยะเวลา 30 วันเท่ากับ 15- 30 ล้านโดาต่อเดือนจะฉีดครบ 100 ล้านโดส ภายในระยะเวลา 4 - 7 เดือน(ก.ย.-ธ.ค. 2564) พื้นที่กรุงเทพมหานคร เร่งรัดการฉีดวัคซีน โดยเพิ่มจุดให้บริการนอกโรงพยาบาล เช่นสนามกีฬา มหาวิทยาลัย ศูนย์การประชุม เป็นต้นจุดบริการทั้งในและนอกโรงพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนจำนวน 100 แห่ง แห่งละ 1,000 โดสต่อวันรวม 100,000 โดสต่อวันเป็นระยะเวลา 30 วันเท่ากับ 3 ล้านโดสต่อเดือน จะได้รับเข็มที่ 1 ครบภายในระยะเวลา 3 เดือน(มิ.ย.-ส.ค.2564)

ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขขอเสนอเพื่อให้พิจารณา ขออนุมัติหลักการการจัดหาจัดซื้อวัคซีน โควิด-19 ให้วัคซีนที่มีความหลากหลาย ทั้งชนิดและราคา เพื่อให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายได้รับวัคซีนครอบคุลม 70% โดยเร็วที่สุด ได้แก่ ภาครัฐจัดหาวัคซีน ไฟเซอร์/ไบออนเทคจำนวน 5-20 ล้านโดส สปุตนิก V จำนวน 5-10 ล้านโดส Johnson & Johnson จำนวน 5 - 10 ล้านโดส และ ซิโนแวค จำนวน 5-10 ล้านโดสหรือวัคซีนอื่น เช่น โมเดอร์นา หรือซิโนฟาร์มหรือบารัตหรือวัคซีนอื่น ที่จะมีการขึ้นทะเบียนในอนาคต รวมงบประมาณค่าวัคซีน เวชภัณฑ์และลูกโซ่ความเย็นโดยมอบกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขดำเนินการเจรจาจัดหาวัคซีน และภาคเอกชนจัดซื้อวัคซีนอื่นๆเพิ่มเติม