"นิกร" ห่วง "ส.ว." งดออกเสียง แนะรอฟังคำวินิจฉัยส่วนตนก่อนโหวตวาระสาม

"นิกร" ห่วง "ส.ว." งดออกเสียง แนะรอฟังคำวินิจฉัยส่วนตนก่อนโหวตวาระสาม

"นิกร" ห่วง ปม "ส.ว." ขอย้อนทำประชามติ ก่อนโหวตวาระสาม แฝงอันตราย งดออกเสียง ในวาะสาม การแก้รัฐธรรมนูย อ้างความไม่ชัดเจน แนะ รัฐสภา รอฟังคำวินิจฉัยส่วนตนก่อน

        นายนิกร จำนง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคชาติไทยพัฒนา ในฐานะเลขานุการคณะกรรมาธิการ (กมธ.) พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่...) พ.ศ... รัฐสภา กล่าวโดยเชื่อว่ารัฐสภา สามารถลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ในวาระสามได้ เพราะสอดคล้องรวมถึงเป็นไปตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ให้อำนาจรัฐสภาดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ร่างรัฐธรรมนูญที่รอการลงมติวาระสามนั้น เป็นเพียงการแก้ไขรายมาตรา คือ มาตรา 256  และ การเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับ โดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ยกเว้นหมวด 1 บททั่วไป และหมวด 2 พระมหากษัตริย์

        "คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ทำให้ไม่มีความขัดแย้งในเชิงอำนาจระหว่างสถาบันนิติบัญตัติและตุลาการขึ้น โดยศาลชี้ให้รัฐสภาทำได้ แต่อำนาจเด็ดขาดในการสถาปนาอยู่ที่ประชาชน ซึ่งสอดคล้องกับหลักการของกมธ.ในการพิจารณาที่ผ่านมา โดยคำวินิจฉัยนี้ทำให้เกิดการผ่อนคลาย กับสมาชิกรัฐสภาบางส่วนที่ยังมีความกังวลว่า รัฐธรรมนูญจะขัดธรรมนูญหรือไม่ เพราะเมื่อศาลชี้แล้ว รัฐสภาก็สามารถทำได้ โดนสิ้นข้อสงสัย และเมื่อรัฐสภาผ่านวาระสามแล้ว จึงนำไปทำประชามติ ซึ่งเป็นไปตามขั้นตอนของรัฐธรรมนูญ และเมื่อส.ส.ร.ทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้ว จึงนำไปทำประชามติ ซึ่งเป็นไปตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ" นายนิกร กล่าว

        นายนิกร กล่าวด้วยว่าส่วนกรณีที่มีสมาชิกรัฐสภา ส่วนของวุฒิสภาระบุว่าก่อนแก้รัฐธรรมนูญต้องทำประชามติก่อนนั้น ตนไม่เห้นด้วย อีกทั้งทำไม่ได้ตามการตีความของรัฐธรรมนูญ​มาตรา 166 ที่ให้อำนาจทำประชามติเป็นของรัฐบาล และกำหนดให้ทำเรื่องที่เกี่ยวกับนโยบายของฝ่ายบริหาร ส่วนการรแก้รัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องของฝ่ายยนิติบัญญัติ ขณะที่การตั้งคำถามก็ไม่สามารถกระทำได้ เพราะไม่มีประเด็น

        "เรื่องนี้ถ้าเป็นไปได้น่ารอ พิจารณารวมที่สมบูรณ์ และคำวินิจฉัยเป็ยรายบุคคล เพื่อจะได้ทราบว่า ศาลชี้ตามแนวทางปฏิบัติว่าอย่างไร เพราะมีนัยยะที่มีอันตราย ถ้ายังคลุมเครือ กล่าวคือการพิจารณาในวาระสาม อาจมีการยกเป็นข้ออ้างว่า ยังความไม่ชัดเจนในการทำประชามติแล้วงดออกเสียง ซึ่งจะทำให้ได้เสียงจากส.ว.ไม่ครบ 1 ใน 3หรือ 84 เสียงส.ว. ตามบทบัญัตติเดิมของรัฐธรรมนูญ ทำให้ร่างนี้ต้องตกไปในทันที จึงสมควรใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง" นายนิกร กล่าว.