‘ราคาทอง’ ขึ้น-ร่วง กับเบื้องหลังภาระที่ 'ร้านทอง' ต้องแบกรับ

‘ราคาทอง’ ขึ้น-ร่วง กับเบื้องหลังภาระที่ 'ร้านทอง' ต้องแบกรับ

เบื้องหน้า "ราคาทอง" ขึ้น-ร่วง กระแสการซื้อขายทองคึกคักและเงียบเหงาไปตามจังหวะของตลาด ในส่วน "ร้านทอง" นั้นเป็นไปอย่างไรบ้าง? ชวนส่องเบื้องหลังตู้ทองกับภาระที่ร้านทองต้องแบกรับ

สถานการณ์ "ราคาทอง" ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีความผันผวน ปรับราคาขึ้น-ลงอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันราคาทองวันนี้ (8 มี.ค.2564) เปิดตลาดบวก 150 บาท ต่อเนื่องเป็นวันที่สอง โดยเมื่อวานสรุปราคาทองคำปิดบวก 150 บาท จากที่ก่อนหน้านี้ทำราคาลบไปรวม 350 บาท ขณะที่หากดูราคาภาพรวมตั้งแต่เปิดปี 2564 เป็นต้นมา ราคาร่วงไปกว่า 2,100 บาท ซึ่งยังต้องจับตาต่อไปว่าราคาจะเป็นไปในทิศทางใด เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาที่ทำราคาขึ้นไปทั้งหมด 5,300 บาทจากปีก่อนหน้า 

เบื้องหน้าราคาทองคำที่ขึ้น-ลง ทำให้กระแสการซื้อขายทองคึกคักและเงียบเหงาไปตามจังหวะของตลาด และเป็นไปตามปัจจัยทางเศรษฐกิจ โดยในช่วงที่เศรษฐกิจเกิดความผันผวนอย่างหนัก การลงทุนในสินทรัพย์ประเภทอื่นๆ มีความเสี่ยงสูง รวมถึงภาวะวิกฤติที่ทั่วโลกต้องเผชิญ อย่างเช่นวิกฤติโรคระบาด ส่งผลให้ทองคำกลายเป็น Safe Haven หรือหลุมหลบภัย 

ขณะที่ "ร้านทอง" ตัวกลางในการแลกเปลี่ยนซื้อขายสินทรัพย์นั้น ต้องตั้งรับกับความผันผวนนี้ "กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" ชวนไปส่องเบื้องหลังตู้ทองที่ร้านทองมีรายได้มาจากไหนบ้าง? และต้องแบกรับภาระอะไรบ้าง? 

  • "ร้านทอง" มีรายได้มาจากไหน?

หากถามว่า รายได้จากร้านทองมาจากไหน?

..คำตอบก็คือ หลักๆ แล้วมาจากการขายทองคำรูปพรรณและทองคำแท่ง ทั้งขายให้ลูกค้าทั่วไปที่มาซื้อทอง และขายทองรูปพรรณเก่าให้ผู้ค้าส่งทองคำหรือผู้ผลิต รวมถึงรายได้จากค่ากำเหน็จ หรือค่าผลิตทองคำรูปพรรณให้เป็นลวดลายต่างๆ ที่บวกค่าการตลาดของผู้ประกอบการร้านทองไปอีกทอดหนึ่ง เพื่อให้คุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายอื่นๆ นอกเหนือจากค่าสินค้า เช่น ค่าเดินทาง

ดังนั้นราคาขายทองรูปพรรณ หนัก 1 บาท จะเท่ากับราคาขายทองคำแท่ง หนัก 1 บาท + ค่ากำเหน็จ โดยตั้งแต่วันที่ 1 ..2559 ราคาค่ากำเหน็จทองรูปพรรณขั้นต่ำ ซึ่งร้านทองคำใช้เป็นราคาอ้างอิง เป็นบาทละ 500 บาท

นอกจากนี้กิจการร้านทองอาจมีการประกอบธุรกิจอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น การรับขายฝาก หรือการขายทอง (ให้เข้าใจง่าย คือ คล้ายกับจำนำ) โดยมีข้อตกลงว่า ผู้ขายมีสิทธิไถ่ถอนคืนภายในกำหนดเวลาตามสัญญา โดยจะบวกค่าตอบแทนที่คำนวณตามระยะเวลาที่กำหนดในสัญญานั้นๆ รวมถึงการขายเครื่องประดับ สินค้าที่เกี่ยวข้อง และการให้บริการอื่นๆ อาทิ รับซ่อมทอง การใส่กรอบพระ รับจองวัตถุมงคล ชุบทอง เป็นต้น

อีกทั้งผู้ประกอบการร้านทองที่ประกอบกิจการรับจำนำ โดยได้รับอนุญาตให้ตั้งโรงจำนำตาม ...โรงรับจำนำนั้น จะมีรายได้จากดอกเบี้ย ที่มีคนนำทองรูปพรรณมาเป็นประกันเพื่อชำระหนี้ และบางรายอาจมีรายได้จากการให้กู้ยืมเงินและให้เช่าอาคาร

  • ภาระที่ต้องแบกรับ ภายใต้ตู้ทอง

ขณะที่ฟากของ รายจ่าย ธุรกิจร้านค้าปลีกทองคำ เกิดขึ้นจากหลายส่วนดังนี้

1. ค่าซื้อสินค้า หลักๆ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ค่าซื้อทองรูปพรรณใหม่ ค่าซื้อทองรูปพรรณเก่า และค่าซื้อทองคำแท่ง

- ค่าซื้อทองรูปพรรณใหม่ ซึ่งผู้ค้าปลีกทองจะต้องซื้อทองรูปพรรณที่ผลิตขึ้นใหม่ โดยกลุ่มผู้ค้าส่งทองหรือร้านค้าปลีกทองขนาดใหญ่ เพื่อนำมาขายต่อ ในส่วนนี้ร้านค้าส่งทองจะมีการบวกค่ากำเหน็จเข้าไปแล้ว ซึ่งเมื่อร้านค้าปลีกนำไปขายต่อก็จะบวกค่ากำเหน็จเพิ่มเติมเข้าไปอีก

ค่าซื้อทองรูปพรรณเก่า ที่ร้านค้าทองต้องรับซื้อจากผู้ขายที่มาติดต่อที่หน้าร้าน ซึ่งโดยทั่วไปแล้วเมื่อร้านรับซื้อมาแล้ว จะนำทองรูปพรรณเก่าไปขายต่อให้กับร้านค้าส่งทอง เพื่อนำไปหลอมเป็นทองคำแท่งหรือนำไปผลิตเป็นทองรูปพรรณใหม่ต่อไป แน่นอนว่าร้านค้าปลีกทองคำต้องเตรียมเงินทุนเพื่อรับซื้อทองคำคืน โดยเฉพาะช่วงที่ทองคำมีราคาสูง ความต้องการขายก็จะยิ่งเพิ่มมากขึ้นด้วย

ขณะเดียวกันในแง่ของราคาที่ร้านค้าส่งจะรับซื้อทองรูปพรรณเก่าคืนนั้น จะเท่ากับราคารับซื้อคืนทองคำแท่งหนัก 1 บาท - 1.8% โดยตัวเลข 1.8% หมายถึงค่าเสียหายจากการหลอมและค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่ขึ้นไปเกิน 1.8% ของมูลค่าซื้อคืนทองคำแท่งหนัก 1 บาท  วันที่ทำการซื้อขายตามราคาที่สมาคมทองคำประกาศ

- ค่าซื้อทองคำแท่ง ซึ่งราคาขายทองคำแท่งต้องพิจารณาตัวแปรหลายส่วน ได้แก่ ราคาทองในตลาดโลก (Gold Spot), ค่าใช้จ่ายในการนำเข้าหรือส่งออกทองคำแท่ง บวกค่าประกันภัย บวกเพิ่มค่าความเสี่ยง (Premium) ซึ่งหากนำเข้าจะมีค่าเป็นบวก และมีค่าเป็นลบเมื่องส่งออก, อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ และตัวเลข 0.4729 เป็นค่าเปลี่บนแปลงน้ำหนักทองคำแท่ง

ดังนั้น "ราคาขาย" ทองคำแท่งหนัก 1 บาท เท่ากับ (Gold Spot +/- Premium) x อัตราแลกเปลี่ยน x 0.4729 

ส่วนสูตร "ราคารับซื้อคืน" ทองคำแท่งของร้านค้าส่งทองนั้น จะได้เท่ากับราคาขายทองคำแท่ง หนัก 1 บาท - 100 บาท

2. ค่าจ้างช่างทำทอง ซึ่งรายจ่ายในส่วนนี้ขึ้นอยู่กับความยากง่ายในการทำ ลวดลายทอง และความต้องการซื้อ  เวลานั้นๆ โดยเป็นการคิดราคาต่อชิ้น แบ่งเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ ค่ากำเหน็จทองรูปพรรณ และค่ากำเหน็จทองคำแท่ง

ค่ากำเหน็จทองรูปพรรณ เป็นค่าแรงในการนำทองแท่งมาเแปรรูปทำเป็นเครื่องประดับ เช่น แหวน สร้อยคอ สร้อยข้อมือ กำไล จี้ ต่างหู ฯลฯ จะมค่าแรงหลายระดับขึ้นอยู่กับลวดลาย โดยมาตรฐานค่าแรงทองรูปพรรณ 1 บาท อยู่ที่ประมาณ 500-800 บาท หากเป็นรายละเอียดที่ซับซ้อน ค่าแรงอาจอยู่ที่ 1,000-3,000 บาท

- ค่ากำเหน็จทองคำแท่ง ทองคำประเภทนี้จะผลิตเป็นแท่งบล็อกสี่เหลี่ยม ซึ่งค่าแรงเรียกว่า "ค่าบล็อก" หรือ "ค่าพรีเมี่ยม" โดยส่วนใหญ่จะมีราคาถูกกว่าในส่วนของทองรูปพรรณ เนื่องจากผลิตง่าย ไม่ซับซ้อน

ทั้งนี้มาตรฐานค่าแรงทองแท่ง 1 บาท อยู่ที่ 100-400 บาท แต่หากมีลวดลายมากขึ้น ค่าแรงก็จะเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันนั้นในบางที่หากมีการซื้อทองแท่งขนาด 5 บาทขึ้นไป อาจไม่ต้องจ่ายค่าบล็อก

3. ประกันภัยร้านทอง นับเป็นหลักประกันของความปลอดภัยของร้านทอง ซึ่งสมาคมประกันวินาศภัยไทยอธิบายไว้ว่า ประกันภัยร้านทอง หมายถึง การประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองความเสียหายให้กับเจ้าของร้านทองในกรณีที่ร้านทองถูกชิงทรัพย์หรือถูกปล้น รวมถึงคุ้มครองทองคำ ตัวอาคารและอุปกรณ์ภายในร้าน คุ้มครองความเสียหายให้กับเจ้าของร้าน

โดยอัตราเบี้ยประกันภัยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลักๆ ได้แก่ ภัยที่ได้รับความคุ้มครอง สถานที่ทำประกันภัยหรือทำเลที่ตั้ง และระบบรักษาความปลอดภัยต่างๆ เช่น กำหนดให้มีตำรวจหรือ รปภ.รักษาการณ์ในเวลาทำการไม่น้อยกว่า 5 ชั่วโมง มีระบบแจ้งเหตุไปยังสถานีตำรวจ มีการรักษาความปลอดภัยด้วยกระจกนิรภัยหรือลูกกรงเหล็ก เป็นต้น ซึ่งมูลค่าการชดใช้ เท่ากับน้ำหนักของทองคำที่ถูกชิงทรัพย์หรือปล้นทรัพย์ x ราคารับซื้อทองคำแท่งหรือทองคำรูปพรรณ

4.ค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น เงินเดือนพนักงาน ค่าเช่าสถานที่ ค่าขนส่ง ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าพาหนะ ค่าไฟฟ้า และค่าน้ำประปา เป็นต้น

5.ดอกเบี้ยจ่าย ที่เกิดจากการที่กิจการร้านทองกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินต่างๆ มาเป็นทุนหมุนเวียนในกิจการ ซึ่งส่วนใหญ่สินเชื่อธุรกิจประเภทนี้มักจะกำหนดคุณสมบัติ อย่างเช่น ประสบการณ์ในการทำธุรกิจหรือก่อตั้งกิจการมาแล้วไม่ต่ำกว่า 10 ปีขึ้นไป ซึ่งอัตราค่าธรรมเนียมบางแห่งคิดตามอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ขั้นต่ำ (MLR) ตามประกาศของแต่ละธนาคาร

6. ภาษีอากรของธุรกิจร้านทอง มีทั้งภาษีเงินได้ ซึ่งแยกเป็นบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล โดยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งเงินที่ได้จากการขายทองคำเป็นเงินพึงได้ประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลกฎหมายรัษฎากร หรือเงินพึงได้ตลอดตลอดปีภาษี ซึ่งจะมีวิธีการหักค่าใช้จ่าย 2 วิธี คือ การหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาร้อยละ 60% หรือหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร ขณะที่ด้านนิติบุคคลจะคำนวณจากฐานกำไรสุทธิ ซึ่งหากมีผลขาดทุนสุทธิทางภาษี ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล

ซึ่งอัตราภาษีเป็นขั้นบันได ดังนี้

159714349865

นอกจากนี้ยังมีภาษีมูลค่าเพิ่ม จากการที่ร้านทองที่มีเงินได้จากการขายสินค้า หรือให้บริการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (..01) ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีเงินได้เกิน 1.8 ล้านบาท ซึ่งการนับมูลค่าฐานภาษีจากการขายทองเพื่อจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะต้องนับเงินได้ทั้งจำนวนที่ได้รับ ไม่ใช่นับจากผลต่างหรือค่ากำเหน็จ เนื่องจากผลต่างหรือค่ากำเหน็จเป็นฐานในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มแล้วเท่านั้น

7.การทำบัญชีหรือรายงานแสดงรายได้และรายจ่าย ซึ่งกิจการร้านทองบุคคลธรรมดาต้องจัดทำบัญชี แบ่งเป็น 2 กรณี ได้แก่

1) กรณีผู้ประกอบการกิจการที่เป็นบุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล และไม่ไช่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะต้องจัดทำบัญชีหรือรายงานแสดงรายได้และรายจ่ายเป็นประจำวัน โดยต้องลงรายการในบัญชีรายได้และรายจ่ายภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่มีรายได้หรือรายจ่าย

2) กรณีผู้ประกอบกิจการที่เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล นอกจากต้องจัดทำรายงานเงินสดรับ-จ่ายแล้ว ยังต้องทำบัญชีรายรับ-จ่ายของห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคลเพื่อแสดงยอดเงินคงเหลือยกมา โดยจำนวนเงินของยอดรายได้และรายจ่ายที่ได้มีการรับมาและจ่ายไปในระหว่างปีภาษีและยอดเงินคงเหลือยกไป เพื่อยื่นพร้อมกับการยื่นแบบ ...90 หรือ ...91 ของทุกปีภาษี

ที่มา : nationtv, goldtradersrdblog.ausiristgiadatawarehouse.dbd