ไขปม! ‘กระสุนยาง’ อันตรายแค่ไหน ทำไมจึงไม่ควรใช้ 'สลายการชุมนุม'

ไขปม! ‘กระสุนยาง’ อันตรายแค่ไหน ทำไมจึงไม่ควรใช้ 'สลายการชุมนุม'

ไขปมข้อถกเถียง "กระสุนยาง" คือทางเลือกที่เหมาะสำหรับการ "สลายการชุมนุม" จริงหรือ!?

ในปี 2558 เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง เครื่องมือควบคุมฝูงชนในการชุมนุมสาธารณะ โดยระบุว่า การสมควรกำหนดเครื่องมือควบคุมฝูงชน เพื่อให้การชุมนุมสาธารณะเป็นไปด้วยความสงบเรียบร้อย ไม่กระทบต่อความมั่นคงของชาติ ความปลอดภัยสาธารณะ ความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดี

โดยสามารถเลือกใช้เครื่องมือควบคุมฝูงชนได้ ตามอุปกรณ์ที่ระบุไว้ทั้งหมด 48 ชนิด แต่เครื่องมือที่ยังคงเป็นปัญหาถกเถียงในด้านความปลอดภัยอย่างยาวนานคือ "กระสุนยาง" ที่ทั่วโลกต่างจับจ้องหากฝ่ายรัฐบาลเลือกใช้ "กระสุนยาง" เข้าสลายการชุมนุม พร้อมกับตั้งคำถามถึงความเหมาะสมว่ามันคือทางเลือกที่ดีแล้วใช่หรือไม่?

160560523631

  • "กระสุนยาง" อันตรายแค่ไหน

การศึกษาเรื่องความบาดเจ็บในการสลายการชุมนุมของ BMJ Journals ปี 2560 พบว่า 3% ของผู้ที่โดนกระสุนยางเสียชีวิตจากการบาดเจ็บ และจากกรณีศึกษาของคนกว่า 1,984 คน พบว่า 15% ของผู้ที่ได้รับบาดเจ็บกลายเป็นผู้พิการถาวร โดยส่วนใหญ่มักตาบอด โดยคนกลุ่มนี้ 80% ถูกยิงด้วยกระสุนยางผสมโลหะ นอกจากนี้ผู้ได้รับบาดเจ็บจากกระสุนยางส่วนใหญ่จะบาดเจ็บสาหัส และในจำนวนนี้ 3% (ราว 51 คน) เสียชีวิต

ศาสตราจารย์ Douglas Lazzaro ผู้เชี่ยวชาญด้านดวงตาของ สถาบัน NYU Langone Health กล่าวว่าการยิงกระสุนยางเข้าไปในกลุ่มผู้ชุมนุมที่อยู่ในที่กว้างถือเป็นเรื่องประมาท และอันตรายอย่างยิ่ง

เจ้าหน้าที่ตำรวจระดับสูงของสหรัฐกล่าวว่า ขอบเขตของการใช้กระสุนยางคือสามารถหยุดฝูงชน และบุคคลอันตรายไม่ให้เข้าใกล้เจ้าหน้าที่ได้

หากยิงในระยะใกล้กระสุนยางสามารถทะลุผิวหนัง กระดูกแตก และสามารถทำให้กะโหลกร้าวได้เช่นกัน

ในขณะเดียวกัน ความเห็นของ Robert Glatter เจ้าหน้าที่แพทย์ประจำห้องฉุกเฉิน และโฆษกของ American College of Emergency Physicians กล่าวว่า

“หากยิงในระยะใกล้กระสุนยางสามารถทะลุผิวหนัง กระดูกแตก และสามารถทำให้กะโหลกร้าวได้เช่นกัน นอกจากนี้กระสุนยางยังทำให้เกิดบาดแผลที่ส่งผลต่อสมอง หากโดนบริเวณท้อง ก็อาจทำให้บาดเจ็บที่ช่องท้องอย่างรุนแรง รวมถึงส่งผลต่อม้าม ลำไส้ และเส้นเลือด”

ผลวิจัยล่าสุดของแพทย์อเมริกันจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตเบิร์กลีย์ สหรัฐฯ ชี้ว่า ไม่ควรใช้กระสุนยางหรือกระสุนพลาสติก รวมทั้งกระสุนชนิดอื่นๆ ที่มีการเคลมว่าไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต เข้าปราบปรามฝูงชนในเหตุจลาจลหรือเหตุอาชญากรรมอื่นๆ เนื่องจากพบว่ามีโอกาสทำให้บาดเจ็บสาหัส เกิดความพิการอย่างถาวร หรือกระทั่งมีความเสี่ยงให้เสียชีวิตสูงกว่าที่คาดกันไว้

ผู้นำทีมวิจัยและสมาชิกขององค์การแพทย์เพื่อสิทธิมนุษยชนระบุว่า กระสุนยางหรือกระสุนชนิดที่คิดกันว่าปลอดภัยไม่ทำให้คนตายได้นั้น มีโอกาสจะทำให้เกิดการเสียชีวิตได้สูงกว่าที่คิด ทั้งในการยิงระยะประชิดและในการเล็งยิงจากระยะไกล

160560524845

     

  • "กระสุนยาง" ถูกใช้บ่อยแค่ไหน

กองทัพอังกฤษพัฒนากระสุนยางเมื่อ 50 ปีก่อน (ช่วงประมาณ พ.ศ. 2500) เพื่อใช้ในการควบคุมผู้ก่อการจลาจลชาตินิยมในไอร์แลนด์เหนือ จากนั้นมันก็ถูกใช้ควบคุมฝูงชนเรื่อยมา ทั้งในกองกำลังความมั่นคงของอิสราเอลต่อผู้ประท้วงชาวปาเลสไตน์ หรือในฝรั่งเศสที่ใช้ควบคุม ผู้ประท้วง “เสื้อเหลือง" ในปารีส

ศาสตราจารย์ John Jay College of Criminal Justice ในนิวยอร์กกล่าวว่า ตำรวจไม่จำเป็นต้องจัดทำเอกสารอย่างเป็นทางการเพื่อใช้กระสุนยางในเวลานั้น ดังนั้นแล้วจึงไม่มีข้อมูลระดับชาติที่บันทึกข้อมูลการใช้กระสุนยาง และไม่มีมาตรฐานที่ตกลงถึงขอบเขตการใช้กระสุนยางในระดับประเทศ

“มันนับเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างมาก”

160560526040

สำหรับประเทศไทย ปัญหาเรื่องกระสุนยาง และกระสุนจริง ถูกวิพากษ์ในวงกว้างสำหรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อการสลายการชุมนุมกลุ่มคนเสื้อแดง เมษา- พฤษภา 53 ข้อมูลจาก ศปช. ระบุว่า ในช่วงการชุมนุมคนเสื้อแดง มีการเบิกจ่ายกระสุนจริง 597,500 นัด ก่อนส่งคืนให้กรมสรรพาวุธในภายหลัง 479,577 นัด เท่ากับมีการใช้กระสุนจริงไป 117,923 นัด และมีการเบิกกระสุนสำหรับการซุ่มยิง 3,000 นัด ส่งคืน 880 นัด เท่ากับใช้ไป 2,120 นัด

นอกจากกระสุนยาง รายงานแพทย์สหรัฐฯ ยังระบุถึงการทดสอบของการสลายการชุมนุมในอิรัก ที่พบว่ามีอุปกรณ์การสลายการชุมนุมที่เป็นอันตรายเพิ่มเติมคือ

แก๊สน้ำตา : ส่งผลต่อการมองเห็น และการหายใจที่ลำบาก

การฉีดน้ำแรงดันสูง : หากโดนลำตัวโดยตรง อาจส่งผลต่ออาการบวมของต่อมน้ำเหลือง และการบาดเจ็บทางร่างกาย

------------------

ที่มา : forbes, nbcnews, bmjopen.bmj, fastcompany