‘ประกันสังคม’ เปิดขั้นตอนรับ ‘เงินเยียวยา’ ลูกจ้างว่างงาน จาก ‘โควิด-19’

‘ประกันสังคม’ เปิดขั้นตอนรับ ‘เงินเยียวยา’ ลูกจ้างว่างงาน จาก ‘โควิด-19’

สำนักงาน “ประกันสังคม” ออกมาตรการมอบ "เงินเยียวยา" ลูกจ้าง "ว่างงาน" จาก "โควิด-19" โดยผู้ที่ได้รับเงินต้องมีคุณสมบัติ และมีขั้นตอน "รับเงินเยียวยา" ดังนี้

ยิ่งการระบาดเชื้อโควิด-19 ขยายไปวงกว้างเท่าไหร่ ไม่ใช่แค่ระบบสาธารณสุขที่น่ากังวล แต่ความเสียหายทางภาคธุรกิจ และเศรษฐกิจก็ต้องการการดูแลอย่างเร่งด่วน เพราะร้านค้า ผู้ประกอบการ โรงงานบางแห่งก็ทยอยปิดเนื่องจากทนพิษโควิดไม่ไหว พนักงาน ลูกจ้าง ผู้เป็นหนึ่งในกลไกหลักเหล่านั้นก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน 

วันนี้ (27 เม.) นางสาวลัดดา แซ่ลี้ ผู้อำนวยการสำนักสิทธิประโยชน์ ในฐานะรองโฆษกสำนักงานประกันสังคม กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในปัจจุบันมีสถานประกอบกิจการหลายประเภทได้รับผลกระทบต้องปิดหรือหยุดประกอบการส่งผลต่อลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนต้องหยุดงานชั่วคราวและไม่มีรายได้ สำนักงานประกันสังคมมีความพร้อมในการจ่ายสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย

161951995752

  • คุณสมบัติในการรับเงินเยียวยา จากประกันสังคม

ลูกจ้าที่จะได้รับเงินเยียวยาต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ 

- ต้องเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 ส่งเงินสมทบครบ 6 เดือนใน 15 เดือน 

- ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนไม่ได้ทำงานหรือนายจ้างไม่ให้ทำงานเนื่องจากต้องกักตัวเฝ้าระวังการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 หรือกรณีหน่วยงานภาครัฐมีคำสั่งให้นายจ้างหยุดประกอบกิจการเป็นการชั่วคราว เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออันตราย โดยการหยุดงาน ลูกจ้างม่ได้รับค่าจ้าง 

ซึ่งลูกจ้างมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัยในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวัน ระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน 

โดยที่ ลูกจ้างผู้ประกันตนไม่ต้องขึ้นทะเบียนว่างงานกับสำนักงานจัดหางานให้ยื่นเฉพาะคำร้องขอรับประโยชน์ทดแทน ในส่วนของนายจ้างก็ไม่ต้องแจ้งลาออกหรือเลิกจ้าง แต่ให้ส่งหนังสือรับรองว่าลูกจ้างไม่ได้ทำงานกี่วัน 

  • ขั้นตอนการยื่นรับเงินเยียวยาจากประกันสังคม

การขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัย โควิด-19 มีทั้งหมด 5 ขั้นตอน โดยต้องใช้เอกสารจากทั้งลูกจ้าง และนายจ้าง 

ส่วนของลูกจ้าง : (1)ลูกจ้างกรอกเอกสารแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน  (สปส. 2-01/7) โดยดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ที่ สปส. 2-01/7 หลังจากนั้นมอบให้นายจ้างพร้อมแบบสำเนาสมุดบัญชีเงินฝาก 

ในกรณีกักตัว ต้องใช้เอกสารประกอบด้วยคือ ใบรับรองแพทย์ให้กักตัว หรือ คำสั่งเจ้าพนักงานควบคุมโรคที่สั่งให้กักตัว 

ส่วนของนายจ้าง : (2)นายจ้างรวบรวมเอกสารคำขอรับประโยชน์ทดแทน  (สปส. 2-01/7)  หรือเอกสารอื่นๆ (ถ้ามี) จากลูกจ้าง  และ (3)นายจ้างนำเอกสารคำขอรับประโยชน์ทดแทนบันทึกข้อมูลในระบบ E-service 

*ในกรณีที่นายจ้างใช้ระบบครั้งแรกต้องลงทะเบียนเพื่อใช้ระบบก่อน

**ทั้งนี้นายจ้างที่ยังไม่ได้สมัครใช้งาน E-service ของสำนักงานประกันสังคม สามารถสมัครใช้งานในเว็บไซต์ก่อน 

(4)หลังจากที่กรอกลงระบบ E-service แล้ว นายจ้างนำเอกสารเหล่านั้นส่งทางไปรษณีย์ (แบบลงทะเบียน) ไปที่สำนักงานประกันสังคมในพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่  โดยต้องส่งภายใน 3 วันนับตั้งแต่วันที่บันทึกข้อมูลลงระบบ E-service5

(5)เมื่อสำนักงานประกันสังคมได้รับข้อมูลของนายจ้างถูกต้องครบถ้วน จะทำการอนุมัติจ่ายรอบแรก เงินเข้าบัญชีภายใน 5 วันทำการ ส่วนที่เหลือโอนเข้าบัญชีทุกสิ้นเดือนจนครบ ในกรณีเงินไม่เข้าบัญชี โทรสายด่วน 1506 

161951998074

ที่มา ศูนย์สารนิเทศ ฝ่ายข่าว สำนักงานประกันสังคม