วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง BOJ Meeting & US PCE/Core PCE Price เดือน เม.ย.

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง BOJ Meeting & US PCE/Core PCE Price เดือน เม.ย.

ทางเทคนิค คาด SET Index ผันผวน แนวต้าน 1,365/1,373 จุด (EMA 10/25 วัน) แนวรับ 1,353/1,349 จุด ภาพใหญ่ของดัชนีฯ อยู่ในรูปแบบ ขาลง กรอบ 1,300-1,410 จุด ส่วนระยะสั้น ยังคงอยู่ในช่วงของการรีบาวนด์

โดยมีแนวต้านสาคัญที่ 1,357/1,370/1,384 จุด (1/3 ½ และ 2/3 ของกรอบ Fibonanci 1,411.46-1,330.24 จุด ที่ทำไว้เมื่อวันที่ 10-19 เม.ย. ที่ผ่านมา) ซึ่งสอดคล้องกับแนวต้านสำคัญ หากอิงจากเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ EMA 25/50 วัน ที่ 1,372/1,378 จุด ก่อนที่จะปรับตัวลดลงไปทดสอบจุดต่ำสุดเดิม 1,330 จุด ดังนั้น เราแนะนำ ขึ้นทยอยขาย เพื่อรอซื้อคืนที่ต่ำกว่า 1,340 จุด

ประเด็น Event สำคัญ วันนี้

US 1Q24E Earnings Results: จับตารายงานผลกำไรของ Exxon (คาด EPS 2.21 Vs เดิม USD2.83), Chevron (คาด EPS USD2.96 Vs เดิม USD3.55) AbbVie คาด USD2.27 Vs เดิม 2.46)

TH 1Q24 Earnigns Results: จับตารายงานผลประกอบการของหุ้นกลุ่มที่มิใช่สถาบันการเงิน DELTA (Consensus คาดรายงานกำไรเติบโต +31.9% YoY, +1.2% QoQ เป็น 4,766 ล้านบาท) โดยจะเป็นเชิงบวกต่อตลาดหุ้นไทย หากออกมาดีกว่าคาด เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้น ทุก ๆ 1 บาทของ DELTA มีผลต่อดัชนีตลลาดฯ 1 จุด

 

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง BOJ Meeting & US PCE/Core PCE Price เดือน เม.ย.

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง BOJ Meeting & US PCE/Core PCE Price เดือน เม.ย.

ตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญ:

-BOJ Meeting: BOJ Governor อุเอดะ ส่งสัญญาณพร้อมปรับขึ้นดอกเบี้ย หากเงินเฟื้อพื้นฐานยังคงเพิ่มขึ้น แต่ปัจจุบันยังต่ำกว่าเป้าหมาย 2% KTX ประเมินว่าความสำคัญของการประชุม จะอยู่ที่การส่งสัญญาณถึงมาตรการแทรกแซงค่าเงินเยน มากกว่าการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย (Bloomberg Consensus คาดคงดอกเบี้ยนโยบายในการประชุมครั้งนี้ที่ 0.0% แต่คาดว่าทั้งปี 2024 BOJ มีโอกาสปรับขึ้นดอกเบี้ย 2 ครั้ง) หลังค่าเงินเยนในช่วงที่ผ่านมาถูกเก็งกำไรในทิศทางอ่อนค่าอย่างรุนแรง อิงรายงานผู้ซื้อขายสินค้าโภคภัณฑ์ล่วงหน้าประเภทค่าเงินเยน (CFTC JPY speculative net positions) พบว่า มีการเปิดสถานะ Short ค่าเงินเยน (เก็งกำไรเยนอ่อนค่า) สูงถึง 162.2 แสนสัญญา (สูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2010) เป็นปัจจัยหนึ่ง กดดันให้ค่าเงินเยนอ่อนค่าถึง 154.4 เยน/ดอลลาร์สหรัฐฯ (สูงสุดในรอบ 34 ปี)

 

 

Goldman Sachs คาดว่าระดับ 155 เยน/USD เป็นระดับ Critical Point ที่ทางการ Japan อาจเข้าแทรกแซง ส่วน Frederic Neumann หัวหน้านักเศรษศาสตร์ของ HSBC อิงการสนทนากับ Asset Fund Managers ในญี่ปุ่น คาดว่าค่าเงินเยนอาจอ่อนลงไปแตะ 160-170 เยน/USD หากการอ่อนค่าเป็นแบบมีเสถียรภาพ ขณะที่การเข้าแทรกแซงค่าเงินเยนของ BOJ มีความเป็นไปได้มากขึ้น หลังจาก BOJ มีการเจรจากับ Janet Yellen รมว.คลังสหรัฐฯ และธนาคารกลางเกาหลีใต้ ในสัปดาห์ก่อน โดยคาดว่าจะเป็นการหารือเพื่อขอความร่วมมือกับสหรัฐฯ ในการลดการเก็งกำไร

หากมีการเข้าแทรกแซงจริง คาดว่าจะส่งผลเชิงลบต่อตลาดหุ้นญี่ปุ่น โดยหาก BoJ ส่งสัญญาณแทรกแซงค่าเงินเยน จนแข็งค่ากลับเข้าสู่ระดับปกติ (Normalize) จะกดดันให้เกิดความเสี่ยงที่ Consensus จะเริ่มปรับประมาณการ EPS ของญี่ปุ่น ลดลงมาสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจจริง KTX ประเมิน EPS อยู่ที่ 139.2 ดอลลาร์สหรัฐฯ/หุ้น ซึ่งต่ำกว่าประมาณของ Consensus ที่ประเมินอยู่ที่ 165.5 ดอลลาร์สหรัฐฯ/หุ้น ถึง -15.9%

+/-US รายงาน PCE/Core PCE Price เดือน เม.ย. คาดเติบโตเท่ากับเดือน มี.ค. หากเทียบ MoM และลดลงเล็กน้อยหากเทียบ YoY: Consensus คาดว่า PCE Price จะเติบโต +0.3% MoM, +2.6% YoY (Vs เดือน มี.ค. +0.3% MoM, +2.5% YoY) ส่วน Core PCE Price ขยายตัว +0.3% MoM, +2.6% YoY (Vs เดือน มี.ค. +0.3% MoM, +2.8% YoY) ทั้งนี้ เราคาดว่าสัญญาณดังกล่าว จะส่งผลให้คณะกรรมการเฟด อาจส่งสัญญาณคงดอกเบี้ย เพื่อรอดูตัวเลขเงินเฟ้อต่อไป (High For Longer) ภายใต้แนวโน้มเศรษฐกิจที่มีสัญญาณเติบโตต่อเนื่อง (Soft Landing) ผนวกกับการรับผลบวกจากตัวเลขฐานสูง จะเริ่มลดลงนับตั้งแต่เดือน มิ.ย.

กลยุทธ์ลงทุน แนะนำ หุ้นที่มีประเด็นข่าวเชิงบวก ได้แก่ ITC BDMS TTB

 

 

Strategic daily picks

ITC    ปิด 21.30 บาท/แนวรับ 20.70 บาท แนวต้าน 22.10 บาท

ทิศทางผลการดำเนินงาน 1Q24 จะออกมาค่อนข้างดี เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2023 เนื่องจากปริมาณการขายสูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมา ตามคำสั่งซื้อที่ฟื้นตัวกลับมา สอดคล้องกับภาคส่งออก (อาหารสัตว์เลี้ยง) ที่มีการขยายตัวได้ดี ขณะที่ภาพรวมทั้งปี 2024 จะเติบโตมากกว่าปี 2023 ทั้งนี้ Bloomberg Consensus ประมาณการกำไรสุทธิ 1Q24 ที่ 728.67 ล้านบาท (+71.39% YoY) และมูลค่าเหมาะสม 25.63 บาท

BDMS    ปิด 28.75 บาท/แนวรับ 27.25 บาท แนวต้าน 30.75 บาท

ภาพรวมผลประกอบการ 1Q24 จะออกมาดี สอดคล้องกับผู้ป่วยใน (IPD) และผู้ป่วยนอก (OPD) ทั้งชาวไทยและต่างชาติที่เข้ามาใช้บริการทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ธุรกิจการให้บริการทางแพทย์ในปี 2024 จะยังเติบโตต่อเนื่อง จากสังคมผู้สูงอายุและรายได้ประชากรต่อหัวสูงขึ้น โดยเฉพาะในต่างจังหวัด บวกกับการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน ทั้งนี้ Bloomberg Consensus ประมาณการกำไรสุทธิ 1Q24 ที่ 3.86 พันล้านบาท (+11.15% YoY) และมูลค่าเหมาะสม 34.97 บาท

TTB    ปิด 1.79 บาท/แนวรับ 1.73 บาท แนวต้าน 1.88 บาท

ผลการดำเนินงาน 1Q24 มีกำไรสุทธิ 5.33 พันล้านบาท +24.19% YoY จากกลยุทธ์การปรับโครงสร้างสินเชื่อและการบริหารเงินฝาก เพื่อให้ผลตอบแทนและต้นทุนทางการเงินที่สอดคล้องกัน และมีรายได้จากการดำเนินงานรวม 1.77 หมื่นล้านบาท +4.7% YoY และค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน 7.57 พันล้านบาท +3.7% YoY ทั้งนี้ Bloomberg Consensus ประเมินมูลค่าเหมาะสม 2.03 บาท

 

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง BOJ Meeting & US PCE/Core PCE Price เดือน เม.ย.

วิเคราะห์แนวโน้มตลาด : บล.กรุงไทย เอ็กซ์สปริง BOJ Meeting & US PCE/Core PCE Price เดือน เม.ย.