‘ไทยชนะ’ ‘หมอชนะ’ ‘ไทยเซฟไทย’ ต่างกันอย่างไร​? เลือกใช้ให้ถูก

‘ไทยชนะ’ ‘หมอชนะ’ ‘ไทยเซฟไทย’ ต่างกันอย่างไร​? เลือกใช้ให้ถูก

สรุปจุดเด่นและฟังก์ชันของแอพพลิเคชัน "ไทยชนะ" "หมอชนะ" และ "ไทยเซฟไทย" แอพฯ ใหม่ล่าสุดจากกรมอนามัย มีหลายแอพฯ ขนาดนี้ ตกลงคนไทยต้องต้องใช้แอพฯ ไหน เพื่ออะไรกันแน่?

สถานการณ์โควิด-19 ระลอก 3 กลับมารุนแรงอีกครั้ง ถึงแม้ว่าการ์ดจะไม่ตก แต่ผลกระทบก็ส่งผลเป็นวงกว้าง และยังมีผู้ที่วิตกกังวลกับอาการติดเชื้อโควิดจำนวนมาก โดยหลายคนเริ่มทำแบบสำรวจอาการตนเอง ซึ่งหาข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐต่างๆ ส่วนภาครัฐเองก็สร้างแอพพลิเคชั่นขึ้นมารองรับในสถานการณ์โรคระบาด ล่าสุด.. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เปิดแอพพลิเคชั่น  “ไทยเซฟไทย”

โดยก่อนหน้านี้ ได้มีแอพพลิเคชั่น “ไทยชนะ” “หมอชนะ” ออกมาให้ประชาชนใช้แล้วสักระยะ เอาเป็นว่าเพื่อลดความสับสน กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ จะมาสรุปจุดเด่นและฟังก์ชันที่น่าสนใจระหว่าง 3 แอพพลิเคชั่น ให้คุณได้รู้กัน ดังนี้ 

  • แอพฯ "ไทยชนะ"

ไทยชนะ เป็นแพลตฟอร์มผ่านทางเว็บไซต์ www.ไทยชนะ.com และแอพพลิเคชันสมาร์ทโฟน ซึ่งดำเนินการโดยธนาคารกรุงไทย แพลตฟอร์มนี้จัดทำขึ้นมาเพื่อใช้ติดตามตัวประชาชนที่จะเข้าใช้บริการในห้างสรรพสินค้า โดยจัดเก็บข้อมูลผ่านการเช็คอินและเช็คเอาท์ด้วยคิวอาร์โค้ด

วิธีใช้งาน : ภายในแพลตฟอร์มไทยชนะจะประกอบไปด้วยฟีเจอร์การใช้งานต่าง  และวิธีใช้งานแพลตฟอร์มไทยชนะประกอบด้วย 3 ขั้นตอนง่าย ๆ

ขั้นแรก: ห้างสรรพสินค้า ร้านค้าต่าง ต้องลงทะเบียนที่ www.ไทยชนะ.com เพื่อให้มีชื่อร้านอยู่ในระบบออนไลน์ของแพลตฟอร์มนี้ จากนั้นจะได้รับคิวอาร์โค้ดของร้าน จากนั้นให้นำคิวอาร์โค้ดนั้น มาติดตั้งไว้ที่บริเวณหน้าร้านของตัวเอง

ขั้นที่สอง: สำหรับประชาชนที่จะเข้าไปใช้บริการในห้างสรรพสินค้าหรือร้านบริการต่าง ก็ให้ทำการสแกนคิวอาร์โค้ดที่ห้างฯ หรือร้านนั้น ติดไว้ที่หน้าร้าน ก่อนเข้าใช้บริการ เป็นการเช็คอินก่อนเข้าร้านและเช็คเอาท์ขณะที่กำลังจะออกจากร้านด้วย ไม่ต้องกังวลเรื่องความเป็นส่วนตัว เพราะใช้เพียงโทรศัพท์สมาร์ทโฟนสำหรับการสแกนคิวอาร์โค้ดเท่านั้น

ขั้นที่สาม: ระหว่างที่ประชาชนจะเข้าไปใช้บริการในห้างร้าน แพลตฟอร์มดังกล่าวจะมีฟังก์ชันให้สามารถจองออนไลน์เพื่อใช้บริการได้ด้วย เพื่อหลีกเลี่ยงผู้คนแออัดดระหว่างใช้บริการ ซึ่งจะช่วยป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19 

161839018414

  • แอพฯ "หมอชนะ"

หมอชนะ เป็นแอพพลิเคชั่นจัดเก็บข้อมูลการเดินทางของประชาชน เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบและประเมินระดับความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 จากสถานที่ต่าง ได้ด้วยตัวเอง และหากเปิด GPS ให้เข้าถึงตลอดเวลา การทำงานของแอพฯ จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ทั้งนี้ การทำงานของ “หมอชนะ จะคอยส่งบันทึกข้อมูลการเดินทางของผู้ใช้งานแบบอัตโนมัติ ระบุตำแหน่งของผู้ใช้งาน ซึ่งสามารถตรวจพบความเสี่ยง แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ให้ผู้ใช้รายงานความเสี่ยงของตัวเอง และ แจ้งเตือนผู้ใช้หากเข้าใกล้พื้นที่เสี่ยงที่มีผู้ติดโควิด-19 

โดยการใช้งานเริ่มจากให้ประชาชนดาวน์โหลดแอพ “หมอชนะ” บนสมาร์ทโฟน และตอบคำถามประเมินอาการของตัวเอง โดยจะแบ่งระดับของความเสี่ยงเป็น 4 ระดับคือ 

สีเขียว สำหรับบุคคลที่มีความเสี่ยงต่ำมาก ซึ่งเป็นคนที่ไม่มีอาการ ไม่มีประวัติไปต่างประเทศ หรือใกล้ชิดผู้มีความเสี่ยงในช่วง 14 วันที่ผ่านมา

“สีเหลือง สำหรับบุคคลที่มีความเสี่ยงน้อย ซึ่งอาจจะมีอาการไข้หวัด แต่ไม่มีประวัติไปต่างประเทศ หรือใกล้ชิดผู้มีความเสี่ยงในช่วง 14 วันที่ผ่านมา 

“สีส้ม” สำหรับบุคคลที่มีความเสี่ยง เพราะเป็นคนที่มีประวัติไปต่างประเทศ หรือใกล้ชิดผู้มีความเสี่ยงในช่วง 14 วันที่ผ่านมา แต่ไม่แสดงอาการ หรือมีอาการไม่เด่นชัด คนในกลุ่มนี้ต้องกักตัวอยู่กับบ้านจนครบ 14 วัน พร้อมทั้งเฝ้าระวัง ถ้ามีอาการควรรีบไปโรงพยาบาลทันที 

“สีแดง สำหรับบุคคลที่มีความเสี่ยงสูงมาก เพราะทั้งมีอาการ และมีประวัติไปต่างประเทศ หรือใกล้ชิดผู้มีความเสี่ยงในช่วง 14 วันที่ผ่านมา จะต้องรีบไปโรงพยาบาลทันที

หมอชนะ” มีความแตกต่างจาก ไทยชนะ คือ สามารถบอกได้ว่าเราเดินทางไปจุดใดบ้าง เมื่อเกิดโรคระบาดหรือมีผู้ติดเชื้อขึ้นมาจะตรวจสอบได้ว่าผู้ติดเชื้อคนนั้นไปสัมผัสกับใคร ไปพบใครบ้างและจะมีข้อความไปเตือนให้มารายงานตัว ทำให้ทราบไทม์ไลน์ได้แม่นยำมากขึ้นระดับนาที จากเดิมที่แพทย์ใช้การสัมภาษณ์ผู้ป่วย แม้จะไม่ปิดบังข้อมูลแต่อาจจำไม่ได้ ก็จะเกิดปัญหา

161839020228

    

  • แอพฯ "ไทยเซฟไทย"

“ไทยเซฟไทย เป็นเว็บแอพพลิเคชั่นใหม่ล่าสุด จากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข โดยมาพร้อมความสามารถหลักๆ ในการให้ประชาชนประเมินความเสี่ยง คัดกรองตัวเอง ซึ่งหากประเมินเสร็จแล้ว แอพฯ จะบอกชัดเจนว่าอยู่ในกลุ่มไหนนั้นเอง

ทั้งนี้การทำงานของเว็บแอพพลิเคชั่น "ไทยเซฟไทยก็สามารถทำได้ง่าย ไม่กี่ขึ้นตอนก็จะประเมินได้ว่าคุณจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงแบบไหน

ถ้าอยู่ในกลุ่มสีแดง หรือเสี่ยงมาก ก็ไม่ควรออกไปพบปะผู้อื่น และอาจจะต้องไปพบแพทย์ เพื่อตรวจหาเชื้อโควิด-19 ไม่เช่นนั้น อาจจะเผลอแพร่ต่อไปยังผู้อื่นได้ 

อย่างไรก็ตาม นอกจากจะโหลดแอพฯ “ไทยเซฟไทยเพื่อประเมินความเสี่ยงแล้ว ยังสามารถเข้าไปทำแบบทดสอบประเมินความเสี่ยงได้ที่ เว็บไซต์ "ไทยเซฟไทย" ได้อีกหนึ่งช่องทาง ซึ่งข้อมูลจะเหมือนกัน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ 

  • คัดกรองก่อนเข้าทำงาน สำหรับพนักงาน : ประเมินความเสี่ยงการแพร่เชื้อให้กับเพื่อนในที่ทำงาน
  • คัดกรองก่อนเข้าบ้าน สำหรับบุคคลทั่วไป : ประเมินความเสี่ยงการแพร่เชื้อให้กับคนที่รักในบ้าน

161839022195

  • สรุปการใช้งานของทั้ง 3 แอพพลิเคชั่น

ไทยชนะ

ผู้พัฒนา และดูแล : ธนาคารกรุงไทย

การใช้งาน : ใช้ติดตามตัวประชาชนที่จะเข้าใช้บริการในห้างสรรพสินค้า โดยจัดเก็บข้อมูลผ่านการเช็คอินและเช็คเอาท์ด้วยคิวอาร์โค้ด

หมอชนะ

ผู้พัฒนา และดูแล : กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน)

การใช้งาน : จัดเก็บข้อมูลการเดินทางของประชาชน เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบและประเมินระดับความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 จากสถานที่ต่าง ได้ด้วยตัวเอง

ไทยเซฟไทย

ผู้พัฒนา และดูแล : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข 

การใช้งาน :ให้ประชาชนประเมินความเสี่ยง คัดกรองตัวเอง

------------------------

ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข, กรมอนามัย