เช็ค! มาตรการเยียวยา 'ผู้ประกันตน' จาก 'โควิด -19' ระลอกใหม่

เช็ค! มาตรการเยียวยา 'ผู้ประกันตน' จาก 'โควิด -19' ระลอกใหม่

'รมว.แรงงาน' แถลงมาตรการเยียวยาผู้ประกันตนที่ได้รับผลกระทบจาก 'โควิด -19'หลัง 'รัฐบาล' ไฟเขียว เตรียมปรับลดเงินสมทบทั้งฝ่ายนายจ้างและผู้ประกันตน

4 ม.ค.64 ที่หน้าห้องประชุมประสงค์ รณะนันทน์ ชั้น 5 กระทรวงแรงงาน นายสุชาติ ชมกลิ่น รัฐมนตกระทรวงแรงงาน แถลงข่าวเรื่อง มาตรการเยียวยาผู้ประกันตนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด - 19 ระลอกใหม่ว่า สืบเนื่องมาจากการแพทยระบาดของไวรัส โควิด-19 ซึ่งมีการแพร่ระบาดละลอกใหม่ทำให้คณะกรรมการควบคุมโรคแต่ละจังหวัดมีมาตรการในการควบคุมซึ่งแต่ละจังหวัดมีคำสั่งในการหยุดกิจการบางกิจการ มีการกักตัวผู้ใช้แรงงานที่สุ่มเสี่ยงที่จะติดเชื้อโควิด-19 จึงมีการหยุดงานซึ่งมีผลกระทบทำให้รัฐบาลภายใต้การนำของ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและผลกระทบที่จะเกิดกับพี่น้องผู้ใช้แรงงาน ที่มีการหยุดกิจการและขาดรายได้ไป ทางกระทรวงแรงงานได้รับนโยบายมาจากรัฐบาลในเรื่องของมาตรการการเยียวยาให้กับผู้ใช้แรงงานที่ได้รับผลกระทบ ดังนี้

1.มาตรการปรับลดเงินสมทบฝ่ายนายจ้างและฝ่ายผู้ประกันตน มาตรา 33 และมาตรา 39กระทรวงแรงาน โดยสำนักงานประกันสังคมได้ออก"กฎกระทรวงกำหนดอัตราเงินสมทบกองทุนประกันสังคม พ.ศ. 2563" ส่งผลให้มีการปรับลดเงินสมทบฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายผู้ประกันตนตามมาตรา 33 เหลือร้อยละ 3 และผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ลดลงเหลือ 278 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน (ตั้งแต่เดือน มกราคม - มีนาคม 2564) เพื่อช่วยเหลือนายจ้าง และผู้ประกันตนที่ยังคงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของนายจ้าง และผู้ประกันตน
1.1 การเตรียมความพร้อมระบบรองรับการรับชำระเงินสมทบในการจ่ายเงินสมทบอัตราใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคมได้จัดเตรียมระบบรองรับการรับชำระงินสมทบอัตราให้เรียบร้อย นายจ้าง ผู้ประกันตนสามารถชำระเงินสมทบอัตราใหม่ผ่านช่องทางต่างๆได้แล้ว

สำหรับผู้ประกันตน มาตรา 33 นายจ้างสามารถชำระเงินสมทบผ่านช่องทาง ดังนี้1) เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารกรุงไทย และธนาคารธนชาต2) การจ่ายเงินสมทบผ่านช่องทางอิเลคทรอนิกส์ หรือระบบ e - Payment นายจ้างสามารถชำระเงินสมทบผ่านระบบ ของธนาคารกรุงไทย ธนคารกรุงศรีอยุธยา ธนคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงเทพธนาคารซิตี้แบงค์ เอ็น.เอ ธนาคารมิซูโฮ ธนาคารซูมิโตโม มิตซุย แบงค์กิ้งคอร์ปอเรชั่น เคาน์เตอร์เซอร์วิส (ด้วยบัตรเดบิต/เครดิต มาสเตอร์การ์ด) และธนาคารทหารไทย (ช่องทาง NSW) และสำนักงานประกันสังคมทุกพื้นที่

ผู้ประกันตนมาตรา 39 ตั้งแต่วันนี้สามารถชำระเงินสมทบอัตราใหม่ผ่านช่องทาง ดังนี้

1) ผู้ประกันตนมาตรา 39 ที่ใช้บริการหักบัญชีเงินฝากกับธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ธนาคารธนชาต ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารไทยพานิชย์ ธนาคารทหารไทย และธนาคารกรุงเทพนั้น ทุกหน่วยบริการ พร้อมให้บริการหักบัญชีอัตโมัติในรอบตัดบัญชีวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564

2 ผู้ประกันตนมาตรา 39 ที่ใช้บริการเคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย ธนาคารธนชาต เคาน์เตอร์เซอร์วิส คาน์เตอร์บิ๊กซี เคาน์เตอร์เซ็นเพย์ คาน์เตอร์ไปรษณีย์ พร้อมให้บริการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ส่วนเคาน์เตอร์เทสโกโลตัสจะเริ่มให้บริการในวันที่ 7 มกราคม 2564 เคาน์เตอร์ธนคารกรุงศรีอยุธยาจะเริ่มให้บริการในวันที่ 15 มกราคม 2564 เคาน์เตอร์ธนาคารธนชาตจะเริ่มให้บริการในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564

ทั้งนี้นายจ้างและผู้ระกันตนยังสามารถชำระเงินสมทบได้ที่สำนักงานประกันสังคมทุกพื้นที่
1.2 ประโยชน์ที่จะเกิดแก่นายจ้างและลูกจ้างผู้ประกันตน
คาดการณ์ว่าการลดอัตราเงินสมทบเป็นระยะเวลา3เดือน (ตั้งแต่เดือนมกราคม-มีนาคม 2564) เพื่อช่วยเหลือนายจ้างและผู้ประกันตนที่ยังคงได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจจะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของนายจ้างและผู้ประกันตนในการจ่ายเงินสมทบลดลงรวมจำนวน 15,660 ล้านบาท สมตามเจตนารมย์ของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติรวมไปถึงนโยบายเร่งด่วนของกระทรวงแรงงานโดยเฉพาะด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคมรเพื่อให้ครอบคลุมการดูแลบริการและสิทธิ์ประโยชน์ของวัยแรงงานทุกกลุ่มทุกวัย

2 มาตรการจ่ายสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยสถานการณ์การแพร่ระบาดของรดโควิด-19 ที่มีการแพร่ระบาดระลอกใหม่และมีแนวโน้มว่าจะมีการแพร่ระบาดมากขึ้น จนรัฐบาลได้มีคำสั่งปิดสถานที่ซึ่งป็นสถานประกอบกิจการหลายประเภทส่งผลกระทบโดยตรงต่อการประกอบกิจการที่ถูกสั่งปิดกิจการชั่วคราว ซึ่งในการนี้ กระทรวงแรงงาน โดยสำนักงานประกันสังคมได้ออก "กฎกระทรวงการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยอันเกิดจากการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่ด้วยโรคติดต่อ พศ. 2563" ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2563

2.1 สิทธิประโยชน์ที่ลูกจ้างผู้ประกันตนจะได้รับ
- ผู้ประกันตนที่จะได้รับสิทธิต้องเป็นลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ประกันตนที่มีเงินสมทบครบ 6 เดือนใน 15 เดือน แต่ไม่ได้ทำงานหรือนายจ้าไม่ให้ทำงานเนื่องจากต้องกักตัวหรือเฝ้าระวังการระบาดของโรค หรือไม่ได้ทำงานเนื่องจากนายจ้างต้องหยุดประกอบกิจการไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วนเนื่องจากทางราชการมีคำสั่งให้ปิดสถานที่เป็นการชั่วคราวเพื่อป้องกันการระบาดของโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อทำให้ไม่สามารถประกอบกิการได้ตามปกติ และลูกจ้างไม่ได้รับค่จ้างในระหว่างนั้น

ลูกจ้างดังกล่าวมีสิทธิ์ได้รับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างาน ในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างรายวันโดยให้ได้รับตลอดระยะเวลาที่มีการกักตัวหรือเฝ้าระวังการระบาดของโรคหรือมีคำสั่งปิดสถานที่ดังกล่าวแล้วแต่กรณีแต่รวมกันไม่เกิน 90 วัน
2.2 การเตรียมความพร้อมระบบรองรับการจ่ายสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัยช่องทางการขอรับสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานจากเหตุโควิด- 19 ในครั้งนี้ กระทรวงแรงงานโดยสำนักงานประกันสังคม กำหนดให้นายจ้างและลูกจ้างซึ่งเป็นสถานประกอบการที่ได้รับผลกระทบ ดำเนินการขอรับผ่านระบบอิเลคทรอนิกส์ ได้ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 4 มกราคม 2564 ดังนี้

1. ลูกจ้างผู้ประกันตนมีหน้าที่ กรอกแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01/7 สามารถdownload แบบได้ที่ www.sso.go.th) แล้วนำส่งให้นายจ้าง ขอเน้นย้ำเรื่องเบอร์โทรศัพท์ติดต่อและเลขบัญชีธนาคารที่ถูกต้อง
2. นายจ้างมีหน้าที่ ดำเนินการยื่นขอรับสิทธิว่างงานในระบบ e - Service ดังนี้
2.1 บันทึกข้อมูลในระบบ e - Service บน www.sso.go.th โดยต้องบันทึกข้อมูลลูกจ้างตามแบบ สปส. 2-01/7 และ หนังสือรับรองการหยุดงานกรณีราชการสั่งปิด/กรณีกักตัว
2.2 รวบรวมแบบคำขอรับประโยชน์ทดแทน (สปส.2-01/7) ของลูกจ้าง ที่ได้บันทึกแล้วในระบบ e-Serice บน www.sso.go.th เสร็จสิ้นตามข้อ 2.1 นำส่ง(ทางปณ.ตอบรับ) ไปยังสำนักงานประกันสังคมในพื้นที่ที่สถานประกอบการตั้งอยู่ ภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่บันทึกเสร็จสิ้น ตามข้อ 2.1

3.การขอรับสิทธิประโยชน์ว่างงานจากเหตุโควิด-19 นายจ้างและลูกจ้างผู้ประกันตนต้องดำเนินการตาม ข้อ1 และ ข้อ 2 และขอย้ำว่าลูกจ้างผู้ประกันตนไม่ต้องเดินทางมายังสำนักงานประกันสังคม และหากดำเนินการดังที่กล่าวครบถ้วนเงินจะโอนเข้าบัญชีภายใน 5 วันทำการ และรอบตัดจ่ายกำหนดทุกสิ้นเดือนถัดไปหรือจนกว่าจะครบวันที่สถานประกอบการมีกำหนดปิด
2.3 การเฝ้าระวังสถานการณ์กระทรวงแรงงานได้กำชับให้สำนักงานประกันสังคมเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดรวมทั้งรับทราบปัญหาที่เกิดขึ้นจากผลกระทบภาวะวิกฤตโควิด-19 ทุกด้าน เพื่อหาแนวทางกำหนดมาตรการแก้ไขให้สอดคล้องกับมาตรการของรัฐบาล เพื่อเร่งเยียวยและบรรเทาความเดือดร้อนนายจ้าง และผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไรรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ให้มากที่สุด