สรุปครบ ‘เงินเยียวยา’ ล่าสุด! มาตรการ ‘เยียวยาโควิด’ รอบ 2 มีอะไรบ้าง ใครได้สิทธิ เช็คที่นี่

สรุปครบ ‘เงินเยียวยา’ ล่าสุด! มาตรการ ‘เยียวยาโควิด’ รอบ 2 มีอะไรบ้าง ใครได้สิทธิ เช็คที่นี่

สำรวจ “เงินเยียวยา” และมาตรการ “เยียวยาโควิด” รอบ 2 จากภาครัฐ คืบหน้าล่าสุด 3 มาตรการสำคัญ ดำเนินการถึงไหน ใครมีสิทธิ มีรายละเอียดอะไร และเริ่มเมื่อไหร่

จนถึงวันนี้ ผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ระลอก 2 ยังคงส่งแรงกระเพื่อมไปยังพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ นอกจากการตรวจสอบเชิงรุกเพื่อจำกัดวงการระบาดให้ส่งผลกระทบต่อผู้คนในสังคมให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ความล่อแหลมของสถานการณ์ที่ทำท่าจะลุกลามบานปลายจากธุรกิจสีเทา ต้นตอสำคัญของการระบาดระลอก 2 ที่สังคมอยากรู้ว่า ภาครัฐจะมีการดำเนินการแก้ไขเรื่องนี้อย่างไร

มาตรการเยียวยาโควิด รอบ 2 หรือ เงินเยียวยา ที่รัฐบาลเคยออกมาตรการมาตั้งแต่ครั้งโควิดระบาดรอบแรก ไม่ว่า จะเป็น เราไม่ทิ้งกัน หรือ เยียวยาเกษตรกร ก็เป็นอีกประเด็นที่ประชาชนต้องการความชัดเจนจากภาครัฐถึงความช่วยเหลือในส่วนนี้นั้น จะมีการดำเนินการอย่างไร ตลอดจนการดำเนินการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่าง คนละครึ่ง รอบใหม่นี้

หลังจากที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้แถลงถึงมาตรการช่วยเหลือเยียวยาประชาชนโดยให้แต่ละส่วนที่รับผิดชอบเร่งตรวจสอบรายละเอียดเพิ่อเตรียมดำเนินนโยบายต่อไป โดยจัดงบประมาณที่เตรียมไว้รับมือกว่า 6.9 แสนล้านบาท

อย่างไรก็ตาม กรุงเทพธุรกิจ ได้รวบรวมข้อมูลการดำเนินการ และความคืบหน้าล่าสุดของ 3 มาตรการสำคัญที่คนไทยอยากรู้ ดังนี้   

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

161024306746

  • เราไม่ทิ้งกัน เคาะช่วยเหลือ 3,500 บาท ติดต่อกัน 2 เดือน

มาตรการเราไม่ทิ้งกัน ถือเป็นมาตรการแรกๆ ที่ผู้คนถามถึงเมื่อได้ยินข่าวจากรัฐบาลจะเริ่มออกมาตรการเยียวยา หรือเงินเยียวยา รอบ 2 โดยข่าวลือเรื่องของ กระทรวงการคลังจะมีมาตรการแจก เงินเยียวยา 4,000 บาทก็แพร่สะพัดในทันที ทำให้ทาง สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง หรือ สศค. ต้องออกมาชี้แจงว่า ข้อมูลดังกล่าว ไม่เป็นความจริง

แต่ถึงอย่างนั้น กระทรวงการคลัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก็ได้มีการประเมินสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ และผลกระทบอย่างใกล้ชิดเพื่อพิจารณามาตรการเยียวยาโควิดให้เหมาะสมกับผู้ที่ได้รับผลกระทบในการระบาดครั้งที่ 2 นี้ ต่อไป

ด้าน สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ ในฐานะรองนายกรัฐมนตรีกล่าวถึงภาพใหญ่ของมาตรการจากรัฐบาลหลังจากนายกรัฐมนตรีมอบหมายให้หามาตรการเยียวยาประชาชน โดยหลักการสำคัญคือ ต้องประเมินสถานการณ์ถึงผลกระทบต่อเศรษฐกิจภาพรวมเป็นอย่างไร เพื่อมาตรการที่ออกมานั้นจะได้เป็นการ “เกาให้ถูกที่คัน” ซึ่งน่าจะใช้เวลาพิจารณาไม่เกิน 1 สัปดาห์

โดยเบื้องต้นประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบรายละเอียดของมาตรการครั้งที่แล้วได้ที่ www.เราไม่ทิ้งกัน.com  

ล่าสุด! วันที่ 12 มกราคม 2564 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้แถลงสรุปมติที่ประชุม ครม.เห็นชอบให้ช่วยเหลือเงินเยียวยา "กลุ่มอาชีพอิสระ" และ "แรงงานนอกระบบ" รายละ 3,500 บาท เป็นระยะเวลา 2 เดือน 

161024325836

  • เยียวยาเกษตรกร รอบ 2 พร้อมดำเนินการได้ใน 5 วัน

ด้าน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความเคลื่อนไหวล่าสุดต่อ มาตรการเยียวยาเกษตรกร รอบ 2 นั้น สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)ในฐานะนายทะเบียน ดำเนินการตรวจสอบรายชื่อเกษตรกรที่เคยขึ้นทะเบียนในการจ่ายเงินเยียวยาเมื่อปีที่แล้วเกือบ 8 ล้านราย นอกจากนี้ ยังมีนโยบายให้เกษตรกรรายใหม่และที่ตกหล่นสามารถลงทะเบียนได้ครบถ้วนอีกด้วย

สำหรับขั้นตอนการดำเนินการเยียวยาเกษตรกร ในกรอบการดำเนินการเยียวยาโควิด รอบ 2 นั้น คาดว่าจะอิงกับหลักปฏิบัติเดียวกับเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบในปี 2563 ด้วยการจ่ายเงินเยียวยาให้รายละ 15,000 บาท โดยโอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรงเดือนละ 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน ระหว่างเดือนมิถุนายน ถึง สิงหาคม

โดยขั้นตอนการดำเนินการจะเริ่มจาก การเปิดให้เกษตรกรรายใหม่หรือตกหล่นดำเนินการขึ้นทะเบียนผ่านช่องทางที่กำหนด ทาง สศก.ในฐานะนายทะเบียนจัดส่งรายชื่อเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนและได้ตรวจสอบแล้ว ให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ  ... โอนเงินเข้าบัญชีเกษตรกรช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร ซึ่งประกอบไปด้วย เกษตรกรกลุ่มพืช กลุ่มปศุสัตว์ กลุ่มประมง กลุ่มหม่อนไหม กลุ่มชาวไร่อ้อย และกลุ่มชาวไร่ยาสูบ

สำหรับ 2 กลุ่มหลังขึ้นทะเบียนกับกระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงการคลังตามลำดับโดยส่งทะเบียนเกษตรกรผ่าน สศก. ก่อนส่งให้ ธกส. โอนตรงให้เกษตรกร

โดยความคืบหน้าของการเยียวยาเกษตรกรนั้น ที่ประชุม ครม. มีมติวันที่ 12 มกราคม 2564 ให้ช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรรายละ 3,500 บาท ติดต่อกันเป็นเวลา 2 เดือน ร่วมกับกลุ่มแรงงานนอกระบบ และอาชีพอิสระ

การดำเนินมาตรการครั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯ จัดตั้งศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ ที่เก็บฐานข้อมูลเกษตรกรจากการดำเนินการเยียวยาเกษตรกรเมื่องกลางปีที่แล้ว ซึ่งคาดว่าจะสามารถส่งฐานข้อมูลเกษตรกรที่มีอยู่ (มีรายงานว่าจะเป็นการรวบรวมข้อมูลหลังวันที่ 11 มกราคม 2564) ส่งให้ ธกส. เร่งดำเนินการเรื่องเงินเยียวยา เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ครั้งใหม่นี้ได้ภายใน 5 วัน

สำหรับเกษตรกรสามารถตรวจสอบการขึ้นทะเบียนเกษตรกรของตนเองได้ที่ http://farmer.doae.go.th/

161024328983

  • คนละครึ่ง รอบเก็บตก คาดรับสิทธิคงเหลือกว่า 1.6 ล้านสิทธิ!

มาตราการนี้ ไม่ได้เป็นการเยียวยาโควิด หรือ การให้เงินเยียวยาโดยตรง แต่เป็นส่วนหนึ่งของการกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่ประชาชนต่างให้เสียงตอบรับเป็นอย่างดี โดยความคืบหน้าล่าสุด โครงการคนละครึ่ง ที่มีการขยายมาเป็น คนละครึ่ง เฟสซึ่งนอกจากจะเพิ่มจำนวนผู้รับสิทธิ์อีก 5 ล้านคนแล้ว ยังเพิ่มวงเงิน จากเดิม 3,000 บาท เป็น 3,500 บาท และเปิดให้ลงทะเบียนไปเมื่อกลางเดือนธันวาคม 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งเต็มไปเรียบร้อยแล้ว

หากนับจากวันที่ 1 มกราคม 2564 ที่เป็นวันแรกของการเปิดให้ใช้จ่ายผ่าน คนละครึ่งเฟส 2 นั้น จนถึงตอนนี้ พบว่า มีผู้ที่ลงทะเบียนเฟส 2 ไปแล้วแต่ยังไม่ใช้สิทธิราว 1.6 ล้านคน ซึ่งหากไม่ใช้สิทธิครั้งแรกภายในวันที่ 14 มกราคม 2564 นี้ ก็จะถูกระงับสิทธิทันที และไม่สามารถลงทะเบียนซ้ำได้อีก

จากนั้น ทางมาตรการจะมีการสรุปยอดสิทธิคงเหลือ ไม่ว่าจะเป็นจากผู้ไม่เกณฑ์คุณสมบัติ และผู้ที่ไม่มาใช้สิทธิ์ภายในเวลาที่กำหนด โดยจะนำสิทธิเหล่านั้นมารวมกับอีก 5 แสนสิทธิคงเหลือจากมาตรการคนละครึ่งรอบแรก และเปิดให้ประชาชนรายนใหม่ได้ลงทะเบียนกันอีกครั้ง เพื่อรับเงิน 3,500 บาท สำหรับใช้จ่ายแบบ ผู้ใช้ออกครึ่งหนึ่ง-รัฐออกให้อีกครึ่งหนึ่ง ในวงเงินไม่เกินวันละ 150 บาท ต่อไป

โดยในวันที่ 14 มกราคม 2564 ก็จะสามารถสรุปจำนวนสิทธิคงเหลือที่จะนำมาเปิดให้ลงทะเบียน คนละครึ่งเฟส 2 ใหม่ในรอบเก็บตกได้ 

โดย ล่าสุด มติ ครม. ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับมาตรการ คนละครึ่ง รอบใหม่นั้น จะสามารถเปิดลงทะเบียนได้ 1 ล้านสิทธิในช่วงปลายเดือนมกราคมนี้

สำหรับผู้ที่ต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติมนั้น สามารถเข้าไปดูรายละเอียดต่างๆ ได้ที่ www.คนละครึ่ง.com