ข่าวดี!คาดมีวัคซีนโควิด-19 ปลายเดือนก.พ.นี้

ข่าวดี!คาดมีวัคซีนโควิด-19 ปลายเดือนก.พ.นี้

สธ.เผยข่าวดี คาดได้วัคซีนโควิด-19 จากบริษัทซิโนแวค ไบโอเทค จำนวน2 แสนโดส ในเดือนก.พ.นี้

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่าความคืบหน้าของวัคซีนโควิด-19 นั้น ยังเป็นไปตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขใน การจัดการวัคซีนเพื่อให้ครอบคลุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของประชาชนไทยในปี 2564 หรือจะได้วัคซีนประมาณ 70 ล้านโดส ซึ่งจะมีการดำเนินการในหลายแนวทาง ไม่ได้มุ่งอยู่กับวัคซีนของAstraZeneca เท่านั้น  โดยในส่วนของ AstraZeneca  จะได้วัคซีนมา 26 ล้านโดส ส่วนที่เหลือจะเป็นการทำข้อตกลงร่วมกับที่อื่นๆ

ทั้งนี้ มีข่าวดีที่เกิดขึ้น 2-3 วันที่ผ่านมา คือ บริษัทซิโนแวค ไบโอเทค (Sinovac Biotech) จะนำวัคซีน 2 แสนโดส คาดว่าได้ปลายเดือนก..นี้  ต่อมาปลายเดือนมี..อีกแสน และเดือนเม..อีก1 ล้านโดส  ส่วนที่ประชาชนถามว่าทำไมประเทศอื่นได้วัคซีนแล้ว ไทยไม่ได้นั้น ต้องกล่าวว่าในขณะนี้วัคซีนไม่ได้มีอยู่มากมาย  ทุก ล็อตที่นำมาฉีคให้คนไทยได้นั้นต้องผ่านการตรวจจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และต้องรับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรืออย.ก่อน เพื่อให้คนไทยได้รับวัคซีนเร็วและปลอดภัย

"เพื่อให้ประชาชนเกิดความมั่นใจในรัฐบาลไทย โดย สธ.ร่วมมือกับหลายฝ่ายว่าเมื่อถึงเวลาอันสมควรไทยจะได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ไม่ช้าไปกว่าประเทศส่วนใหญ่ มีข้อมูลออกไปทางโลกโซเชียลและหลายฝ่ายมีข้อมูลไม่ครบถ้วน ทำให้ประชาชนสับสนและไม่แน่ใจ ทำงานเรื่องนี้ตั้งแต่กลางปี 2563 ตั้งแต่ยังไม่ทราบผลว่าวัคซีนของเจ้าใด จะมีโอกาสประสบความสำเร็จ มีการเตรียมข้อมูล วางเป้าหมาย มีกลไกลที่ทำให้ได้วัคซีนมา"นพ.ศุภกิจ กล่าว

ทั้งนี้ สำหรับสิ่งที่เตรียมการ ได้แก่ ต้นทุนในมือ เรื่องการเจรจาของบริษัทAstraZenece โดยใช้เทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ขณะนี้ไทยทำสัญญา 26 ล้านโดส อยู่ระหว่างการผลิตในประเทศไทย คาดว่าปลายเดือนพ..นี้จะได้ฉีดวัคซีนมาฉีดให้กับคนไทย ทั้งนี้ สธ.เองมีการตั้งเป้าหาอีกร้อยละ 20 จึงมีการเจรจาร่วมกับCOVAX แต่ที่ผ่านใสเป้าหมายมีการปรับเปลี่ยนเนื่องจากมีความยุ่งยาก เพราะสถานการณ์เปลี่ยนไป และอีกร้อยละ 10 ทำข้อตกกับบริษัทที่คิดว่ามีโอกาสผลิตวัคซีนสำเร็จ

ดร.ทรงพล ดีจงกิจ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด กล่าวว่าทางบริษัท มีโรงงานที่สามารถผลิตได้ตั้งแต่ต้นน้ำ ไปจนถึงปลายน้ำ และมีกำลังผลิตได้มากพอ หรือ  200 ล้านโดสต่อปี โดยภายหลังจากการถ่ายทอดเทคโนโลยีแล้ว ขณะนี้อยู่ในการผลิตรอบที่ 1 และรอบที่ 2 เสร็จสิ้นแล้ว โดยจดำเนินการทดสอบทั้งหมด 5 รบการผลิต และนำผลที่ทดสอบได้แต่ละครั้งยื่นต่อ อย.เพื่อขออนุมติ โดยการผลิตในแต่ละรอบต้องได้รับมาตรฐานและแต่ละรอบจะใช้การผลิต 4 เดือน ดังนั้น เพื่อให้คุณภาพและสร้างความเชื่อมั่นต่อประชาชน จะต้องได้รับมาตรฐานซึ่งคาดว่าการผลิตทั้ง 5 รอบ จะส่งข้อมูลให้อย.ได้ประมาณต้นเดือนเม..2564 นี้