เอฟเอโอกดดันภาคปศุสัตว์ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก หลังความต้องการพุ่ง 50 %

เอฟเอโอกดดันภาคปศุสัตว์ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก หลังความต้องการพุ่ง 50 %

เอฟเอโอ คาด ความต้องการสินค้าปศุสัตว์จะเพิ่มขึ้น 50 % ในปี 53 จี้ เวที UNFCCC Climate Change Dialogues ถกแนวทางการผลิตสินค้าปศุสัตว์ ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก สร้างสมดุลการผลิตอาหาร รับมือการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)  เปิดเผยว่า สศก.การประชุมออนไลน์ United Nation Framework Convention on Climate Change Dialogues หรือ UNFCCC Climate Change Dialogues  ซึ่งเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนการดำเนินงานของรัฐภาคีภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในประเด็นต่าง ๆ รวมถึงประเด็นด้านการเกษตร โดยการประชุมดังกล่าว มีการแลกเปลี่ยนประเด็นด้านการเกษตร 2 ประเด็น ซึ่งเป็นประเด็นท้าทายที่ทุกประเทศทั่วโลกเผชิญอยู่ ได้แก่ ประเด็นการปรับปรุงระบบการจัดการด้านปศุสัตว์และระบบการผลิตหญ้าอาหารสัตว์ และประเด็นมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงทางอาหารของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคเกษตร

160984649785

จากการรายงานขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (: FAO) คาดการณ์ว่า การบริโภคโปรตีนที่มาจากเนื้อสัตว์ทั่วโลก จะมีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้น เป็น 50% ในปี 2593 ซึ่งปัจจุบัน ภาคปศุสัตว์มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกค่อนข้างสูง ดังนั้น หลายประเทศ จึงได้ปรับปรุงระบบการผลิตสินค้าปศุสัตว์ เช่น การปรับปรุงคุณภาพอาหารสัตว์ที่ให้เนื้อสัตว์เพิ่มมากขึ้น การผลิตก๊าซชีวภาพจากมูลสัตว์ การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในฟาร์ม การคิดค้นนวัตกรรมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากภาคปศุสัตว์

สำหรับความมั่นคงอาหารและระบบอาหาร ทางสถาบันวิจัยผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศพอทสดัม (: PIK) ระบุว่า ระบบการผลิตอาหารในปัจจุบัน ปล่อยก๊าซเรือนกระจกประมาณ 30% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของโลก การเพิ่มขึ้นของประชากรจะทำให้ต้องผลิตอาหารเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการวางแผนระบบการผลิตอาหารที่มีความสมดุลของมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม จะช่วยสามารถผลิตอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการ ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม และการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

จากการหารือร่วมกันในที่ประชุมหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาในเอเชีย รวมถึงไทย แอฟริกา และละตินอเมริกา ยังคงต้องการความช่วยเหลือมิติด้านการเงิน องค์ความรู้ ทักษะต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงระบบปศุสัตว์ในประเทศให้สามารถผลิตสินค้าปศุสัตว์ ให้เพียงพอต่อความต้องการและคำนึงถึงมิติด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วย และยังได้นำเสนอแนวทางการสร้างความสมดุลระหว่างการผลิตอาหารและการรับมือจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น การใช้ประโยชน์สูงสุดจากการใช้ที่ดิน การส่งเสริมการทำเกษตรเท่าทันภูมิอากาศ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคเพื่อลดขยะอาหาร เป็นต้น

ทั้งนี้ การแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นด้านการเกษตร 2 ประเด็นข้างต้น กำหนดไว้ใน Koronivia Roadmap ภายใต้ “การทำงานร่วม Koronivia” (KJWA) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งขอการเจรจาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภาคเกษตร โดยกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงประเทศไทย และประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ยังคงให้ความสำคัญกับการเรียกร้องให้เกิดความก้าวหน้าในการขับเคลื่อนภาคเกษตร โดยเน้นการสนับสนุนด้านการเงิน การพัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยี และการเสริมสร้างศักยภาพด้านการปรับตัวของภาคเกษตร

160984665326

อย่างไรก็ตาม การดำเนินการตาม Roadmap ของ KJWA ได้สิ้นสุดลงในปี 2563 แล้ว ดังนั้น จะต้องมีการเจรจาในประเด็นที่ต้องการผลักดันในอนาคตของ KJWA ว่าจะมีทิศทางต่อไปอย่างไร ในการประชุมรัฐภาคีภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26 ในช่วงปลายปี 2564 ที่กรุงกลาสโกว์ ประเทศสก็อตแลนด์ต่อไป