‘วันสตรีสากล’ ใส่ใจ-จัดการบทบาทที่ถูกมองข้าม ก้าวสู่อีกขั้นของ ‘ความเท่าเทียมทางเพศ’

‘วันสตรีสากล’  ใส่ใจ-จัดการบทบาทที่ถูกมองข้าม ก้าวสู่อีกขั้นของ ‘ความเท่าเทียมทางเพศ’

เนื่องใน “วันสตรีสากล” 8 มี.ค.2021 องค์การสหประชาชาติ กำหนดธีมรณรงค์ไว้ว่า “Women in leadership: Achieving an equal future in a COVID-19 world” หรือ “ผู้หญิงในด้านความเป็นผู้นำ เพื่อสร้างอนาคตที่เท่าเทียมบนโลกยุคโควิด-19”

นอกเหนือจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ทั่วโลกเผชิญ อีกหนึ่งปัญหาที่อยู่ในขั้นวิกฤตคือ ปัญหาเรื่อง ‘ความไม่เท่าเทียม’ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความไม่เท่าเทียมทางเพศ ปัจจุบันเด็กหญิงและผู้หญิงจำนวนมากยังต้องเผชิญกับ ความไม่เท่าเทียมที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน

ไม่ว่าจะเป็น การเข้าถึงด้านการศึกษา การเข้าถึงด้านสุขภาพ หรือแม้กระทั่งปมที่เพศหญิงดูเหมือนจะได้รับเงินค่าจ้าง หรือตำแหน่งหน้าที่ที่ต่ำกว่าเพศชาย  

ข้อมูลจาก  World Economic Forum (WEF) ได้มีรายงานไว้ว่า ในช่วงอายุของคนยุคปัจจุบัน และยุคอนาคตในรุ่นลูกหลานของเรา ความเท่าเทียมระหว่างเพศหญิงและชายจะเป็นเรื่องที่ไม่มีทางเป็นจริง   ซึ่งแน่นอนว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 ยิ่งส่งผลกระทบเชิงลบต่อผู้หญิงเป็นวงกว้างในสังคม ส่งผลให้ช่องว่างของความเท่าเทียมทางเพศยิ่งกว้างมากขึ้นกว่าเดิม

161513616226

ความเท่าเทียมทางเพศในพื้นที่สำนักงาน

เนื่องใน วันสตรีสากล 8 มีนาคม  (ของทุกปี) หรือ International Women’s Day (IWD) โดย องค์กรสหประชาชาติได้กำหนดชื่อธีมของวันสตรีสากลในปีนี้ไว้ว่า Women in leadership: Achieving an equal future in a COVID-19 world หรือ ผู้หญิงในด้านความเป็นผู้นำ เพื่อสร้างอนาคตที่เท่าเทียมบนโลกยุคโควิด-19 ซึ่งกล่าวถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นหากเด็กหญิงและผู้หญิงได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียม  และการตั้งเป้าหมายระดับโลกสำหรับทุกๆ ฝ่าย ในการร่วมมือทำให้เกิดขึ้นจริง โดยแวดวงธุรกิจหรือบริษัทต่าง ๆ ควรลงมือทำอะไรบางอย่าง เพื่อให้สิทธิทางเพศที่เท่าเทียมสามารถเกิดขึ้นในสังคม

นอกจากนี้ใน “วันสตรีสากล” เราควรเฉลิมฉลองความสำเร็จต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากผู้หญิง และใช้โอกาสนี้เพื่อสะท้อนถึงสิ่งต่างๆ ที่ธุรกิจกำลังทำอยู่ หรือสามารถทำได้ เพื่อตอบรับและสนับสนุน “ความเท่าเทียมทางเพศ” ทั้งยังเพิ่มโอกาสในการเป็นผู้นำที่มากขึ้นให้แก่ผู้หญิงอีกด้วย

  161513628061

การเติบโตในสายงานของสตรี

@ การใส่ใจและจัดการกับบทบาทที่ถูกมองข้าม (Underrepresentation) 

รายงานของ WEF เผยว่า 3 สาเหตุหลักที่ทำให้ความไม่เท่าเทียมทางเพศยังคงมีอยู่คือ

  1. เพศหญิงมีภาพลักษณ์ที่คนมอบให้อย่างอัตโนมัติ อย่างการต้องเป็นแม่บ้านและมีหน้าที่เลี้ยงลูกอยู่บ้าน
  2. ผู้หญิงมักเจอกับปัญหาโครงสร้างพื้นฐานด้านการดูแลและการเข้าถึงแหล่งการศึกษาหรือสิทธิต่างๆ ที่ไม่เพียงพอ
  3. สายงานที่ผู้หญิงมีโอกาสได้รับอัตราค่าจ้างที่สูงและสามารถเติบโตได้ยังมีไม่เพียงพอและยังเป็นจำนวนที่น้อยอยู่

จุดปิดกั้นโอกาสในการมีบทบาทความเป็นผู้นำและมีส่วนร่วมในที่ทำงานของผู้หญิงสามารถเห็นได้อย่างชัดเจนมากขึ้นในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่ผ่านมา

ยกตัวอย่างเช่น การที่ผู้หญิงส่วนใหญ่ต้องรับบทบาทหน้าที่รับผิดชอบการเลี้ยงดูลูกที่บ้าน ซึ่งส่งผลต่อความก้าวหน้าทางด้านอาชีพ จากการคาดการณ์ของ McKinsey อัตราการตกงานของผู้หญิงมีสูงขึ้น 1.8 เท่า เมื่อเทียบกับอัตราการตกงานของผู้ชายทั่วโลก

แม้ว่าการทำงานที่ยืดหยุ่น จะสามารถให้ Work-Life Balance กับผู้หญิงในการทำหน้าที่ แม่บ้าน และ พนักงาน ได้ แต่หากไม่ทำด้วยความระมัดระวัง ความยืดหยุ่นดังกล่าวในการทำงานอาจสร้างความลำบากที่มากขึ้นให้กับผู้หญิง เพราะต้องคอยต่อสู้เพื่อ ค่าจ้าง และ ความเท่าเทียมกับเพื่อนร่วมงานชาย ในที่ทำงานอยู่ดี

ที่สุดของความท้าทายคือ การใส่ใจและจัดการแก้ปัญหาเรื่อง บทบาทที่ถูกมองข้าม หรือเรื่อง under-representation ของผู้หญิง อาทิ บทบาทอาชีพของผู้หญิงในสายงานคลาวด์คอมพิวติ้ง งานวิศวกรรม งาน Data และ AI 

ซึ่งปัญหาดังกล่าวนี้ ธุรกิจสามารถมีส่วนช่วยแก้ไขโดยหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาและแสวงหาทักษะใหม่ ๆ ให้กับพนักงานหญิง เพื่อพวกเธอจะมีเครื่องมือและทักษะที่พร้อมต่อการรับมือกับปัญหาและสามารถใช้ประโยชน์จากโอกาสต่างๆ ที่มาพร้อมกับเศรษฐกิจยุคดิจิทัล

การสร้างส่วนร่วมเป็นสิ่งสำคัญ แต่การสร้างโอกาสเพื่อให้ผู้หญิงได้รับบทบาทของความเป็นผู้นำ เป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่ยิ่งกว่า 

ดังนั้นเพื่อพัฒนา ความเท่าเทียมทางเพศในที่ทำงาน เราควรคำนึงถึงวงจร แบบโดยรวมทั้งหมดของพนักงาน เริ่มตั้งแต่วิธีการหาและคัดเลือกพนักงานมาร่วมงานบริษัท ไปจนถึงวิธีที่บริษัทเลือกลงทุนเพื่อพัฒนาบุคลากรในองค์กร

  161513655839

@ สร้างสภาพแวดล้อมที่มีความครอบคลุม (Inclusive Environment)

การสร้างวัฒนธรรมที่เท่าเทียมภายในองค์กร ไม่เพียงแต่เป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่ยังเป็นสิ่งฉลาดที่ธุรกิจพึงกระทำ ข้อมูลจากผลสำรวจหลากหลายชิ้น ชี้ให้เห็นว่า สถานที่ทำงานที่มีความหลากหลาย สามารถสร้างผลกำไรได้มากกว่า “การสร้างนโยบายในที่ทำงาน” เช่น

  • สนับสนุนการจ้างงานพนักงานที่มีความแตกต่างและหลากหลาย
  • จัดทำโปรแกรมอบรมเพื่อลดความลำเอียง หรือ bias ในที่ทำงาน
  • โครงการแนะนำและเฟ้นหาบุคลากรที่อาจไม่ได้มีโอกาสเข้าถึงตำแหน่งงานมาก่อน

เป็นแนวทางปฏิบัติที่ธุรกิจสามารถนำมาใช้ หรือในบางเหตุการณ์ที่พนักงานหญิงมีความจำเป็นต้องลางาน บริษัทก็มีหน้าที่ช่วยเหลือ ให้การสนับสนุนพนักงานหญิงในการกลับมาทำงานด้วยค่าตอบแทนที่เท่าเทียมกับพนักงานที่ตำแหน่งงานเท่ากัน

161513669699

การจัดกระบวนการเลื่อนตำแหน่งให้มีความเสมอภาค  ดูแลและให้โอกาสที่เท่าเทียม

สร้างสภาพแวดล้อมในที่ทำงานที่เป็นเหมือน “สังคมจริง” โดยให้โอกาสพนักงานหญิงมีบทบาทและหน้าที่งานทุกตำแหน่งภายในบริษัท โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบอร์ดผู้บริหาร ตำแหน่ง C-Suites ที่มีอำนาจในการตัดสินใจ โดยเหล่านี้ต้องอาศัยการสนับสนุนจากบริษัทมาตั้งแต่ระดับแรกเริ่ม

เช่นจัดให้มีการฝึกอบรมพัฒนาความเป็นผู้นำ หรือการจัดกระบวนการเลื่อนตำแหน่งให้มีความเสมอภาค  ดูแลและให้โอกาสที่เท่าเทียม รวมถึงมองเห็นและชื่นชมความสำเร็จของพนักงานหญิง เพื่อเป็นตัวช่วยให้ผู้หญิงในองค์กรสามารถก้าวเข้าสู่ตำแหน่งระดับสูงได้ และเป็นแรงบันดาลใจให้พนักงานหญิงคนอื่น ๆ อยากเติบโตและก้าวหน้าในการงานมากขึ้นด้วย

โลกแห่งยุคดิจิทัลที่การทำงานสามารถทำได้จากที่ไหนก็ได้ ทำให้หลายๆ ธุรกิจและบริษัทมีความรับผิดชอบที่สูงขึ้นในการสร้างความเป็นอยู่ภายในบริษัท ให้แวดล้อมไปด้วยความเท่าเทียม ยุติธรรมและครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็นในพื้นที่ออฟฟิศหรือรูปแบบออนไลน์ก็ตาม  

  161513677330

เราสามารถสร้างความเท่าเทียม สร้างสังคมที่ทุกคนมีตัวตน มีสิทธิ และมีคุณค่า

“ความไม่เท่าเทียม” เป็นปัญหาที่ทุกคนในสังคมต้องร่วมกันรับผิดชอบ เราควรใช้โอกาสนี้ที่เศรษฐกิจกำลังเริ่มกลับเข้าสู่การฟื้นฟูจากการแพร่ระบาดเพื่อปรับสภาพแวดล้อมในที่ทำงานให้ดีขึ้น  สร้างโอกาสในงานที่มีคุณค่า ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ ของพนักงานที่อาจถูกมองข้ามหรือละเลย เพื่อให้ทุกคนสามารถเติบโตและก้าวหน้าไปด้วยกัน ธุรกิจนั้นสามารถเป็นแพลตฟอร์มที่ยิ่งใหญ่สำหรับสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในสังคม ซึ่งในกรณีนี้ คือการสนับสนุน ลงทุน และช่วยเหลือผู้หญิงจำนวนมากให้สามารถมีบทบาทในการเป็นผู้นำจากการร่วมมือกัน เราสามารถสร้างความเท่าเทียม สร้างสังคมที่ทุกคนมีตัวตน มีสิทธิ และมีคุณค่า

 

บทความโดย : ธิติรัตน์ ทองถาวร ผู้อำนวยการฝ่ายขายประจำภูมิภาค, Salesforce

* * * * *

เกี่ยวกับเซลล์ฟอร์ซ

Salesforce (เซลล์ฟอร์ซ) คือผู้ให้บริการแพลตฟอร์มการจัดการลูกค้าสัมพันธ์ Customer Relationship Management (CRM) ระดับโลก ช่วยให้ธุรกิจเข้าถึงลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพในยุคดิจิทัล เซลล์ฟอร์ซก่อตั้งขึ้นในปพ.ศ. 2542 เพื่อให้บริการธุรกิจทั้งขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ในการเข้าถึงลูกค้าผ่านการใช้ประโยชน์ของเทคโนโลยีอย่าง คลาว์ด, เทคโนโลยีเคลื่อนที่ไร้สาย, เทคโนโลยีด้านโซเชียล, IoT, AI, เทคโนโลยีการสั่งงานด้วยเสียงและบล็อกเชน เพื่อสร้างการเข้าถึงผู้บริโภคแบบ 360 องศา  ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเซลล์ฟอร์ซ เข้าไปที่ https://www.salesforce.com