ตั้งรับโควิด-19 ด้วย รพ. สนาม ทางรอดเดียวของประเทศไทย

ตั้งรับโควิด-19 ด้วย รพ. สนาม ทางรอดเดียวของประเทศไทย

ปัจจุบัน ผู้ป่วยโควิด 19เพิ่มในอัตราที่ควบคุมได้ แต่ปริมาณผู้ป่วยสะสมจะเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน การรับรู้ของประชาชนขณะนี้ ยังไม่เห็นภาพชัดเจน ไม่เป็นภาพรวม ภาครัฐต้องเร่งประชาสัมพันธ์เชิงรุกให้ประชาชนเข้าใจเรื่องของรพ.สนาม ภายใต้ความร่วมมือของทุกภาคส่วน

ท่ามกลางกระแสการลุกลามของโรคโควิด- 19 ไปเกือบทั่วประเทศ ทุกภาคส่วนกำลังเร่งทำงานกันอย่างหนักเพื่อหยุดยั้งสถานการณ์ไม่ให้เลวร้ายไปกว่านี้ และเร่งพื้นฟูเพื่อกลับสู่วิถีชีวิตใหม่ให้ได้ในเร็ววัน วานนี้ (7 มค)สมาคมอุรเวชย์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ได้ออกแถลงการณ์ เรียกร้องภาครัฐและภาคประชาชนร่วมมือร่วมใจต้านภัยโควิด-19ใจควาตอนหนึี่งระบุว่าตอนนี้คนป่วยเพิ่มในอัตราที่ควบคุมได้ แต่ปริมาณผู้ป่วยสะสมจะเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน

การเสริมการตั้งรับนอกโรงพยาบาลหลักในรูปแบบโรงพยาบาลสนามนี้เป็นทางรอดเดียวของประเทศไทยในสถานการณ์นี้ และขอให้ประชาชนให้ความร่วมมือในมาตรการควบคุมโรคโดยเคร่งครัด หากมาตรการทุกอย่างนี้สามารถดำเนินการไปได้ด้วยดี ภายใต้ความร่วมมือร่วมใจของทุกภาคส่วน ประเทศไทยจะผ่านพ้นวิกฤตโควิดระลอกสองโดยมีการสูญเสียน้อยที่สุด

161004043125

“รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล” นายกสมาคมอุรเวชย์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ระบุว่า การรับรู้ของประชาชนขณะนี้ ยังไม่เห็นภาพชัดเจน ไม่เป็นภาพรวม ภาครัฐต้องเร่งประชาสัมพันธ์เชิงรุกให้ประชาชนเข้าใจเรื่องของรพ.สนาม การต่อต้านเป็นธรรมดาของประชาชนที่อาจกังวล แต่ภาครัฐมีหน้าที่สำคัญต้องสร้างความเข้าใจและตระหนัก

โรงพยาบาลสนามจะเกิดขึ้นได้ต้องได้รับความร่วมมือจากเจ้าของพื้นที่ และโรงพยาบาลที่ใกล้เคียงให้การสนับสนุนบุคคลากรและอุปกรณ์ทางการแพทย์อย่างเช่น ที่ศูนย์ห่วงใยคนสาคร แห่งที่ 3 บนพื้นที่วัฒนาแฟคตอรี่ ต.พันท้ายนรสิงห์ อ.เมือง จ.สมุทรสาคร ที่ "วัฒนา แตงมณี"  นายกอบต.เจ้าของพื้นที่ต.พันท้ายนรสิงห์ และเป็นเจ้าของที่ดิน เปล่าขนาด 8 ไร่ มูลค่าราว 40 ล้านบาท ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวัฒนาแฟคตอรี่สร้าง รพ.สนาม 1000 เตียงขณะนี้ได้มีการออกแบบเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อย และอยู่ระหว่างการปรับหน้าดิน ก่อนที่จะดำเนินการก่อสร้างตามแบบแปลนที่วางไว้คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 10 วันข้างหน้างบประมาณการก่อสร้างทั้งหมดประมาณ 5 ล้านบาท

161004043289

โดยก่อนหน้านี้ เขาได้มอบอาคารโกดังโรงงาน 2 หลัง ให้กับจังหวัดสมุทรสาครเพื่อสร้างโรงพยาบาลสนาม (ศูนย์ห่วงใยคนสาคร) รองรับผู้ติดเชื้อโควิด 19 เข้ามาไว้ในพื้นที่ โดยไม่มีการคิดค่าใช้จ่าย จะมีแพทย์ พยาบาล และบุคลากรทางการแพทย์จากโรงพยาบาลบ้านแพ้ว (องค์การมหาชน) จำกัด เป็นผู้รับผิดชอบ โดยคาดว่าจะสามารถนำผู้ติดเชื้อโควิด 19 จากในชุมชนเข้ามากักตัวได้โกดังละ 140 คน รวมทั้ง 2 โกดังก็ประมาณ 280- 300 คน

วัฒนา บอกว่าหากโรงพยาบาลสนาม 1000 เตียง ไม่เพียงพอต่อการรองรับผู้ติดเชื้อที่เพิ่มมากขึ้น ถ้าจะต้องสร้างจนเต็มพื้นที่ 100 ไร่ที่เหลืออยู่นี้ ก็ยินดี เพื่อให้จังหวัดสมุทรสาครมีที่รองรับผู้ติดเชื้อโควิด 19 เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม และจังหวัดสมุทรสาคร การทำครั้งนี้ไม่มีผลประโยชน์อื่นใดแอบแฝง ผู้ที่พอจะมีกำลังทรัพย์ สิ่งของ หรือสถานที่ ซึ่งพอจะสามารถช่วยเหลือจังหวัดสมุทรสาครได้ ไม่ว่าจะทางใดก็ทางหนึ่ง ก็อยากจะให้ร่วมกันเป็นส่วนหนึ่งในการยับยั้งการแพร่ระบาดเชื้อโควิด 19 ก่อนที่จะแพร่ระบาดมากไปกว่านี้

161004043218

"งบประมาณในการสร้างโรงพยาบาลสนามครั้งนี้ 5 ล้านบาท ใช้ทั้งเงินส่วนตัว และส่วนหนึ่งได้รับการสนับสนุนมาจากเพื่อนๆ ผู้ใจบุญใจกุศล และมูลนิธิฯ ต่างๆ ยังได้ความร่วมมือจาก พลเอกณัฐพล นาคพาณิชย์ เลขานุการสภาความมั่นคงแห่งชาติ จัดกำลังคนมาช่วยดำเนินการ ซึ่งได้เร่งทำงานกันตลอด 24 ชั่วโมง คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 10 วันข้างหน้า โดยขณะนี้ มีการออกแบบเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อย อยู่ระหว่างการปรับหน้าดิน ก่อนที่จะดำเนินการก่อสร้างตามแบบแปลนที่วางไว้"

“นายแพทย์พรเทพ พงศ์ทวิกร” ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบ้านแพ้ว เปิดเผยว่า ทางโรงพยาบาลบ้านแพ้ว ได้รับมอบหมายให้เข้ามาดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19 จากในชุมชนต่างๆ ที่จะเข้ามากักตัวอยู่ในศูนย์ห่วงใยคนสาครแห่งที่ 3 วัฒนาแฟคตอรี่ แห่งนี้ ซึ่งมีการเตรียมความพร้อม ทั้งบุคลากรทางการแพทย์ อุปกรณ์เครื่องมือ โดยจะใช้หลักการบริหารจัดการเดียวกันกับในโรงพยาบาลบ้านแพ้ว เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่เกิดความปลอดภัยทั้งกับบุคลากรและตัวผู้ป่วย รวมถึงความปลอดภัยที่จะมีต่อชุมชนรอบ ๆ ด้วย โดยมีระบบดูแลผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง

161004045147

อนึ่งคณะกรรมการอำนวยการศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และการสาธารณสุข กรณีโรคโควิด 19 (ศปค.สธ.) ได้สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขทุกจังหวัด ประเมินสถานการณ์ จัดเตรียมโรงพยาบาลสนามรองรับ โดยมีโรงเรียนแพทย์ สนับสนุนระบบโรงพยาบาลสนาม ผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ เครื่องมือแพทย์ที่จำเป็น รวมทั้งให้โรงพยาบาลที่อยู่พื้นที่ใกล้เคียงกับพื้นที่ที่มีการระบาด เตรียมพร้อมสนับสนุนด้วยเช่นกัน

เนื่องจากเห็นว่ามีความจำเป็นต้องมีรพ.สนามเพื่อบริหารจัดการควบคุมป้องกัน เฝ้าระวังโรคทั้งในคนไทยและแรงงานต่างด้าว แม้มีอาการน้อย หรือไม่มีอาการ มีความจำเป็นต้องนำเข้าระบบดูแล ในโรงพยาบาลสนาม เพื่อป้องกันควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ โดยเฉพาะพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 5 จังหวัด สมุทรสาคร ระยอง ชลบุรี จันทบุรี และตราด

ซึ่งปัจจุบันจังหวัดสมุทรสาคร ได้เปิดให้บริการโรงพยาบาลสนามแล้วที่สนามกีฬาจังหวัด และวัดโกรกกราก ที่โกดังวัฒนาแฟคเตอรี่, อาคารศูนย์การเรียนรู้แรงงานข้ามชาติ , อาคารเฉลิมพระเกียรติฯ 60 พรรษา , และศูนย์ปฏิบัติธรรมวัดสุทธิวาตวราราม ซึ่งคาดว่ายังมีความจำเป็นในการหา โรงพยาบาลสนาม เพิ่มเติมเพื่อรองรับสถานการณ์ต่อไป