จาก 'รถเมล์' ถึง 'ตู้คอนเทนเนอร์' แนว 'บังเกอร์' รับมือม็อบ

จาก 'รถเมล์' ถึง 'ตู้คอนเทนเนอร์' แนว 'บังเกอร์' รับมือม็อบ

เมื่อ "รถเมล์-ตู้คอนเทนเนอร์" กลายเป็นแนว "บังเกอร์" สกัด "ม็อบราษฎร" เคลื่อนขบวนเข้าพื้นที่ต้องห้าม

รถเมล์ ต้องตกเป็นตัวประกันทางการเมืองในการชุมนุม เมื่อเจ้าหน้าที่นำมาใช้เป็นแนวกำแพง ป้องกันผู้ชุมนุมกลุ่มคณะราษฎร2563 ที่เคลื่อนเข้าพื้นที่ต้องห้ามในช่วงตลอดการชุมนุมใหญ่ 3 เดือนที่ผ่านมา

โดยเฉพาะภาพการชุมนุมเมื่อวันที่ 14 ..2563 รถเมล์ขององค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ(ขสมก.) ไม่ต่ำกว่า 8 คัน ถูกนำมาใช้ขวางถนนเชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศมุ่งเข้าถนนราชดำเนินนอก เพื่อสกัดกลุ่มผู้ชุมนุมที่ใช้เส้นทางเดินเท้าไปยังทำเนียบรัฐบาลโดยผ่านถนนราชดำเนิน

160636485134

จากนั้นรถเมล์ ได้กลายเป็นอีกหนึ่งยุทโธปกรณ์ที่ฝ่ายความมั่นคง ใช้ปิดกั้นพื้นที่นอกเหนือจากแนวสังกะสี แบริเออร์ รั้วลวดหนามเพื่อรักษาพื้นที่ไว้ จนมาถึงเหตุความรุนแรงที่หน้าอาคารรัฐสภา ถนนสามเสนตัดถนนทหาร แยกเกียกกาย เมื่อวันที่ 17 .. ก็ได้เห็นรถประจำทางร่วมบริการเอกชนปรับอากาศสีเหลือง 8 คัน ถูกนำมาเป็นแนวบังเกอร์ จนเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงการเลือกใช้        

รถเมล์ ซึ่งเป็นพาหนะในระบบขนส่งสาธารณะ แต่ถูกนำมาใช้เพื่อภารกิจความมั่นคง ซึ่งสุ่มเสี่ยงเกิดความเสียหายได้ทุกเมื่อ และแล้วเหตุการณ์ความรุนแรงตลอดช่วงบ่ายวันที่ 17 .. รถเมล์กลุ่มนี้ ก็ได้รับความเสียหายอย่างหนักในเหตุการณ์วันดังกล่าว ทำให้มีเสียงสะท้อนไปถึงการกระทำของกลุ่มผู้ชุมนุม และการตัดสินใจของเจ้าหน้าที่ที่อ้างความจำเป็น ในการเลือกใช้สมบัติ สาธารณะมาเป็นแนวป้องกัน มากกว่าการใช้ยุทโธปกรณ์จากฝ่ายความมั่นคง ในสถานการณ์ชุมนุมที่ยากจะควบคุมได้

กระทั่งมีความเคลื่อนไหวจากสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (สร.ขสมก.)” คัดค้านการใช้รถเมล์ผิดประเภทตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ ..2519 ในมาตราที่ 6 กำหนดให้ ขสมก.ประกอบการเพื่อการขนส่งบุคคลเท่านั้น

โดยเฉพาะสิ่งที่ สร.ขสมก.เป็นห่วงสถานการณ์ ที่ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดว่า ขสมก.ร่วมกับฝ่ายการเมือง วางตัวไม่เป็นกลางในการทำหน้าที่เพื่อสาธารณะ

บุญมา ป๋งมาประธาน สร.ขสมก. ยืนยันว่าสภาพแรงงาน ขสมก.ไม่เห็นด้วยกับการนำรถเมล์มาใช้งานลักษณะนี้ ที่ผ่านมาได้ทำหนังสือไปถึงสุระชัย เอี่ยมวชิรสกุลผอ.ขสมก.และศักดิ์สยาม ชิดชอบรมว.คมนาคม เนื่องจาก ขสมก.มีวัตถุประสงค์รับขนส่งผู้โดยสารในกรุงเทพฯ และปริมณฑล หากเป็นแบบนี้ ประชาชนอาจจะเข้าใจผิดว่า ขสมก.วางตัวไม่เป็นกลาง

ไม่ใช่แค่ภาพพจน์ ขสมก.อย่างเดียว แต่การใช้รถเมล์มาสกัดเส้นทางเคลื่อนขบวนผู้ชุมนุม อีกด้านเป็นการเสียรายได้ของ ขสมก.รวมประมาณ 3.6 แสนบาท แบ่งเป็นตั้งแต่วันที่ 14 .. รถเมล์ถูกนำมาใช้งาน 22 คัน มีรายได้ 6.6 หมื่นบาท หรือเฉลี่ยคันละ 3 พันบาทวันที่ 25 .. 44 คัน มีรายได้ 1.32 แสนบาท และวันที่ 8 .. จำนวน 55 คัน มีรายได้ 1.65 แสนบาท

160636482599

ขณะที่ประเด็นรถเมล์ที่ได้รับความเสียหายสร.ขสมก.” กดดันไปถึงตำรวจ ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายซ่อมรถเมล์ที่เสียหาย เนื่องจากเป็นผู้ขอความร่วมมือให้สนับสนุนรถเมล์ทั้งหมด

กรุงเทพธุรกิจ เคยสอบถามพนักงานขับรถ ขสมก.ที่ขับรถเมล์มาจอดที่เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ เมื่อวันที่ 14 ..ถึงภารกิจที่ได้รับการร้องขอจากตำรวจ แต่ได้รับการปฏิเสธการให้ข้อมูลทั้งหมด จากนั้นกรุงเทพธุรกิจ ได้ตรวจสอบสถิติ การใช้งานรถเมล์ขสมก.” และรถร่วมบริการเอกชนในภารกิจสกัดกั้นการชุมนุม ดังนี้

วันที่ 20 .ปิดถนนบริเวณหน้าศาลหลักเมือง 4 คัน วันที่ 14 .. ปิดเส้นทางราชดำเนิน 15 คัน วันที่ 21 .. ปิดสะพานชมัยมรุเชษฐ์ ใกล้ทำเนียบรัฐบาล จำนวน 2 คัน วันที่ 8 .. ปิดถนนราชดำเนิน จำนวน 55 คัน และวันที่ 17 .. ปิดรอบอาคารรัฐสภาอีกจำนวน 8 คัน

เมื่อลงลึกถึงลักษณะทางกายภาพ รถเมล์ต่อการจอดขวางบนพื้นผิวถนน พบว่าใน ...การขนส่งทางบก ..2522 ได้กำหนดความยาว ความกว้าง และความสูงรถขนส่งผู้โดยสารต้องมีความกว้างไม่เกิน 2.55 เมตร มีความสูงไม่เกิน 3.20 เมตร และความยาวไม่เกิน 10.00 เมตร

ขณะเดียวกัน เมื่อเปรียบเทียบขนาดความกว้างถนน 1 ช่องทางจราจร(เลน) ในกรุงเทพฯ อยู่ระหว่าง 3.00-3.50 เมตร ดังนั้นเมื่อนำรถเมล์ขนาดความยาวมาตรฐาน 1 คันมาปิดเส้นทาง จะทำให้รถเมล์ขวางบนผิวถนนได้ถึง 3 เลน ทำให้จุดเด่นความยาวของรถเมล์และสามารถเคลื่อนที่ย้ายพิกัดรับการชุมนุมแฟลชม็อบ ได้อย่างรวดเร็ว กลายเป็นสิ่งที่ตำรวจ จำเป็นต้องเลือกใช้รถเมล์ มาใช้กับภารกิจมาทำหน้าที่สกัดกั้นผู้ชุมนุม

แหล่งข่าวจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(ตร.) เปิดเผยว่า เหตุผลการใช้รถเมล์ปิดพื้นที่ถนน เนื่องจาก ตร.ได้หารือกับผู้แทนของขสมก.แล้ว ซึ่งการใช้รถเมล์นั้นเพราะจะใช้เวลาน้อยในการเคลื่อนที่และสะดวกรวดเร็วในการปฎิบัติงาน

160636499727

กรุงเทพธุรกิจย้อนรอยการชุมนุมทางการเมืองในอดีตพบว่ารถเมล์ ไม่ได้ถูกใช้จากฝ่ายความมั่นคงอย่างเดียว แต่กลับถูกผู้ชุมนุมยึดประท้วงปิดกั้นเส้นทาง อาทิ การชุมนุมของกลุ่ม กปปสเมื่อวันที่ 18 ..2557 ผู้ชุมนุมยึดรถเมล์ 3 คันจอดขวางแยกสี่กั๊กเสาชิงช้า ถนนอัษฎางค์-สะพานมอญ ซึ่งอยู่ใกล้พื้นที่ชุมนุมหน้ากระทรวงมหาดไทย

รวมถึงเหตุการณ์ชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดงเมื่อปี 2552 รถเมล์สาย 509 และ 503 ถูกเผาระหว่างทหารเคลียร์พื้นที่บนถนนพิษณุโลก หรือกระทั่งย้อนไปถึงเหตุการณ์พฤษภา'35รถเมล์ถูกผู้ชุมนุมยึดและเผาทำลายไปหลายคันเช่นกัน

จากสถานการณ์ชุมนุมตลอดหลายสิบปี ยังได้เห็นภาพรถเมล์ ถูกใช้งานนอกภารกิจในสภาพเป็นโล่ห์กําบังแนวปะทะ ที่ไม่ว่าฝ่ายใดที่ยังคงมองรถเมล์ เป็นหนึ่งเครื่องมือทางการเมือง และมองข้ามสมบัติสาธารณะที่มาจากภาษีทุกคน

160636505319

ขณะที่สถานการณ์ล่าสุดในการนัดชุมนุม 25 ..2563 ได้ปรากฏ ยุทโธปกรณ์ที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นใช้ปิดถนนสายสำคัญมุ่งไปที่สํานักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ถนนนครราชสีมา ตลอดค่ำคืนถึงช่วงเช้าวันที่ 25 ..2563 เป็นตู้คอนเทนเนอร์ ขนาดใหญ่ จำนวนมาก ถูกนำมาใช้ปิดถนนแยกสำคัญ เป็นแนวบังเกอร์ป้องกันกลุ่มคณะราษฎรเคลื่อนมาชุมนุมที่สํานักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ตามที่ประกาศไว้

1606365176100

จากเดิมที่เจ้าหน้าที่ใช้แนวรั้วลาดหนาม สังกะสี รั้วแผงเหล็ก แบริเออร์ และรถโดยสารประจำทาง ขสมก.และเอกชน ก่อนหน้านี้ เป็นสิ่งที่เจ้าหน้าที่ประเมินไม่สามารถปิดกั้นการเคลื่อนขบวนได้ทั้งหมด ทำให้ตู้คอนเทนเนอร์เป็นทางเลือกใหม่นำมาใช้ตรึงแนวป้องกันรอบพื้นที่สํานักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ ตั้งแต่แยกอุภัยเจษฎุทิ แยกสุโขทัย แยกประชาเกษม แยกขัตติยานี แยกเทเวศสะพานมัฒวานรังสรรค์ แยกสะพานขาว ถึงแม้คณะราษฎรจะประกาศย้ายจุดชุมนุมไปที่สำนักงานใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์ ถนนรัชดาภิเษก แล้วก็ตาม

หากลงรายละเอียดของตู้คอนเทนเนอร์พบว่าถูกแบ่งตามขนาดเป็น 2 ประเภท 1.ขนาด 20 ฟุต มีความกว้างประมาณ 2.4 เมตรยาวประมาณ 5.9 เมตร และสูงประมาณ 2.6 เมตร มีน้ำหนักบรรจุตู้ได้ไม่เกิน 21.7 ตัน 2.ขนาด 40 ฟุต มีความกว้างประมาณ 2.4 เมตรยาวประมาณ 12 เมตร และสูงประมาณ 2.9 เมตร มีน้ำหนักบรรจุตู้ได้ไม่เกิน 27.4 ตัน

เมื่อนำตู้คอนเทนเนอร์มาปิดกั้นถนนขนาดความกว้างถนน 1 ช่องทางจราจร(เลน) ในกรุงเทพฯ อยู่ระหว่าง 3.00-3.50 เมตร ตู้คอนเทนเนอร์ 1 ตู้ขนาด 20 ฟุตจะสามารถปิดถนนได้ประมาณ 2 เลน และขนาด 40 ฟุตจะปิดถนนได้มากถึง 4 เลน

160636519678

ทำให้นอกจากแนวป้องกันจากรถโดยสารประจำทาง ซึ่งมีจุดเด่นเรื่องการความสะดวกในการเคลื่อนที่ตั้งแนวแล้ว การใช้ ตู้คอนเทนเนอร์ถึงแม้จะใช้เวลามากกว่าในการเสริมแนวตั้งรับทั่วไป แต่แลกกับความมั่นคงแข็งแรงมากกว่าแนวป้องกันประเภทอื่นที่นำมาใช้ โดย ...กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษก ตร. ระบุถึงสาเหตุการใช้ตู้คอนเทนเนอร์วางแนวกั้นแน่นหนา เพราะป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย หากจะมีการชุมนุมระหว่างมวลชน 2 กลุ่มเกิดขึ้น

กรุงเทพธุรกิจ ตรวจสอบราคาเช่า ในวงการตู้คอนเทนเนอร์พบว่า ในราคาเช่าถูกที่สุดเป็นตู้ธรรมดาหากเช่าเป็นเวลา 1 เดือนสำหรับตู้คอนเทนเนอร์ที่มีขนาด 20 ฟุตจะอยู่ประมาณ 4,000 บาท ไม่รวมค่าขนส่งและติดตั้ง และตู้คอนเทนเนอร์ที่มีขนาด 40 ฟุตราคาเช่าจะอยู่ประมาณ 6,000 บาทไม่รวมค่าขนส่ง ติดตั้ง และค่ามัดจำ ขณะที่ราคาตู้คอนเทนเนอร์มือสอง อยู่ที่ราคา 3.5 หมื่นบาทขึ้นไป

เมื่อวัตถุประสงค์การใช้หลักของตู้คอนเทนเนอร์บริษัท Cargo เพื่อขนส่งสินค้าจำนวนมาก ทั้งทางเรือ รถไฟ หรือรถบรรทุก ซึ่งความแข็งแรงของตู้จะช่วยป้องกันสินค้าเสียหายได้เป็นอย่างดี ทำให้ขณะนี้จุดแข็งของตู้คอนเทนเนอร์ถูกเรียกนำมาใช้เป็นแนวป้องกันม็อบราษฎร เพื่อสกัดกั้นการเคลื่อนขบวนเข้าพื้นที่ต้องห้ามตามที่คุมเข้มไว้ทั้งหมด.

160636525128