สธ.ใช้มาตรการ "เข็มขัด"สกัดโควิด-19พื้นที่ควบคุมสูงสุดไปเหลือง

สธ.ใช้มาตรการ "เข็มขัด"สกัดโควิด-19พื้นที่ควบคุมสูงสุดไปเหลือง

สธ.เผยใช้มาตรการ "เข็มขัด"สกัดโควิด-19 ไม่จำเป็นไม่อนุญาตเดินทางข้ามจังหวัด พื้นที่สีส้มเป็นเหมือน"กันชน" ป้องกันแพร่เชื้อพื้นที่แดงไปเหลือง ระบุคนไทยใส่หน้ากากอนามัยแค่ 93% ต่ำกว่าเป้าที่100% ในรถสาธารณะยิ่งต่ำ แค่70%


เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 2 ม.ค.2564 ที่กระทรวงสาธารณสุข(สธ.) นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดสธ. กล่าวว่า ขณะนี้กราฟการระบาดของโรคโควิด-19ยังทะยานขึ้น และคาดการณ์จะมีการแพร่ระบาดมากขึ้น จึงต้องมีการยกระดับพื้นที่จังหวัดเพื่อให้ก้าวไปข้างหน้าก่อนสถานการณ์ จึงต้องยกระดับ 28 จังหวัดเป็นพื้นที่สีแดง ควบคุมสูงสุด พื้นที่สีส้ม 11 จังหวัดซึ่งจะเป็นเหมือนเข็มขัดที่รัดกันไว้ไม่ให้คนติดเชื้อจากสีแดงไปยังสีเหลือง และพื้นที่จังหวัดอื่นๆให้เป็นสีเหลืองทั้งหมด เพื่อให้เข้มมาตรการ


นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า การยกระดับพื้นที่จังหวัดเพราะคาดว่าการระบาดจะเป็นวงกว้างมากขึ้น เพราะฉะนั้นจำเป็นต้องออกมาตรการที่รุนแรง รวดเร็วและมีประสิทธิภาพนำหน้าสถานการณ์ไปก่อน สธ.จึงได้เสนอศบค. โดยมาตรการทางสังคมในพื้นที่สีแดง ควบคุมสูงสุด ให้มีการจำกัดเวลาเปิด-ปิดสถานประกอบการ รวมถึง ปิดสถานที่เสี่ยงในการแพร่เชื้อ เช่น สถานบันเทิง ส่วนร้านอาหารให้ขายแบบนำกลับไปทานที่บ้าน ขอความร่วมมือไม่เดินทางข้ามจังหวัด เว้นจำเป็นจริงๆ เช่น เดินทางไปทำงานของเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์และสาธารณสุข หากไม่จำเป็นจะไม่อนุญาตให้เดินทางข้ามจังหวัด การเรียนการสอนให้เป็นรูปแบบออนไลน์ ทำงานที่บ้าน(work from home)ให้มากที่สุด โดยจะมีการค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกในพื้นที่ต่างๆที่มีการเชื่อมโยงกับการสอบสวนโรค


ส่วนพื้นที่สีส้ม พื้นที่ควบคุม จะเป็นพื้นทีากันชนไม่ให้โรคแพระกระจายต่อไปยังพื้นที่สีเหลือง มาตรการคล้ายคลึงกับพื้นที่สีแดง แต่จะให้อำนาจคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดที่มีผู้ว่าฯเป็นประธาน ปรับมาตรการดำเนินการให้สอดคล้องกับแต่ละจังหวัด

และพื้นที่สีเหลือง จะเข้มข้นแตกต่างจากสีแดง และสีส้ม โดยขึ้นอยู่กับการพิจารณาของจังหวัด แต่จะต้องเฝ้าระวังสูงสุด และขอความร่วมมือไม่เดินทางข้ามจังหวัด แต่ในจังหวัดยังไปได้


โดยทั้งหมดจะใช้เวลาดำเนินการ 4 สัปดาห์ ที่เป็น 2 เท่าของระยะฟักตัวโรค หากเสนอแล้วได้รับความเห็นชอบจากศบค.จะเริ่มดำเนินการตั้งแต่ 4ม.ค.-1ก.พ.2564


นพ.สราวุฒิ บุญสุข รองอธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า จากการสำรวจการใส่หน้ากากอนามัยล่าสุด คยไทยใส่เพิ่มมากขึ้น แต่อยู่ที่ 93.3% เท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายที่ต้องการให้มีการใส่ 100% ขณะที่หากเป็นการใส่ขณะใช้บริการรถโดยสารสาธารณะจะยิ่งต่ำลงอีกอยู่เพียง 73.4% เท่านั้น จึงต้องขอความร่วมมือประชาชนในการใส่หน้ากากอนามันให้ได้ 100%
ส่วนการเดินทรงกลับหลังหยุดยาวช่วงปีใหม่นั้น ก่อนเดินทางขอให้สังเกตอาการตนเอง หากมีอาการป่วยมเช่น ไข้ ตัวร้อน เจ็บคอ ไอ ท้องเสียหรืออื่นๆ ให้ชะลอการเดินทาง ส่วนคนที่เดินทางแล้วให้มีอุปกรณ์คือ หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าเตรียมไว้หลายชิ้น กระดาษทิชชู่ เจลแอลกอฮอล์ และยาประจำตัว ส่วนการปฏิบัติตัวป้องกันโควิด-19ระหว่างเดินทาง จะต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา ล้างมือด้วยสบู่และน้ำหรือเจลแอลกอฮอล์บ่อยๆ เว้นระยะห่างบุคคลอย่างน้อย 1 เมตร ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น เลี่ยงการพูดคุยตะโกนเสียงดัง และเลี่ยงการสัมผัสบริเวณใบหน้า