ธปท. งัด 3 มาตรการ สกัดบาทแข็ง-เอื้อเงินทุนเคลื่อนย้ายสมดุลขึ้น

ธปท. งัด 3 มาตรการ สกัดบาทแข็ง-เอื้อเงินทุนเคลื่อนย้ายสมดุลขึ้น

ธปท.ออก 3มาตรการหวังลดแรงกดดันค่าเงินบาท เอื้อเงินทุนเคลื่อนย้ายสมดุลมากขึ้น โดยเปิดให้คนไทยฝากเงินในบัญชีFCDเสรี ปรับเกณฑ์ลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ เพิ่มวงเงินรายย่อยลงทุนตรงเป็น5ล้านดอลฯ ให้ลงทะเบียนแสดงตนซื้อขายตราสารหนี้ ทยอยคลอดสิ้นพ.ย.นี้

นางสาววชิรา อารมณ์ดี ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)กล่าวว่า ในช่วงไตรมาสที่ผ่านมา ปัจจัยภายนอกทั้งผลของการเลือกตั้ง ประธานาธิบดีสหรัฐ และความคืบหน้าของการพัฒนาวัคชีนป้องกันโควิด-19 ทำให้นักลงทุนต่างชาติมีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจโลกมากขึ้น

จึงกลับมาลงทุนในสินทรัพย์ของกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ รวมทั้งไทย ส่งผลให้ค่าเงินบาทปรับแข็งค่าขึ้นเร็ว ซึ่งอาจกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังปราะบาง

ธปท.ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และเข้าดูแลตลาดอัตราแลกเปลี่ยนต่อเนื่องเพื่อลดความผันผวนของเงินบาท นอกจากนี้ เพื่อช่วยลดแรงกดดันต่อค่าเงินบาทและแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างให้กับตลาดอัตราแลกเปลี่ยนช่วยให้เงินทุนคลื่อนย้ายมีความสมดุลมากขึ้น ธปท. จึงเห็นควรดำเนินมาตรการ ดังนี้

160585663159

1. เปิดให้คนไทยฝากเงินตราต่างประเทศได้เสรี (Foreign Curency Deposit : FCD) และโอนเงินระหว่างบัญชี FCD ของคนไทยได้เสรี จะช่วยให้ผู้ส่งออกบริหารจัดการเงินตราต่างประเทศและบริหารความเสี่ยงจากอัตราเปลี่ยนได้คล่องตัวมากขึ้น สามารถทำธุรกรรมผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ช่วยลดต้นทุนการโอนเงินให้คนไทยสามารถกระจายความเสี่ยงการลงทุนในสินทรัพย์สกุลเงินตราต่างประเทศได้สะดวกขึ้น เช่น การลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ และการซื้อขายทองคำเป็นสกุลเงินดอลลาร์ สรอ.

2. ปรับกฎเกณฑ์และกระบวนการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ ทั้งในมิติของวงเงินและผลิตภัณฑ์ที่ลงทุนได้ เพื่อเพิ่มทางเลือกการลงทุนให้กับคนไทยและสนับสนุนให้มีการกระจายความเสี่ยงการลงทุนได้มากขึ้น

- เพิ่มวงเงินลหุนให้นักลงทุนรายย่อยลงทุนโดยตรงได้เป็น 5 ล้านดอลลาร์ สรอ. ต่อปีจากเดิม 200,00 ดอลสาร์ สรอ. ต่อ และไม่จำกัดวงเงินลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประทศที่ลงทุนผ่านตัวกลางในประเทศ เช่นบริษัทหลักทรัพย์ และบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน
- ไม่จำกัดวงเงินลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประทศสำหรับนักลทุนภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
- เปิดให้มีการนำหลักทรัพย์ต่างประทศมาซื้อขายในไทยได้โดยไม่จำกัดวงเงิน เช่น กองทุนรวมดัชนี(ETF) ที่อ้างอิงหลักทรัพย์ต่างประเทศได้

3. การลงทะเบียนแสดงตัวตนเพื่อซื้อขายตราสารหนี้ (Bond Pre-trade Registration) ผู้ลงทุนในตราสาร
หนี้ไทยต้องลงทะเบียนแสดงตัวตนก่อนการซื้อขาย ทำให้ ธปท. ระบุตัวตนและติดตามพฤติกรรมของนักลงทุนได้อย่างใกล้ชิด เป็นการยกระดับการติดตามข้อมูลและเอื้อให้ ธปท. สามารถดำเนินนโยบายได้อย่างตรงจุดและทันการณ์

ทั้งนี้แนวทางดักล่าวสอดคล้องกับการดำเนินการของหลายประทศ อาทิ เกาเหสีใต้ มาเลเซีย ไต้หวัน

สำหรับมาตรการข้างต้นเป็นส่วนหนึ่งของแผนการผลักดันให้เกิดระบบนิเวศของตลาดอัตราแลกเปลี่ยนใหม่(FX ecosystem) ที่กระทวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และ ธปท.ผลักดันร่วมกันแบบองค์รวม เพื่อแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างของตลาตอัตราแลกเปลี่ยนไทยอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้กระทรวงการคลังจะประกาศในราชกฤษจานุเบกษาในวันนี้ (20 พ.ย.) จากนั้นมาตรการ 1 และ2 จะเริ่มดำเนินมาตรการได้ทันทีภายในสิ้นเดือนพ.ย.นี้

ส่วนมาตรการ 3 ยังต้องหารือกับผู้ร่วมตลาด คาดว่าจะเริ่มให้เร็วที่สุดภายในต้นปี2564 ซึ่งการยันตัวตนต้องพิจารณาอย่างรอบคอบเพื่อให้มีเครื่องมือดูแลตลาดได้อย่างเหมาะสม

นางสาววชิรา กล่าวต่อว่า ในระยะสั้น ธปท. เข้าดูแลตลาดอัตราแลกเปลี่ยนอย่างต่อเนื่องอย่างใกล้ชิด เพื่อไม่ให้เกิดความผันผวนจนเกินไป เนื่องจากตลาดยังมีความเปราะบางและมีหลายปัจจัยมากที่ส่งผลกระทบต่อตลาดอัตราแลกเปลี่ยน  ยอมรับว่า ในระยะสั้นเห็นเงินลงทุนไหลเข้ามาลงทุนและการเก็งกำไรในตลาดบอนด์ แต่ก็ยังไม่ได้มีความผิดปกติส่งผลต่อตลาดอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งยังติดตามดูแลตลาดอย่างใกล้ชิด รวมถึงมีมาตรการเตรียมพร้อมไว้รอบรับอยู่แล้วและมีการศึกษามาตรการใหม่ๆ เช่นกัน เพื่อให้มีพร้อมดูแลหากพบความผิดปกติเกิดขึ้น

"ในระยะสั้นยอมรับว่า ค่าเงินยังผันผวน จากปัจจัยภายนอกค่อนข้างมาก เนื่องจากคนมีความเชื่อมั่นหลังการตั้งสหรัฐและการพัฒนาวัคซีน ทำให้เงินลงทุนไหลเข้ามาทั้งเอเชีย ไม่เฉพาะไทยเท่านั้นและด้วยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังเปราะบาง ทำให้เราต้องมีการเข้าดูแลอัตราแลกเปลี่ยนอย่างใกล้ชิด"

สำหรับมาตรการที่ออกครั้งนี้ แม้จะเป็นมาตรการระยะยาว แต่จะช่วยตอบโจทย์ระยะสั้นด้วย ทำให้นักลงทุนมั่นใจมากขึ้นและออกไปลงทุนต่างประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะรายย่อย รวมถึงผู้ประกอบการและนักลงทุน จะมีภูมิคุ้มกันมากขึ้น หากอัตราแลกเปลี่ยนผันผวน

โดยตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน พบว่า นักลงทุนรายย่อยที่ออกไปลงทุนต่างประเทศ มีจำนวน500ราย เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่ 300 ราย คาดว่าในแง่จำนวนรายจะทยอยเพิ่มมากขึ้นหลังจากผลักดันมาตรการเปิดเสรีดังกล่าว