ถอดสเปก"กสทช."วอนทำเพื่อประชาชน -ทีดีอาร์ไอหวังบอร์ดใหม่ชูดิจิทัลนำทาง

ถอดสเปก"กสทช."วอนทำเพื่อประชาชน  -ทีดีอาร์ไอหวังบอร์ดใหม่ชูดิจิทัลนำทาง

ทีดีอาร์ไอร่ายยาวคุณสมบัติบอร์ดกสทช.ชุดใหม่ หวังแค่ทำหน้าที่พื้นฐานให้ดีที่สุด อย่างตรงไปตรงมา คาดการณ์อนาคตที่จะเกิดขึ้นด้วยเซ็นส์ของเทรนด์เทคโนโลยี

นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า อีกหนึ่งคำย่อของ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือกสทช. ย่อมาจาก กรุณาสรรหาให้ทันใช้ เพราะคณะกรรมการฯ ที่ก่อนหน้านี้อยู่ยาวนานกว่า 8-9 ปี ซึ่งถือว่าอยู่มายาวนานมาก มองว่าเรื่องนี้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ทำผิดพลาดอย่างยิ่ง ในการใช้มาตรา 44 ทั้งที่มีพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กำหนดไว้อยู่แล้ว มีหลักเกณฑ์กำหนดไว้ชัดเจนอยู่แล้ว แต่ คสช.ยังมีการต่ออายุ ซึ่งถือว่าเป็นการต่ออายุแบบปลายเปิดอีกด้วย ซึ่งกว่าจะมีการถอดสลักก็หมดช่วงรัฐบาลประยุทธ์ 1 ไปแล้ว
อีกทั้ง ขณะนี้ อยู่ระหว่างการสรรหากสทช.ชุดใหม่ ซึ่งได้ปิดรับสมัครไปแล้วมีผู้สนใจถึง 80 คน ซึ่งจะส่งผลให้สมาชิกวิฒุสภา (ส.ว.) ต้องสรรหาใหม่ ความไม่แน่นอนแบบนี้ก็ยังคงอยู่ต่อไป และไม่ระหว่างความไม่แน่นอนนี้ หาก กสทช.ชุดปัจจุบันดำเนินงานไปเรื่อยๆ ก็มีหลายอย่างที่ตนคิดว่าเป็นปัญหาอย่างยิ่ง อาทิ การขยายเวลาทดลองใช้วิทยุ เช่น วิทยุชุมชน และวิทยุธุรกิจ เป็นต้น ซึ่งในส่วนนี้ควรเอามาประมูลให้เป็นเรื่องเป็นราวไปตั้งนานแล้ว ทั้งนี้ ไม่ได้แปลว่าวิทยุเป็นกิจการที่รุ่งเรืองมากมาย เพราะช่วงหลังก็อยู่ในช่วงขาลง แบบการแพร่ภาพ และการกระจายเสียง แต่ควรมีความชัดเจนไม่ใช่ต่อสัญญาณกันไปปีต่อปี หรือปล่อยให้มีการโฆษณาที่ไม่มีการตรวจสอบ
นายสมเกียรติ กล่าวว่า เพราะฉะนั้น หากจะถามว่าคำย่อ กสทช.ย่อมาจากอะไร ตัวที่สำคัญกว่า กรุณาสรรหาให้ทันใช้ คือ กรุณาสรรหาท่านที่เชื่อถือได้
มุมมองจากหลายฝ่ายอยากเห็นนั้น ตนมองว่า คนอยากเห็น กสทช. มีวิสัยทัศน์ที่หลากหลาย ทั้งการเป็นดีไซเนอร์ หรือทำงานในเชิงรุกมากขึ้น ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ หากทำได้ก็ดี แต่หน้าที่พื้นฐานของกสทช. คือ องค์กำกับดูแล ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย งานพื้นฐานตรงนี้คือเรื่องที่สำคัญที่สุด ยกตัวอย่าง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่เป็นองค์กรกำกับดูแล ที่ทำนโยบายการเงิน และทำหน้าที่กำกับสถาบันการเงิน หรือการกำกับระบบชำระเงิน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องการความรู้และทักษะสูงมาก ต้องการองค์กรที่มีวัฒนธรรมที่มีความเป็นมืออาชีพ

ส่วนเรื่องการกำกับดูแลราคาของกสทช.ชุดใหม่ ตนมองว่าต้องกำหนดอย่างไร เพื่อให้ตลาดแข่งขันอย่างธรรมชาติ หากกสทชจะทำอะไรนอกเหนือจากนี้ ก็สามารถทำได้ไม่ได้ปิดกั้น แต่ควรทำหน้าที่พื้นฐานให้แน่นก่อน โดยทำให้เกิดความมั่นใจ มีความโปร่งใส มีเหตุมีผล และทำนายได้ก่อน ชูการใช้ดิจทัลนำทาง เพราะทุกคนไม่รู้ว่านับจากนี้ อีก 2-5 ปีข้างหน้าจะเกิดอะไรขึ้น เพื่อวางแผนธุรกิจ อาทิ การประมูลคลื่น 5จี ที่เหลืออยู่จะได้ประมูลเมื่อไร ซึ่งมองว่าเรื่องเหล่านี้เป็นเหมือนปริศนา จึงต้องเตรียมพร้อมล่วงหน้า หากไม่มีการวางแผนจะทำให้เกิดโครงสร้างพื้นฐานที่ดีไม่ได้ ซึ่งสิ่งนี้คือหัวใจของการกำกับดูแล 
อีกเรื่องที่มีข้อสงสัยคือ ทำไม่กำกับดูแลแล้วเหลือคนแข่งขันประมูล 5จี น้อยลง เพราะมันคาดหมายไม่ได้ ไม่ใช่ประมูลและเกิดกลุ่มผลประโยชน์ที่มีอิทธิพล สุดท้ายก็จะหนีระบบสัมปทานไม่พ้นอยู่ดี ดังนั้น กสทช.ชุดใหม่ต้องทำโครงสร้างพื้นฐานให้ดี
สิ่งที่เป็นอยู่คือ ความมั่วที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน เกิดขึ้นจากการไม่ทำตามกฎกติกาตั้งแต่ คสช. และกสทช. หากทำตามกติกาเรื่องจะไม่ยุ่งขนาดนี้ ไม่ต้องเร่งรัดว่า บมจ.ไทยคมจะได้วงโคจรหรือไม่ได้วงโคจร เรื่อง 5G จะเป็นอย่างไรต่อไป แบบตรงไปตรงมา หากย้อนกลับมาสู่มาตรฐาน คือการกำกับดูแล เรื่องความโปร่งใส และการคาดการณ์ได้ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง
นอกจากนี้ พื้นฐานหน้าที่ คือ การออกกติการให้มีโปร่งใส ทำนายได้ และกำกับดุแลให้เป็นแบบนั้นจริง ยกตัวอย่าง เป็นโจทย์ที่ กสทช.ชุดใหม่ ต้องเข้ามาดำเนินการ ซึ่งสามารถทำได้ด้วย ถ้าต้องการจะทำจริงๆ เพราะหลายคนเป็นบุคคลที่มีความสามารถ อาทิ กสทช.อนุญาติให้ย้ายค่าเบอร์เดิมได้ เพราะถ้าจะย้ายค่ายแล้วเปลี่ยนเบอร์อาจมีปัญหาในเรื่องการโอนเงินผ่านพร้อมเพย์ได้ เฉพาะกับคนทำมาหากิน ซึ่งการเปลี่ยนค่ายเบอร์เดิมทำได้น้อยมาก เนื่องจากขั้นตอนยุ่งยาก ฉะนั้นการกำกับดูแลจึงเป็นเรื่องสำคัญ แต่ต้องทำให้เกิดขึ้นจริง และเรื่องข้อความรบกวน ซึ่งมีการกำกับดูแลแล้ว แต่ในข้อกฎหมายต้องทำให้เกิดขึ้นจริง ควรนำผู้ที่โฆษณาเกินจริง มาถูกลงโทษก่อน ซึ่งการสร้างการแข่งขันเป็นอีกเรื่องที่กสทช. ยังทำได้ไม่ดี
เขา เสริมว่า ในแง่ของการประมูลใบอนุญาตครั้งที่ผ่านๆมา ผู้ประกอบการที่เหลืออยู่ทุกราย เต็มใจรับราคาที่ตัวเองเคาะทั้งสิ้น แล้วทำไมกสทช.จึงมีการออกมาตรการคืนเงินที่ไปประมูลได้เอากลับคืนมาโดยเรียกว่าเยียวยา ทั้งๆ ที่ไม่มีใครเสียหาย ทุกรายสมัครใจเข้าร่วมการประมูลทั้งสิ้น ซึ่งเรื่องนี้คือการกะรทำผิดร่วมกันจากการไม่พยายามทำตามกฎกติกาที่มีอยู่ จากการพยายามของคนกำหนดกติกา เป็นกรรมการ ไปกำหนดกติกาใหม่ๆ ขึ้นมาทุกวันตามใจ หากเป็นเช่นนั้นถือเป็นการกำหนดกฎเกณฑ์ แบบตามอำเภอใจ มองว่าสังคมไทยจะอยู่รอดและเดินไปได้ต้องมี นิติรัฐ และต้องมีความคาดหมายได้
เพราะฉะนั้น เราคาดหวัง 7 เสือ กสทช.กันไปมากมาย ซึ่งตนคาดหวังน้อยที่สุด เพียงต้องการอยากให้ทำหน้าที่พื้นฐานให้ดีที่สุด อย่างตรงไปตรงมา แค่นี้ประชาชนคนไทยจะขอบคุณอย่างยิ่ง
นอจากนี้ ในฐานะที่ตนเคยทำกฎหมายกสทช.มา สิ่งหนึ่งที่ควรจะแก้อย่างยิ่งในกฎหมายกสทช. ซึ่งเป็นความผิดพลาดในสมัยที่ตนเป็นกรรมาธิการด้วย และมีส่วนทำให้เกิดปัญหาในปัจจุบัน ซึ่งในตอนนั้นไหวตัวอยากจะแก้ในส่วนนั้นแต่สุดท้ายกลายเป็นเสียงข้างน้อย ในกรรมาธิการไม่สามารรถแก้ไขได้ คือการที่ ในเรื่องของการจัดสรรใบอนุญาตเยอะเกินไปให้กับสำนักงาน กสทช. ซึ่งตัวนี้คือจุดสลดของธรรมาภิบาลของระบบโทรคมนาคมของประเทศไทย ที่ไหนเงินเยอะอำนาจเยอะ ที่นั่นเสี่ยงที่สุดที่จะมีการคอรัปชั่น

หากย้อนดูเม็ดเงินของกสทช. ในปี 2562 อยู่ที่ 5.3 พันล้านบาท ซึ่งเงินก้อนนี้ใหญ่มากและทำให้เกิดความผิดปกติในวงการสื่อสารโทรคมนาคม ซึ่งเมื่อเทียบกับงบประมาณของกระทรวงพลังงาน ได้ต่อปีเพียง 2.3 พันล้านบาท ซึ่งงบประมาณส่วนนี้ ทำให้เกิดผลเสีย อาทิ การทำให้ค่าบริการแพงโดยไม่จำเป็น และที่สำคัญคือปิดกั้นการตรวจสอบกสทช. เพราะมีหลายหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นสื่อภาคบริการ ภาคประชาสังคม และอีกหลายๆ ฝ่าย ที่มาของ กสทช. เปรียบเหมือน กสทช. เป็นพระคลังข้างที่ เอาเงินไปทำเรื่องต่างๆ ซึ่ง กสทช. ในหลายกรณีก็ให้เงินไปแบบไม่รู้ว่าตรงกับภารกิจจริงหรือไม่ และอยากฝากโจทย์ให้กับ กสทช.ชุดใหม่ แก้กฎหมายลดเงินค่าทำเนียมที่เก็บเข้า กสทช.