ข้าวหอมมะลิไทยไม่สนโควิด ส่งออก 11 เดือนโตต่อเนื่อง

ข้าวหอมมะลิไทยไม่สนโควิด ส่งออก 11 เดือนโตต่อเนื่อง

พาณิชย์ เผย ส่งออกข้าวหอมมะลิไทย 11 เดือน โต 1.57%  สวนกระแสเศรษฐกิจยุคโควิด   ชี้ 4 ตลาดหลักโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะแคนาดาทะลุ 1 แสนตัน เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ตอกย้ำความเป็นข้าวเกรดพรีเมี่ยมที่ตลาดกำลังซื้อสูงต้องการ

นายกีรติ รัชโน  อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า การส่งออกข้าวหอมมะลิไทยตั้งแต่เดือน ม.ค.- พ.ย.63 หรือ 11เดือน มีปริมาณ 1.29 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 1.57%  เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดยมีมูลค่า 1,312.98 ล้านดอลลาร์ ลดลง 0.93%  ฃเนื่องจากราคาข้าวหอมมะลิลดลง อย่างไรก็ตามถือว่าข้าวหอมมะลิไทยยังคงรักษาระดับการส่งออกได้ดีแม้มีราคาสูงกว่าคู่แข่งและสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด- 19ที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งออกไปยัง 4 ตลาดสำคัญ ซึ่งมีสัดส่วนการส่งออกรวมกว่า 50 % ของการส่งออกข้าวหอมมะลิไทยทั้งหมด ได้แก่ สหรัฐฯ แคนาดา สิงคโปร์ และฮ่องกง โดยปริมาณการส่งออกข้าวหอมมะลิไทยไปยังตลาดดังกล่าวเพิ่มขึ้น 10.46%  และมูลค่าเพิ่มขึ้น 4.69 % แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของข้าวหอมมะลิไทยที่ยังคงเป็นที่ต้องการของตลาดข้าวพรีเมี่ยมที่มีกำลังซื้อสูง

160930766326

ตลาดข้าวไทยที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ แคนาดา ซึ่งในปีนี้ไทยสามารถส่งออกข้าวไปยังแคนาดาทะลุ100,000 ตัน เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ โดยในช่วง 11เดือนแรก (ม.ค.-พ.ย.)ไทยส่งออกข้าวได้ปริมาณ 108,259 ตัน เพิ่มขึ้น21.78%เมื่อเทียบกับปี 2562 ที่ส่งออกข้าวปริมาณ 88,899 ตันเป็นผลมาจากการทำงานร่วมกันของกรมการค้าต่างประเทศและกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศโดยสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครโตรอนโตและนครแวนคูเวอร์ ได้จัดกิจกรรมเชิงรุกเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพและมาตรฐานข้าวไทยให้แก่ผู้บริโภคอย่างต่อเนื่องในหลายช่องทางเช่น การพบปะหารือกับผู้นำเข้า (Importers) และผู้กระจายสินค้า(Distributors) เพื่อขยายช่องทางการตลาดการจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์เมนูอาหารไทยจากร้าน Thai  Select โดยเน้น  ข้าวหอมมะลิไทยและข้าวสีของไทย

160930773747

รวมทั้งสนับสนุนการบริการอาหารจากร้านดังกล่าวส่งตรงถึงผู้บริโภค (Delivery)ผ่านแอพพลิเคชั่นในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID -19 และยังมีมาตรการ Lock down เป็นต้นกิจกรรมดังกล่าวเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ปริมาณการส่งออกข้าวหอมมะลิไทยเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดแสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคในตลาดที่มีกำลังซื้อสูงต้องการข้าวเกรดพรีเมี่ยมเพิ่มขึ้นและให้ความสำคัญกับคุณภาพและมาตรฐานมากกว่าราคาซึ่งข้าวหอมมะลิไทยสามารถตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในตลาดดังกล่าวได้

นอกจากนี้ข้าวหอมมะลิไทยที่คว้าแชมป์ข้าวที่ดีที่สุดในโลกประจำปี 2563 (TheWorld’s Best Award 2020) จะตอกย้ำความเชื่อมั่นในคุณภาพและมาตรฐานของข้าวหอมมะลิไทยให้แก่ผู้บริโภคทั่วโลกได้เป็นอย่างดี