อัพศักยภาพชุมชน เพิ่มมูลค่าผ้าไทยเสริมการท่องเที่ยว

อัพศักยภาพชุมชน เพิ่มมูลค่าผ้าไทยเสริมการท่องเที่ยว

กรมการพัฒนาชุมชน เดินหน้าอัพศักยภาพชุมชนท้องถิ่นผลิตภัณฑ์ผ้าไทย หวังเพิ่มองค์ความรู้ การออกแบบ การท่องเที่ยว สร้างมูลค่า โดนใจทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ คาดหากคนไทยนุ่งผ้าไทยวันละ2 วัน เม็ดเงินมูลค่า 105,000 ล้านบาท

"ชุมชนท้องถิ่น" ถือเป็นรากฐานที่สำคัญของประเทศในการขับเคลื่อนทั้งด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว วิถีชีวิตความเป็นอยู่ เพราะหากคนในชุมชนมีศักยภาพ มีคุณภาพชีวิตที่ดีนั่นย่อมหมายถึงคุณภาพของประเทศเช่นเดียวกัน

การอบรมเชิงปฎิบัติการ Bangkok Design Camp โครงการพัฒนาศักยภาพชุมชนท้องถิ่น OTOP นวัตวิถีกิจกรรมยกระดับและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่ายให้นักท่องเที่ยว (ผลิตภัณฑ์คลัสเตอร์ผ้าและเครื่องแต่งกาย) จัดโดยสำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย เพื่อเป็นการสานต่อแผนโครงการหมู่บ้าน OTOP รวมถึงส่งเสริมการท่องเที่ยวและโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี

160379233248

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า ทุกคนที่มาที่นี้เป็นความหวังของประเทศชาติ ซึ่งการรวมกลุ่มกันในการพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์ด้านผ้า  และการท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี  ถือเป็นโอกาสในการพัฒนาสิ่งที่ดีอยู่แล้วให้ดีมากยิ่งขึ้น และสามารถสร้างความประทับใจให้แก่ผู้ที่พบเห็น โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ ขณะเดียวกันการใช้ชีวิตของผู้คนจะย้ำอยู่กับที่ไม่ได้ ดังนั้น พี่ๆน้องๆ ชุมชนทุกคนทุกกลุ่มที่อยู่ที่นี้จะย่ำอยู่กับที่ไม่ได้ แม้หลายคนจะผลิตภัณฑ์ผ้าได้เป็นอย่างดี แต่หากไม่ได้พัฒนาต่อเนื่องจะถูกแซงหน้า  เพราะการอยู่กับที่เหมือนถอยหลัง

"กรมการพัฒนาชุมชนได้รับมอบหมายจากรัฐบาลเพื่อพัฒนาพี่น้องชุมชน เป็นการยกระดับ และเพิ่มเติมศักยภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนท้องถิ่นในทุกกลุ่ม ทุกภาคของประเทศไทย การอบรมโครงการครั้งนี้ เป็นอีกหนึ่งโครงการที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ทุกคน ทำให้เห็นว่าชุมชนท้องถิ่นไม่ได้ย้ำอยู่กับที่ พวกเขาพร้อมที่จะสร้างความมั่นคง มั่นคั่งอย่างยั่งยืนตามนโยบายของพล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมตรีฉะนั้น การพัฒนาชุมชนตามที่กรมการพัฒนาชุมชนได้รับมอบหมาย เป็นเสมือนองคาพยพของรัฐบาลในการนำโยบายมาสู่พี่น้องชุมชนอย่างแท้จริง"นายสุทธิพงษ์ กล่าว

การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าไทยให้เข้มแข็ง เป็นที่รู้จักและนิยมทั้งชาวไทยและต่างชาตินั้น  รัฐบาลให้ความสำคัญในเรื่องนี้อย่างมาก ทั้งการรณรงค์ให้ทุกกระทรวง ทุกกรมสวมใส่ผ้าไทย ส่งเสริมสนับสนุนพี่น้องชุมชนท้องถิ่นทั้งที่มีการจัดทำผลิตภัณฑ์ผ้าไทยที่มีคุณภาพให้มีคุณภาพยิ่งขึ้นและเพิ่มศักยภาพของชุมชนที่กำลังดำเนินการปรับปรุงให้ผ้าไทยมีดีไซต์ มีอัตลักษณ์ที่แตกต่างกันตามท้องถิ่น

160379237792

นายสุทธิพงษ์ กล่าวต่อว่า การจะพัฒนาผ้าไทย หรือชุมชนท้องถิ่นนั้น กรมการพัฒนาชุมชนคงไม่สามารถทำเพียงลำพังได้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนและองค์ความรู้จากคณาจารย์ ซึ่งในส่วนของผลิตภัณฑ์ผ้า ได้มีความร่วมมือกับทางคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ซึ่งมีดร.เรืองลดา ปุณยลิขิต อาจารย์ประจำสาขาวิชาศิลปะการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากรที่มาช่วยให้ความรู้ ออกแบบเพิ่มมูลค่าของผ้าไทยในแต่ละชุมชนท้องถิ่น และการเผยแพร่ทำให้ผ้าไทยได้รับรางวัลในระดับนานาชาติ สร้างชื่อเสียงและให้เป็นที่รู้จักแก่คนต่างชาติมากขึ้น

นอกจากความร่วมมือจากพี่น้องชุมชนในการพัฒนาศักยภาพของตนเองแล้ว อยากให้มีการบูรณาการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในหลวงรัชกาลที่ 9 มาใช้ในวิถีชีวิต สำรวจบริเวณบ้านเรือน ที่ทำงานของตนเองสามารถปลูกผัก เลี้ยงเป็ดเลี้ยง รวมถึงอยากให้มีการรวมกลุ่มมาขอทุนในการพัฒนาศักยภาพของตนเอง และอยากให้มีศูนย์จำหน่ายสินค้าOTOP แต่ละพื้นที่ อีกทั้งอยากให้เข้าร่วมอบรมเพิ่มศักยภาพในการเรียนตลาดออนไลน์ ซึ่งทั้งหมดนี้ทางกรมการพัฒนาชุมชนมีบริการให้แก่พี่น้องชาวชุมชนทุกกลุ่ม

160379240084

ด้าน นายสุรศักดิ์  อักษรกุล ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นและวิสาหกิจชุมชน กรมการพัฒนาชุมชนกระทรวงมหาดไทย  กล่าวว่า การดำเนินโครงการในครั้งนี้ เป็นกิจกรรมยกระดับและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่ายให้นักท่องเที่ยว โดยเป็นการเพิ่มศักยภาพ ผู้ประกอบการชุมชน ให้มีความพร้อมในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ตามอัตลักษณ์ เฉพาะของหมู่บ้าน ทั้งในด้านผลิตภัณฑ์ OTOP สินค้าที่ระลึก อาหารพื้นถิ่น สถานที่ท่องเที่ยว วัฒนธรรมประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่น และการจัดทําโปรแกรมการท่องเที่ยวที่เหมาะสมกับ ลูกค้าเฉพาะกลุ่ม รวมทั้งช่วยยกระดับผลิตภัณฑ์เพื่อให้มีความพร้อมในการรองรับนักท่องเที่ยว สามารถสร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ให้ประชาชนในชุมชน

การดำเนินการในโครงการ แบ่งออกเป็น 3 กิจกรรม ได้แก่ ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพชุมชนท่องเที่ยวOTOP นวัตวิถี กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ผลิต ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ประเภทผ้าและเครื่องแต่งกาย ในชุมชนท่องเที่ยวOTOP นวัตวิถี จำนวน 63 จังหวัด รวม 277 ราย/ผลิตภัณฑ์ กิจกรรมพัฒนายกระดับผลิตภัณฑ์โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาด การออกแบบและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อให้สามารถ ซื้อกลับได้ง่าย สอดคล้องกับระบบการขายออนไลน์และระบบขนส่งในปัจจุบัน สามารถแข่งขัน ในตลาดทาให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้นต่อไป และจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ในรูปแบบสื่อออนไลน์ ไม่น้อยกว่า 3 ช่องทาง ไม่น้อยกว่า 2 ภาษา และสอนให้ชุมชนนำผลิตภัณฑ์เข้าสู่ช่องทางออนไลน์ฟรีต่าง เช่น Platform Instagram You Tube และ Facebook เป็นต้น

160379243525

อย่างไรก็ตาม หากมีคนไทยแต่งกายด้วยผ้าไทยเป็นประจาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 วัน จำนวน 35 ล้านคน จะทำให้มีการซื้อผ้าและใช้ผ้าคนละ 10 เมตร ราคาเมตรละประมาณ 300 บาท เกิดความต้องการ ผ้าไทย จ้านวน 350 ล้านเมตรคิดเป็นมูลค่า 105,000 ล้านบาท ซึ่งเม็ดเงินน้ี จะกลับคืนสู่ชุมชนก่อให้เกิดการสร้างงาน สร้างรายได้ให้พี่น้องประชาชนช่วยให้หลุด พ้นจากความยากจน มีคุณภาพชีวิตท่ีดีข้ึน