ต้องรู้อยากปลูก "กัญชากัญชง" ให้รวย

ต้องรู้อยากปลูก "กัญชากัญชง" ให้รวย

การที่ประเทศไทยปลดล็อก “กัญชากัญชง”ออกจากสารเสพติด เป็นนโยบายที่ดี แต่เรื่องการบริหารจัดการทำให้ “กัญชากัญชง”เป็นพืชเศรษฐกิจและทำให้ผู้ปลุกรวยได้ต้องทำอย่างไร เป็นเรื่องที่ศึกษาเรียนรู้

หลังจาก “กระทรวงสาธารณสุข” ได้ปลดล็อก “กัญชากัญชง” ส่งผลให้ภาคส่วนต่างๆ โดยเฉพาะ ภาคเอกชนที่สนใจนำ "กัญชากัญชง" มาเป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) คาดการณ์ว่า แนวโน้มตลาด "กัญชากัญชง"จะมีมูลค่ากว่า 1.03 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2024 (2567) โดยตลาดหลัก “กัญชากัญชง”คือ สหภาพยุโรป มูลค่า 39,000 ล้านเหรียญสหรัฐ รองลงมาคือ สหรัฐ 37,000 ล้านเหรียญสหรัฐ และเอเชีย 12,500 ล้านเหรียญสหรัฐ

ปัจจุบันพบว่ามีหลายประเทศที่เปิดเสรีการผลิตสินค้าจากพืช 2 ชนิดนี้แล้ว ข้อมูลจาก Cannabit Addict ระบุว่า ปัจจุบันมีประเทศที่ปลดล็อกกัญชาทั้งหมดและปลดล็อกบางส่วนรวม 69 ประเทศ จาก 193 ประเทศทั่วโลกคิดเป็นสัดส่วน 36% ของประเทศทั้งหมด

การที่ประเทศไทยปลดล็อก “กัญชากัญชง”ออกจากสารเสพติด เป็นนโยบายที่ดี แต่เรื่องการบริหารจัดการทำให้ “กัญชากัญชง”เป็น "พืชเศรษฐกิจ" และแข่งขันต่างชาติได้ ต้องมีเมล็ดพันธุ์สายพันธุ์ที่จะให้เกษตรกรปลูก โรงงานสารสกัด การแปรรูป การเก็บเกี่ยว การทำเป็นผลิตภัณฑ์ ตลาดที่จะนำไปขาย และการควบคุมคุณภาพมาตรฐาน การทำให้กัญชากัญชงกลายเป็นพืชเศรษฐกิจต้องทำให้ถูกกฎหมาย มีคุณภาพมาตรฐาน

ข่าวที่เกี่ยวข้องแนะ "ปลูกกัญชาระบบปิด" สร้างมาตรฐานชูเป็นวาระแห่งชาติ

                     ใช้ 'กัญชง' อย่างไร ให้ถูกกฏหมาย

  • พัฒนาสายพันธุ์ "กัญชากัญชง"ครบวงจร

“ภก.สมนึก สุชัยธนาวนิช” อดีตผู้อำนวยการกองพัฒนายาแผนไทยและสมุนไพร ให้สัมภาษณ์“กรุงเทพธุรกิจ”ว่า การพัฒนา "กัญชา” เป็น "พืชเศรษฐกิจ" สิ่งแรกที่จะต้องเตรียมคือเรื่องสายพันธุ์ที่ควรปลูก จากนั้นต้องมี "เทคโนโลยี" รองรับทั้งการเก็บเกี่ยว การสกัด การแปรรูปผลิตภัณฑ์

ฉะนั้น ก่อนที่จะปลูกต้องสร้างโมเดลตั้งแต่การปลูก การ "พัฒนาสายพันธุ์" การบริหารจัดการทำให้ "กัญชา"เป็น "พืชเศรษฐกิจ" และแข่งขันต่างชาติได้ ทว่าในความเป็นจริงประเทศไทยยังขาดการดำเนินการหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็น เมล็ดพันธุ์ สายพันธุ์ที่จะให้เกษตรกรปลูก โรงงานสารสกัด การแปรรูป การเก็บเกี่ยว การทำเป็นผลิตภัณฑ์ ตลาดที่จะนำไปขาย และการควบคุมคุณภาพมาตรฐาน  

20 ปีก่อน "ภก.สมนึก" ทำงานคลุกคลีกับสมุนไพร มีส่วนร่วมในการจัดตั้งโรงงานต้นแบบสารสกัดสมุนไพร เพื่อนำไปสู่การสร้างอุตสาหกรรม พัฒนายาสมุนไพรแผนไทยต่างๆ น้ำมันสูตรเดชา น้ำมันสูตรเมตตา น้ำมันสูตรการุณ และยา 16 ตำรับแพทย์ไทย ซึ่งเป็นโรงงานสกัดที่ได้มาตรฐาน ปัจจุบันใช้สำหรับสกัดน้ำมันกัญชา และสารสกัดกัญชากัญชงต่างๆ สามารถสกัดแห้งได้วันละ 100-200 กิโลกรัม

161572020630

ผ่านการศึกษาดูงานในต่างประเทศ อาทิ การแปรรูปที่อเมริกา กฎหมาย การปลูก "กัญชา" แบบครบวงจรที่เนเธอแลนด์ ประเทศจีน และออสเตรเลีย แต่ละประเทศมีการดำเนินการเรื่องกัญชากัญชง แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์มากว่า 30-40 ปี

 อดีตผู้อำนวยการกองพัฒนายาแผนไทยและสมุนไพร อธิบายว่าการพัฒนา“กัญชา” เป็น "พืชเศรษฐกิจ" จะต้องสร้างโมเดลเริ่มตั้งแต่การปลูก "พัฒนาสายพันธุ์" หลังจากเกษียณแล้วเขาได้ร่วมกับเครือข่าย ตั้งบริษัท Hemp Biz ให้บริการปรึกษาเกี่ยวกับกัญชากัญชง  ตั้งแต่การจัดการ "เทคโนโลยี" ส่งเสริมการปลูก สกัด แปรรูป ไปตลอดจนถึงพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ 

ขณะนี้ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พัฒนาเมล็ดพันธุ์ที่ดีที่สุดของประเทศ โดยได้นำเข้าเมล็ดพันธุ์จากต่างประเทศ และใช้เมล็ดพันธุ์พื้นถิ่นรวม 17 สายพันธุ์ที่มีสาร CBD สูง

มีการปลูกโรงเรือนแบบปิดที่ปากช่อง จ.นครราชสีมา ในตู้คอนเทนเนอร์ ควบคุมการปลูกทุกขั้นตอน ทั้งระบบน้ำ ระบบอากาศ แสง ความชื้น ติดตั้งระบบแอร์ ระบบปุ๋ย และใช้เทคโนโลยีการปลูก การผลิตผ่านทางดิจิตอล AI ซึ่งผู้เชี่ยวชาญดูจากมือถือได้ คาดว่าอีก 1-2 ปี จะได้สายพันธุ์ของไทยเองที่มีมาตรฐานถูกต้องตามกฎหมาย และจะขยายเม็ดพันธุ์เหล่านี้ไปแก่เกษตรกร เพื่อลดต้นทุนการนำเข้าเมล็ดพันธุ์จากต่างประเทศ ที่ตกเมล็ดละประมาณ 40-50 บาท ถ้าพัฒนาสายพันธุ์เองต้นทุนลดลงกว่ามาก

มิกซ์“กัญชา”กับสมุนไพรอื่นๆ

ผู้บริหารบริษัท Hemp Biz กล่าวว่า การปลูก "กัญชากัญชง" ตลอดจนการพัฒนา "เมล็ดพันธุ์ควรทำให้เกิด Therapy จากกัญชา ที่นักลงทุนต่างประเทศต้องการอย่างมาก และใช้กลิ่นให้เกิดประโยชน์ นอกจากนั้น รัฐบาลต้องสร้างความรู้ให้แก่เกษตรกร ประชาชน

ลงทุน "เทคโนโลยี" สร้างโรงงานสารสกัด การแปรรูป การเก็บเกี่ยว และต่อยอดไปสู่การสร้างผลิตภัณฑ์จากกัญชากัญชงที่แตกต่างจากตลาด หรืออาจนำมาใช้ตามเทรนด์กระแสสุขภาพ เพราะกัญชากัญชงสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ที่สำคัญต้องคำนึงถึงมาตรฐาน และลดช่องว่างระหว่างธุรกิจขนาดเล็กกับขนาดใหญ่ด้วย

ที่สำคัญภาครัฐต้องมองวิธีคิดใหม่ ไทยมีภูมิปัญญา มีสมุนไพรต้องดูเทรนด์ของโลก เช่น เวชศาสตร์ชะลอวัย ทำอย่างไรให้ผู้สูงอายุไม่แก่ อยู่อย่างยั่งยืน ไม่ทรมาน ด้วยการนำกัญชากัญชงมาใช้ร่วมในผลิตภัณฑ์อื่นๆ ต้องนำสมุนไพรอื่นๆ มาผสม เพื่อทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ และทำให้สมุนไพรอื่นๆ ของไทยได้รับความนิยมมากขึ้น

ภาครัฐอย่างสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ต้องทำการจับมิกซ์สมุนไพรที่สามารถมีคุณสมบัติทำงานร่วมกับ "กัญชากัญชง" ดูแลสุขภาพได้ และเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามาดำเนินงาน ควรมีขั้นตอนที่ง่าย ไม่จำกัดกรอบมากเกินไป และอย่าส่งเสริม "กัญชากัญชง" อย่างเดียว ต้องส่งเสริมสมุนไพรอื่นๆ ด้วย

161572027075

  • เชื่อมเครือข่ายผลิตมาตรฐาน

ปัจจุบันบริษัท Hemp Biz ให้บริการปรึกษาเกี่ยวกับ "กัญชากัญชง" ตั้งแต่การจัดการเทคโนโลยี ส่งเสริมการปลูก สกัด แปรรูป ไปตลอดจนถึงพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์  โดยทำงานร่วมกับโรงงานสารสกัดสมุนไพรของรัฐ พัฒนาสูตรตามความต้องการของภาคธุรกิจ เชื่อมโยงนักลงทุนต่างประเทศกับไทย มีเครือข่าย มีโมเดลโรงปลูกควบคุมระบบต่างๆ มีโรงงานสารสกัดที่อมตะนคร มีโรงงานที่กระทุ่มแบน

อย่างไรก็ตาม การพัฒนา "กัญชากัญชง" ของไทย ต้องทำความเข้าใจ สร้างความรู้ เมล็ดพันธุ์ให้แก่เกษตรกร และเป็นที่ปรึกษา จับคู่ทางธุรกิจให้แก่นักธุรกิจไทยและต่างประเทศ ยอมรับว่าตลาดมีอัตราการเติบโตสูง และมีช่องทางให้ทำผลิตภัณฑ์มากมาย เพียงแต่นักธุรกิจนักลงทุน ต้องรู้ว่าตัวเองอยู่ในกลุ่มไหน และเลือกผลิตภัณฑ์ที่ตนเองต้องการ เพื่อพัฒนาและช่วยยกระดับให้ "กัญชากัญชง" เป็นพืชเศรษฐกิจ ช่วยพลิกชีวิตของคนไทยให้ได้

ทุกคนอยากปลูก อยากใช้ อยากขาย แต่หากไม่ได้มาตรฐานและไม่มีตลาดรองรับ กัญชากัญชงก็อาจต้องใช้เวลานานกว่าจะเป็นพืชเศรษฐกิจ ส่งออกของประเทศไทยได้ภก.สมนึก กล่าวทิ้งท้าย