เอคเซนเชอร์ เปิด ‘ฟยอร์ดเทรนด์’ เจาะ 7 แนวโน้มเด่นปี 2021

เอคเซนเชอร์ เปิด ‘ฟยอร์ดเทรนด์’ เจาะ 7 แนวโน้มเด่นปี 2021

วิเคราะห์เทรนด์โลก จาก 2020 ปีแห่งการทบทวนวิถีการใช้ชีวิต ทำงาน และพักผ่อนของผู้คน 
สู่ 7 แนวโน้มเด่นในปี 2021 เสริมสร้างความหวังใหม่ให้กับธุรกิจ ผู้บริโภค และสังคม

นายดาวิน  สมานนท์ กรรมการผู้จัดการ กลุ่มงานบริการทางการเงิน เอคเซนเชอร์ ประเทศไทย กล่าวถึง รายงาน Fjord Trends 2021 ซึ่งได้สำรวจ 7 แนวโน้มเด่นที่จะเข้ามามีบทบาทต่อธุรกิจ พฤติกรรมผู้บริโภค และสังคมในอนาคต ในปีนี้ว่า 

1.วิถีใหม่ห่างเพราะห่วง (Collective Displacement): ในปี 2563 วิถีที่คนได้รับประสบการณ์และสถานที่เกิดประสบการณ์นั้นๆ เปลี่ยนไปจากที่เคยเป็นมา ทุกคนต่างต้องแยกย้าย แยกกันทำงานหรือทำกิจกรรม เราต่างต้องหาวิธีใหม่และสถานที่ใหม่ ในการจะทำการงานที่จำเป็น รวมทั้งทำกิจกรรมที่ชื่นชอบ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เปลี่ยนไปสำหรับหลาย ๆ คน ตัวแบรนด์เองก็ต้องหาแนวทางใหม่ และนำเสนอประสบการณ์ใหม่ ๆ เพื่อมีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า

2.นวัตกรรม DIY (Do-it-yourself innovation): นับวันนวัตกรรมก็ยิ่งขับเคลื่อนด้วยความปราดเปรื่องของมนุษย์ ที่ต้องค้นหาแนวทางใหม่ หรือ “เอาตัวรอด” เมื่อต้องเจอกับความท้าทาย เทคโนโลยีจึงเข้ามามีบทบาทเป็นตัวช่วยดึงความอัจฉริยะ ความคิดสร้างสรรค์ของผู้คนจึงฉายแสงออกมาอย่างต่อเนื่อง 

3.ความเป็นทีมที่หลากหลาย (Sweet teams are made of this): จากที่เคยทำงานข้างนอก ตอนนี้การต้องอยู่ต้องกินในบ้านซึ่งกลายมาเป็นที่ทำงาน ส่งผลอย่างมากต่อความสัมพันธ์ที่มีระหว่างนายจ้างและพนักงาน รวมทั้งประเด็นต่าง ที่เกี่ยวข้อง

4.ท่องโลกแบบอินเทอร์แอ็กทิฟ (Interaction wanderlust): ผู้คนมีปฏิสัมพันธ์ผ่านทางหน้าจอมากขึ้น เราจะสังเกตเห็น “สิ่งเดิม ๆ” ในหน้าจอที่เหมือนเป็นเทมเพลตเดียวกันในแง่ประสบการณ์ดิจิทัล องค์กรจึงต้องคิดใหม่ในเรื่องการออกแบบ เรื่องคอนเทนต์ กลุ่มเป้าหมาย และการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน เพื่อให้สามารถสร้างความแตกต่าง ตื่นเต้น เร้าใจ เพลิดเพลิน และโดนใจ เจาะเข้าไปในประสบการณ์ที่พวกเขาพบเจอบนหน้าจอ

5.ระบบโครงสร้างพื้นฐานที่ไหลลื่น (Liquid infrastructure): เมื่อวิธีการได้รับผลิตภัณฑ์และการบริการของคน กระจายแยกพื้นที่กันไป องค์กรจึงต้องคิดใหม่ในเรื่องซัพพลายเชนและการใช้สินทรัพย์ทางกายภาพ รวมทั้งจุดให้บริการว่าจะทำให้เกิดความเพลิดเพลินและประทับใจต่อผู้บริโภคได้อย่างไร บริษัทจึงต้องปรับตัวให้ไวและยืดหยุ่นพอที่จะฟื้นตัวรองรับสถานการณ์ ซึ่งการจะปรับตัวได้เร็วนั้น ควรคิดถึงการเปลี่ยนแปลงเสมอ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงในอนาคตที่จะเกิดขึ้นเพราะคนแสวงหาหนทางที่ยั่งยืน 

6.แบรนด์ที่ใส่ใจอย่างจริงใจ (Empathy challenge): คนในปัจจุบันใส่ใจว่าแบรนด์มีจุดยืนต่อสถานการณ์ต่างๆ ในสังคมและแสดงให้เห็นถึงคุณค่าของแบรนด์อย่างไร สถานการณ์โรคระบาดได้ฉายสปอตไลต์ให้คนเห็นระบบที่ไม่เชื่อมโยงกันและไม่เท่าเทียมกันในโลก ตั้งแต่เรื่องการเข้าถึงบริการสุขภาพไปจนถึงความเท่าเทียมกันของมนุษย์ 

บริษัทจึงต้องทำงานอย่างหนักในการจัดระบบเรื่องราวที่ผู้คนรับรู้หรือมองภาพเกี่ยวกับแบรนด์ โดยให้ความสำคัญกับประเด็นที่ใกล้ตัวเขามากที่สุด และผลักดันให้เกิดพฤติกรรมที่สอดคล้อง

7.พิธีกรรมที่เปลี่ยนไป (Rituals lost and found): การที่วิถีในการดำรงชีวิตหรือพิธีกรรมต่าง ถูกยกเลิกและเปลี่ยนโฉมไป ตั้งแต่เรื่องการยินดีในวาระการเกิด ไปจนถึงการจากลาในวาระที่เสียชีวิต พิธีกรรมต่าง ในช่วงชีวิตของคนเราล้วนส่งผลอย่างมากต่อกลุ่มต่าง ในสังคม แนวโน้มของการละเลิกอันเนื่องมาจากภาวะนิวนอร์มัลเป็นโอกาสที่ดีที่องค์กรจะช่วยให้ผู้คนค้นหาความหมาย ด้วยวิถีใหม่ๆ ที่ให้ความเพลิดเพลินและสบายใจ แบรนด์ควรเริ่มต้นจากความเข้าใจวิถีแบบเดิมๆ ที่สูญหาย จากนั้นจึงออกแบบสิ่งใหม่เข้ามาทดแทน