ซีพีสยายปีกอาเซียน หลังจบดีลเทสโก้ โลตัส

ซีพีสยายปีกอาเซียน หลังจบดีลเทสโก้ โลตัส

ภายในปลายปี 2563 ดีลแสนล้านของกลุ่มซีพี ในการเข้าซื้อกิจการ  ‘เทสโก้โลตัส’ ในไทยและมาเลเซีย ที่ยืดเยื้อมาตั้งแต่ต้นปีน่าจะจบลงอย่างราบรื่นตามกลุ่มซีพีได้วางยุทธศาสตร์ธุรกิจค้าปลีกที่คลอบคลุมกำลังซื้อมหาศาลในภูมิภาคอาเซียนไว้ทั้งหมด

จากในช่วงมี.ค. 2563 ผลการเสนอซื้อกิจการบริษัท เทสโก้ สโตร์ส (ประเทศไทย) จำกัด และ Tesco Store (Malaysia) Sdn. Bhd.  ด้วยวงเงินถึง 10,576 ล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นประมาณ 338,445 ล้านบาทเป็นของกลุ่มซีพี โดยมี บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) หรือ CPALL  เป็นผู้เข้าทำรายการ

ส่วนการซื้อกิจการเป็นการระดมเม็ดเงินจากธุรกิจในเครือและเงินกู้ ด้วยการให้บริษัท ซี.พี. รีเทล โฮลดิ้ง จำกัด (ถือหุ้นโดย CPALL สัดส่วน 40%, เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง 40% และ ซี.พี. เมอร์แชนไดซิ่ง ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ CPF ถือหุ้น 20% เข้าซื้อกิจการ   

แน่นอนว่าการซื้อกิจการครั้งนี้ส่งผลทำให้กลุ่มซีพีมีอำนาจเหนือการตลาดในด้านยอดขายหากรวมกับคอนวิเนียน สโตน์ ที่มีอยู่แล้วทั้งเซเว่น อีเลฟเว่น  ที่มีจำนวนสาขา 12,000 แห่งและ แคช แคร์ริ่ง อย่าง แม็คโคร   ที่มีจำนวนสาขา 130 แห่ง

แม้ว่า เทสโก้ จะเป็น ไอเปอร์มาร์เก็ต แต่หนีไม่พ้นว่าทำให้กลุ่มซีพีจะมีขนาดธุรกิจที่ใหญ่ขึ้นในกลุ่มค้าปลีก  ด้วยจำนวนสาขาเฉพาะในไทยที่มีกว่า 1,900 สาขา ใน 73 จังหวัด เข้าถึงกลุ่มลูกค้า 15 ล้านคนต่อสัปดาห์ และยังมีสินทรัพย์ประเภทที่ดินทั่วประเทศอีกจำนวนมาก  ส่วนเทสโก้ มาเลเซีย สามารผนึกกำลังกับ แม็คโค ขยายไปยัง4 ประเทศในอาเซียนและเอเชีย คือ กัมพูชา, อินเดีย, จีน และเมียนมาร์

ดังนั้นจึงเป็นที่มาทำให้การซื้อกิจการยังไม่เสร็จสมบูรณ์จนกว่าคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้า (กขค.) จะพิจารณาได้ข้อสรุปชัดเจนและอนุมัติให้ควบรวมกิจการได้แบบมีเงื่อนไข  ซึ่งเบื้องต้นมีการคาดการณ์ว่าน่าออกมาในรูปแบบการไม่นำเครือข่ายค้าปลีกที่ซีพีมีอยู่ทำให้เกิดการกดดันราคา

ตามที่บริษัทหลักทรัพย์ ( บล.) เคทีบี (ประเทศไทย) วิเคราะห์ถึงความเป็นไปด้ในการเข้าซื้อแบบมีเงื่อนไขคือไม่มีการบังคับให้ซัพพลายเออร์หรือคู่ค้าต้องส่งสินค้าหรือบริการให้กับธุรกิจค้าปลีกปัจจุบันของเครือซีพี (เซเว่น-อีเลฟเว่น และแม็คโคร) เพียงรายเดียว

รวมทั้งต้องไม่มีเงื่อนไขการเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากซัพพลายเออร์หรือคู่ค้า เช่น ค่าธรรมเนียมสินค้าแรกเข้า (Entrance Fee) ค่าธรรมเนียมการวางสินค้า รวมทั้งต้องไม่เพิ่มค่าส่วนแบ่งจากยอดขายหรือกำไรขั้นต้น หรือ Gross Profit (GP) และต้องเปิดให้ซัพพลายเออร์หรือคู่ค้าเลือกได้ว่าจะส่งสินค้าให้กับธุรกิจค้าปลีกปัจจุบันของเครือซีพีหรือส่งให้กับเทสโก้

หากมองจากเงื่อนไขดังกล่าวทำให้ลดอำนาจผูกขาดได้พอสมควร  แต่ในทางปฎิบัติอาจจะเป็นอีกเรื่องหนึ่งเพราเงื่อนไขไม่ได้ระบุว่าทำไม่ได้เลย หากกรณีซัพพรายยอมโดยสมัครใจเพื่อต้องการให้สินค้าเข้าไปอยู่ในพื้นที่ค้าปลีกที่กระจายทั้งอาเซียนของกลุ่มซีพี

อย่างไรก็ตามกลับมีประโยชน์ต่อกลุ่มซีพีเพราะทำให้ปลดล็อกข้อกังวลหลาย อาทิ การระดมทุนการซื้อกิจการที่บริษัทยืนยันไม่มีการเพิ่มทุน ด้วยการใช้เงินกู้และนำกำไรที่เกิดจากเทสโก้ โลตัส มาจ่ายเป็นดอกเบี้ยแทน

ด้านเพราะยิ่งดำเนินควบรวมกิจการได้เร็วจะสอดคล้องกับการขายธุรกิจ เซเว่น อีเลฟเว่นไปยังประทศ สปป.ลาวและกัมพูชา ตามสัญญาเฟรนไชส์ ให้สิทธิ์ระยะเวลา 30 ปี และสามารถต่ออายุสัญญาได้อีกสองครั้งครั้งละ 20 ปี

ปัจจุบันแม้ว่า CPALL ได้รับผลกระทบจากภาวะล็อกดาวน์ในช่วงที่ผ่านมากระทบครึ่งปีแรก 2563  รายได้จากสาขาเดิม (SSSG)ติดลบถึง 20 จากจำนวนลูกค้าที่ใช้บริการเฉลี่ยต่อวันลดลงอยู่ที่  841 คนต่อสาขา 

จากการประเมินของโบรกเกอร์ยังมองว่าไตรมาส 3 ยังได้รับผลกระทบต่อเนื่อง และทำให้กำไรลดลง และ SSSG ติดลบเป็นเลขสองหลัก   แต่กรณีการจบดีล เทสโก้ โลตัส เป็นปัจจัยบวกจากการเติบโตของธุรกิจค้าปลีกและ cost saving & synergy ทำให้กำไรเพิ่มขึ้นได้ ขณะที่บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) จะได้ประโยชน์จากการวางสินค้าอาหารผ่านเครือข่ายของเทสโก้ ไปด้วย