ยังคงวางกลยุทธ์เผื่อเฟดไม่พูดอะไรส่งผลให้ผลตอบแทนพันธบัตรปรับขึ้น

ยังคงวางกลยุทธ์เผื่อเฟดไม่พูดอะไรส่งผลให้ผลตอบแทนพันธบัตรปรับขึ้น

ระวังความเสี่ยงอัตราผลตอบแทนขยับขึ้นหากเฟดไม่ทำอะไร

แม้นักลงทุนจำนวนมากจะคาดหวังให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ ดำเนินนโยบายควบคุมการปรับขึ้นของผลตอบแทนพันธบัตร อาทิ การทำ Operation Twist (ขายตราสารหนี้ระยะสั้น ซื้อตราสารหนี้ระยะยาว) ซึ่งจะมีผลพลอยได้เป็นบรรยากาศลงทุนเชิงบวกในหุ้นและสินทรัพย์เสี่ยง อย่างไรก็ตาม เรามีมุมมองระมัดระวังและประเมินว่าเฟดอาจจะยังไม่ทำอะไรในการประชุมรอบ 16-17 มี.ค. นี้ เนื่องจาก 1) ผลตอบแทนพันธบัตร 10 ปี ปัจจุบันยังอยู่ที่เพียงระดับ 1.60% เมื่อเทียบกับในช่วง10 ปี ที่ผ่านมาที่เคยสูงถึง 3.0% การเร่งเข้าควบคุมตอนนี้อาจเร็วเกินไป 2) การใช้นโยบาย QE (ซึ่งจะมีผลให้ขนาดงบดุลของเฟดเพิ่ม) เพื่อกดพันธบัตรในอนาคตอาจต้องเพิ่มความระวัง หลังงบดุลของเฟดเพิ่มขึ้นมามากจากโควิด 3) นักลงทุนที่มีชื่อเสียงอย่าง Bill Gross (เจ้าพ่อพันธบัตร) ทำการขายชอร์ตพันธบัตร และประเมินเงินเฟ้อมีโอกาสเพิ่มขึ้นได้ถึง 3-4% แสดงถึงมุมมองว่าผลตอบแทนพันธบัตร มีโอกาสปรับขึ้นจากระดับปัจจุบัน ดังนั้นแม้เราอยากเห็นตลาดสดใสหลังการประชุมเฟด แต่ก็ต้องเตรียมใจเผื่อความผันผวนไว้เช่นกัน

ยังควรระมัดระวังกลุ่มที่มีความอ่อนไหวกับการปรับขึ้นของผลตอบแทนพันธบัตร ในกรณีที่เฟดตัดสินใจยังไม่เข้าควบคุมการเพิ่มขึ้นของผลตอบแทนพันธบัตร อาจทำให้เราเห็นการวิ่งขึ้นอย่างรวดเร็วสู่กรอบ 1.70-2.0% สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ 1) กลุ่มที่อ่อนไหว และมีความเสี่ยงที่จะกระทบหนัก จะผันผวนแรง โดยเฉพาะ ทองคำ และหุ้นเทคโนโลยี (ที่ Valuation แพง) 2) ค่าเงินสหรัฐฯ อาจแข็งค่า ส่งผลให้ทิศทางเงินทุนระยะสั้นอาจไหลออกจากตลาดเกิดใหม่ 3) หุ้นที่ขึ้นมาก โดยเฉพาะจากสถานการณ์โควิด อาจมีแรงขายล้อคกำไร 4) กลุ่มที่น่าในใจและเป็นแหล่งพักเงินจะเป็นหุ้นที่ยังขึ้นน้อย มีการถือครองในช่วงที่ผ่านมาต่ำ (Under-owned) ซึ่งหุ้นที่ยัง Laggard ใน SET50 (นับจาก 25 มี.ค.63) ที่น่าสนใจ ได้แก่ ADVANC, EGCO, BAM, TCAP, RATCH, BJC, DTAC, TU, TOA, OSP, BH, TRUE, CPALL, BTS, SCC เป็นต้น  

ตลาดเลือกเก็งกำไรรายตัว โดยธีมที่น่าสนใจ ได้แก่ 1) กลุ่มท่องเที่ยว-ธนาคาร จากการผ่อนคลายเศรษฐกิจ และมาตรการออก REIT buy back เราชอบธนาคารที่ยัง Laggard อย่าง BBL, SCB, AWC, MINT, CPN, BDMS 2) กลุ่มเปิดเศรษฐกิจ บวกต่อ CPN, CRC, MAJOR, SPA, BDMS, M 3) ได้ประโยชน์จากเราชนะ TNP เนื่องจากเป็นร้านค้าธงฟ้า 4) ไฟฟ้าชุมชน ยื่นซอง 22 มี.ค.-2 เม.ย. เรามองบวกต่อพลังงานทดแทน โดยเฉพาะ ETC และ ACE 5) Re-rating PTG 6) ปันผลและกองรีทส์ ADVANC, BTSGIF, CPNREIT, AIMIRT, FTREIT, EASTW, WHAUP, TTW, TIP 7) กลุ่มพลังงาน ปิโตรฯ PTT, PTTGC, IVL, TOP ส่วน SCC ยังขึ้นน้อยที่สุดใน 1 ปี ที่ผ่านมา

ภาพรวมกลยุทธ์ เรายังคงมุมมองเชิงบวกต่อภาพระยะกลาง คาดหุ้นปันผลสูง และพวกกองรีทส์ที่มีการถือครองต่ำ รวมถึงหุ้นที่ยังขึ้นน้อย มีโอกาสเป็นแหล่งพักเงิน ขณะที่เลือกเก็งกำไรรายตัวในกลุ่มปิโตรเคมี เพื่อ hedging กับโอกาสที่เฟดจะยังไม่คุมการเคลื่อนไหวของผลตอบแทนพันธบัตรในระดับแค่ 1.60% // หุ้นแนะนำวันนี้ เก็งกำไร SCC*, ADVANC*, TU*, ETC*

แนวรับ 1,550 / แนวต้าน : 1,580-1,600 จุด สัดส่วน : เงินสด 40% : พอร์ตหุ้น 60%

ประเด็นการลงทุน

ไบเดนเล็งขึ้นภาษีครั้งใหญ่ในรอบเกือบ 30 ปี. ผ่านการเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 21% เป็น 28% และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากผู้ที่มีรายได้สูงกว่า $4 แสนต่อปีขึ้นไป เพื่อรองรับการใช้จ่ายกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐ

ผลสำรวจชี้นักลงทุนกังวลเงินเฟ้อพุ่งมากกว่าโควิด-19. ผลสำรวจแบงก์ ออฟ อเมริกา ระบุว่า บรรดาผู้จัดการกองทุนมีความวิตกเกี่ยวกับความเสี่ยงจากเงินเฟ้อมากที่สุด ตามมาด้วยการที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจปรับลดวงเงินซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ขณะที่ความกังวลเกี่ยวกับโควิด-19 ร่วงลงมาอยู่ที่อันดับ 3

มูดีส์เตือนปัญหาวัคซีนแอสตร้าฯ ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเอเชีย. จะทำให้การกระจายวัคซีนในยุโรปล่าช้าออกไป และส่งผลกระทบต่อการค้าในระดับโลก โดยปัจจัยดังกล่าวจะเพิ่มความเสี่ยงต่อบทบาทของเอเชียในการผลักดันเศรษฐกิจโลกให้ฟื้นตัวขึ้น

จัตาการเสนอผ่อนคลายคุมโควิด ในการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ชุดเล็กวันพรุ่งนี้ (17 มี.ค.) จะเสนอกรอบการผ่อนปรนมาตรการให้จัดกิจกรรมในช่วงเทศกาลสงกรานต์

ประเด็นติดตาม: - 18 มี.ค. : FOMC meeting / 24 มี.ค. : ประชุม กนง.

(* หมายถึง หุ้นทางกลยุทธ์ ซึ่งอาจมีคำแนะนำต่างกับพื้นฐาน หรือที่ไม่ ได้อยู่ในการวิเคราะห์ของ UOBKH ซึ่งนักลงทุนควรพิจารณาตั้งจุดตัดขาดทุน 3-5% ของราคาที่เข้าซื้อ)