ชุดตรวจแอนติบอดีเชื้อโรคโควิด 19 ฝีมือกรมวิทย์

ชุดตรวจแอนติบอดีเชื้อโรคโควิด 19 ฝีมือกรมวิทย์

กรมวิทย์พัฒนาชุดตรวจแอนติบอดีเชื้อโรคโควิด 19 ชนิดรวดเร็วได้เอง รออย.ขึ้นทะเบียน วางแผนสุ่มตรวจภูมิคุ้มกันคนไทยทั่วประเทศ 60,000 คน บ่งบอกความชุกคนไทยเคยติดเชื้อต่ำ-สูง ขณะที่แล็ปตรวจโควิดมีครบ 76 จังหวัดเว้นสิงห์บุรี

    เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน ที่กระทรวงสาธารณสุข   นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ รักษาราชการแทนอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงข่าว “แล็บไทย Fight COVID-19โดยมีการดำเนินงานตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุข และเตรียมความพร้อมห้องปฏิบัติการเพื่อรับมือการระบาดของ COVID-19 ว่า  ล่าสุด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้พัฒนาชุดตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อ SARS-CoV-2 ที่ก่อโรคโควิด-19ทั้งชนิด IgM ซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันที่บ่งบอกว่าเพื่งมีการติดเชื้อและ IgG ที่เป็นภูมิคุ้มกันที่บ่งบอกว่าเคยติดเชื้อมานานแล้ว เพื่อรองรับการระบาดของโรคโควิด 19 โดยใช้หลักการตรวจทางภูมิคุ้มกันวิทยาด้วยวิธีอิมมูโนโครมาโตกราฟี ชนิดอ่านผลด้วยตาเปล่าจากตัวอย่างซีรัม พลาสมาและเลือดจากปลายนิ้ว ซึ่งชุดตรวจนี้เป็นการตรวจคัดกรองเท่านั้นและจะให้ผลที่มีความแม่นยำในกรณีที่ใช้กับตัวอย่างจากผู้ติดเชื้อที่มีอาการมากกว่า 15 วัน ทั้งนี้การทดสอบและการแปรผลต้องทำโดยบุคลากรทางการแพทย์ และควรตรวจหาสารพันธุกรรมของไวรัสร่วมกับระดับแอนติบอดีเพื่อเพิ่มความไว ความจำเพาะและความแม่นยำในการวินิจฉัยโรคโควิด 19

        “ ขณะนี้ชุดตรวจแอนติบอดีต่อเชื้อ SAR-CoV-2 อยู่ระหว่างการขอขึ้นทะเบียน กับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) หากผ่าน กรมวิทยฯ มีศักยภาพผลิตได้เอง 3,000 เทสต่อสัปดาห์ ซึ่งอาจจะพิจารณาถ่ายทอดเทคฌนโลยที่สนใจนำไปผลิตเพื่อจำหน่าย โดยราคาหากเป็นการนำเข้าจากต่างประเทศจะอยู่ที่ 300-500 บาท แต่หากผลิตเองในประเทศจะมีต้นทุนประมาณ 100 บาท ทั้งนี้ ฟาก อย.อนุมัติขึ้นทะเบียน กรมวิทฯ มีแฯจะนำชุดตรวจนี้ไปใช้ในการสุ่มตรวจหาภูมิคุ้มกันคนไทยทั่วประเทศ ประมาณ 60,000 คน แบ่งเป็นเขตสุขภาพละ 5,000 คนต่อ ให้ครบทั้ง 12 เขต ซึ่งหากผลพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ไม่มีภูมิจะเป็นการช่วยบอกว่าประเทศไทยมีความชุกของโรคโควิด-19 ต่ำ เพราะประชากรส่วนใหญ่ยังไม่เคยมีภูมิคุ้มกัน ซึ่งแสดงว่าไม่เคยได้รับเชื้อมาก่อน”นพ.ศุภกิจกล่าว

160465586514

    

        นพ.ศุภกิจ กล่าวอีกว่า นับตั้งแต่เกิดการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในประเทศไทย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้มีการพัฒนาวิธีตรวจวินิจฉัย ด้วยเทคนิค Real-time RT PCR ซึ่งเป็นวิธีตรวจมาตรฐาน ที่องค์การอนามัยโลกให้การยอมรับ พร้อมทั้งดำเนินงานตามนโยบาย “1 แล็ป 1 จังหวัด 100 ห้องปฏิบัติการ” รายงานผลใน  1 วัน เพื่อเพิ่มศักยภาพในการตรวจหาโรค COVID-19 โดยตอนนี้มีห้องปฏิบัติการที่ผ่านการรับรองแล้ว 236 แห่งทั่วประเทศครอบคลุมเกือบทุกจังหวัดเหลือเพียง 1 จังหวัดจะพัฒนาให้ตรวจได้ทั้งหมดสามารถรองรับการตรวจได้มากกว่า 20,000 ตัวอย่างต่อวัน (แบ่งเป็นศักยภาพการตรวจในกรุงเทพมหานคร 10,000 ตัวอย่างต่อวัน และศักยภาพการตรวจในต่างจังหวัด 10,000 ตัวอย่างต่อวันหรือ 835 ตัวอย่างต่อเขตสุขภาพ ปัจจุบันมีจำนวนตัวอย่างที่ได้รับการตรวจสะสมรวม 1,217,873 ตัวอย่าง