Bank Sector (26 ม.ค.64)

Bank Sector (26 ม.ค.64)

สรุปผลประกอบการ 4Q63 & 2563: ยังคงฟื้นตัวต่อ

Event

สรุปผลประกอบการ 4Q63 และปี 2563

Impact

กำไรจากธุรกิจหลักใน 4Q63 ดีกว่าประมาณการของเรา 10%

ผลประกอบการงวด 4Q63 ของหุ้นกลุ่มธนาคารที่เราดูแลอยู่ออกมาดีกว่าที่เราคาดไว้มาก เพราะแต่ละธนาคารใช้กลยุทธ์การตั้งสำรองที่แตกต่างกันไป ซึ่งหากตัดรายการกันสำรองออกไปกำไรจากการดำเนินงาน (PPOP) ใน 4Q63 จะสูงกว่าประมาณการ 10% โดยของ KKP สูงกว่าคาด 39% ในขณะที่ TMB 17%, SCB 15%,, KTB 13% และ KBANK 9% อย่างไรก็ตามมีเพียง PPOP ของ BBL กว่าประมาณการของเรา 10% เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้น และรายได้ค่าธรรมเนียมไม่เพิ่มขึ้นเลย ทั้งนี้การที่ผลประกอบการของแต่ละธนาคารดีเกินคาดมีสาเหตุแตกต่างกันไป โดยในกรณีของ SCB ของ TMB เป็นเพราะรายได้ค่าธรรมเนียมจาก bancassurance และ wealth management พุ่งแรง ในขณะที่ KBANK, KKP TISCO เป็นเพราะมีกำไรจากการลงทุนก้อนโต

NIM ของธนาคารใหญ่ลดลง โดย KTB ลดหนักสุด รองลงมาคือ BBL และ KBANK

NIM ของเกือบทุกธนาคารลดลง (โดยเฉพาะธนาคารใหญ่) เนื่องจากมีการขยายเวลาการให้ดอกเบี้ยต่ำพิเศษแก่ลูกหนี้ที่ประสบปัญหา โดย NIM ของ KTB ลดลงมากที่สุดถึงประมาณ 30bps QoQ รองลงมา คือ BBL และ KBANK ซึ่งลดลงประมาณ 10bps QoQ และ SCB ซึ่งลดลง <10bps ทั้งนี้ ในฐานะที่เป็นธนาคารของรัฐ เราเชื่อว่า yield สินเชื่อ และ margin ของ KTB จะถูกกดดันมากกว่าธนาคารอื่น ๆ เนื่องจากธนาคารคิดดอกเบี้ยอัตราต่ำกับลูกหนี้ที่ประสบปัญหา และขยายสินเชื่อภาครัฐซึ่งมี yield ต่ำอย่างไรก็ตาม NIMs ของ TMB และ KKP ไม่ได้ถูกกดดันเพราะยังสามารถขยายสินเชื่อรายย่อยที่มี yield สูงได้อยู่ ทั้งนี้ เนื่องจากธนาคารต่าง ๆ ถูกขอให้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ประสบปัญหา เราจึงคาดว่า yield จะยังถูกกดดันต่อไปถึงกลางปี 2564 ตามกรอบเวลาของมาตรการให้ความช่วยเหลือลูกหนี้

NPLs ยังทรงตัว

ธนาคารทุกแห่งประกาศว่าลูกหนี้ที่ประสบปัญหาในโครงการผ่อนผันหนี้ประมาณ 60% สามารถออกจากโครงการและกลับมาชำระหนี้ภายใต้เงื่อนไขการผ่อนชำระก่อน COVID-19 ได้แล้ว หลังจากที่สิ้นสุดโครงการให้ความช่วยเหลือเฟสแรกไปแล้วในเดือนตุลาคม 2563 โดยมีลูกหนี้ประมาณ 20-30%ที่ยังต้องการความช่วยเหลือเพิ่มอีกด้วยการผ่อนปรนเงื่อนไขการชำระหนี้ และขยายระยะเวลาชำระหนี้ให้นานขึ้น ในขณะที่อีกไม่ถึง 10% ของวงเงินตั้งต้นมีความเสี่ยงที่จะกลายเป็น NPL นอกจากนี้ สินเชื่อในโครงการผ่อนผันหนี้ก็ลดลงจากประมาณ 40% ของสินเชื่อรวม โดยของ SCB ลดลงเหลือ 18% และของ KBANK ลดลงเหลือ 19% ส่วนของ TMB เหลือ 15% และ KKP เหลือ 11% ในขณะที่ของ TISCO เหลือแค่ <5% ซึ่งจากยอดหนี้ที่ยังอยู่ในโครงการผ่อนผันหนี้ใน 4Q63 SCB บอกว่า 67% กลับมาชำระหนี้ตามเงื่อนไขปกติแล้ว และ 33% กลับมาชำระหนี้ตามเงื่อนไขที่ปรับใหม่ ส่วนในกรณีของ KKP ลูกหนี้ที่ประสบปัญหา 75% ออกจากโครงการแล้ว และเหลืออีก 12-13% ที่ยังต้องการให้มีการปรับเงื่อนไขการชำระหนี้ สำหรับ KBANK ลูกหนี้กว่า 90% ที่ประสบปัญหากลับมาชำระหนี้ได้แล้ว โดยมีกลุ่มเสี่ยงแค่ 7% (ประมาณ 3 หมื่นล้านบาท ของลูกหนี้ที่ประสบปัญหาใน 4Q63

แต่ละธนาคารตั้งสำรองต่างกันไป โดย credit cost ของ SCB, TISCO, KKP ขยับขึ้นสู่ระดับสูงสุดมีเพียง KBANK เท่านั้นที่เปลี่ยนนโยบายการกันสำรองใน 4Q63 โดยกำหนด credit cost เอาไว้ใกล้ศูนย์ เพราะกันสำรองไว้มากพอแล้วในงวด 9M63 และไม่จำเป็นต้องกันสำรอง management overlay อีกใน 4Q63 อย่างไรก็ตาม BBL กันสำรองเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญสวนทางกับ NPL ที่ลดลง และจำนวนลูกหนี้ในโครงการผ่อนผันนี้ที่ต่ำ ในขณะที่ SCB, TISCO และ KKP ต่างก็ตั้งสำรองพิเศษและบอกว่า credit cost ผ่านจุดสูงสุดไปแล้วในปี 2563 และมีแนวโน้มจะลดลงในปี 2564

ความสามารถในการหารายได้ช่วยคง credit cost ในระดับสูง/คาดว่า credit cost จะลดลงใน 2H64

การที่ COVID-19 กลับมาระบาดในประเทศไทยระลอกสองทำให้เกิดกระแสความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจ และคุณภาพสินทรัพย์ของธนาคาร โดยข้อมูลจากธนาคารส่วนใหญ่ชี้ว่าคุณภาพสินทรัพย์ฟื้นตัวได้ดีกว่าที่เราประเมินเอาไว้ก่อนหน้านี้ ดังจะเห็นได้จากสัดส่วนลูกหนี้ที่ออกจากโครงการผ่อนผันหนี้ และจำนวนลูกหนี้ที่ยังต้องการปรับเงื่อนไขและระยเวลาการชำระหนี้เพื่อให้สามารถชำระหนี้ต่อไปได้ ถึงแม้ว่า NIM จะดูเหมือนถูกกดดันใน 1H64 แต่ก็หักล้างกันไปกับคุณภาพสินทรัพย์ ในขณะที่ รายได้ค่าธรรมเนียมน่าจะยังแข็งแกร่ง ทำให้ธนาคารสามารถกันสำรองเพื่อรับมือกับกระแส NPL เกิดใหม่ได้ ดังนั้น เราจึงใช้สมมติฐานว่า credit cost จะยังสูงใน 1Q64 และลดลงใน 2H64

BBL, TMB, KKP และเพิ่ม KBANK เข้ามาเป็นหุ้นเด่นในกลุ่มธนาคาร

หลังจากธนาคารประกาศงบ 4Q63 เราได้ปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิของ KBANK ในปี 2564/65 ขึ้นอีก 42%/11% และปรับเพิ่มคำแนะนำเป็น ซื้อ เพื่อสะท้อนถึงการเปลี่ยนนโยบายการกันสำรอง และความสามารถในการหารายได้เพิ่มจากตลาดทุน, wealth management, และการประหยัดต้นทุนซึ่งทำให้สัดส่วนต้นทุน/รายได้ลดลง เรายังคงคำแนะนำซื้อ TMB, BBL และ KKP ซึ่งเป็นหุ้นเด่นของเราในกลุ่มธนาคาร โดยคาดว่า TMB จะประหยัดต้นทุนได้อีก ในขณะที่รายได้ของ KKP ขึ้นกับตลาดทุนมากที่สุด, และ BBL มีสำรองอยู่ในระดับสูงและราคาหุ้นไม่แพง

Risks

NPLs เพิ่มขึ้น, ตั้งสำรองเพิ่มขึ้น, NIM ลดลงอย่างมาก, อัตราการเติบโตของรายได้ค่าธรรมเนียมชะลอตัวลง