4 ทศวรรษ จาก‘ม็อบ14ตุลา16’ ถึง‘ม็อบ63’ จุดร่วมที่หายไป

4 ทศวรรษ จาก‘ม็อบ14ตุลา16’ ถึง‘ม็อบ63’ จุดร่วมที่หายไป

หา"จุดร่วมที่หายไป" ถือเป็นโจทย์ใหญ่ที่ม็อบ14ต.ค.2563จะต้องนำมาพิจารณา เพราะไม่เช่นนั้นอาจต้องเผชิญสภาวะแนวร่วมถดถอยเช่นนี้ไปเรื่อยๆ

แม้จะล่วงเลยกว่า 4 ทศวรรษ นับจากเเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519  เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า สัญลักษณ์เดือนตุลายังคงถูกหยิบยกมาเป็นประเด็นและเงื่อนไขในการปลุกระดมมวลชนและการรวมกลุ่มทางการเมือง แทบทุกยุคทุกสมัย

ไม่ต่างไปจาก กลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม และ กลุ่มเยาวชนปลดแอก รวมถึงกลุ่มแนวร่วมที่ถือเอาเหตุการณ์ วันมหาวิปโยค ยึดพื้นที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเป็นจุดนัดหมายชุมนุมใหญ่ในวันที่ 14 ..นี้

ท่าทีล่าสุดจาก อานนท์ นำภา แกนนำกลุ่มแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม แม้จะยังคงใช้ยุทธวิธีประโคมโหมโรง ปลุกแนวร่วมด้วยบิ๊กเซอร์ไพรส์ ซึ่งเขามั่นใจว่า การ ขยับเพดาน การต่อสู้แบบม้วนเดียวจบในครั้งนี้ จะถึงขั้นทำให้รัฐบาลรวมถึงบิ๊กตู่พล..ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม "ต้องลาออก"

คงต้องจับตาว่า "บิ๊กเซอร์ไพรส์" ที่เขาบอกว่า เบิ้ม!กว่าเดิมจะเป็นอะไร

ทว่า ม็อบครั้งนี้ซึ่งต่อเนื่องจากการชุมนุมเมื่อวันที่ 19 ..ที่ถูกมองว่า เป็นจังหวะ ก้าวพลาด แทนที่จะก้าวย่าง เวลานี้ยังคงเผชิญสภาวะลำบากทั้งการไร้ผู้นำซึ่งเป็นที่ยอมรับและเป็นตัวหลอมรวมมวลชนเข้าด้วยกัน 

ยิ่งนานวันยิ่งปรากฎภาพการชุมนุมที่มีแต่กลุ่มคนเสื้อแดง และม็อบนักศึกษาในธรรมศาสตร์ แต่ไร้เครือข่ายที่เคยประกาศตัวก่อนหน้านี้ ทั้งเครือข่ายจุฬาฯ และเครือข่ายรามคำแหง รวมถึงเครือข่ายอื่นๆ

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ม็อบเมื่อวันที่ 19 ..ที่ผ่านมา ถูกมองว่าไม่ต่างอะไรกับม็อบจัดตั้ง

แม้แต่ตัว "อานนท์" เองก่อนหน้านี้ยังถึงขั้นเอ่ยปากว่า

"การชุมนุมวันที่ 14 ตุลา ถ้ามี อาจไม่มีศิลปินที่กล้าขึ้นเวทีมากนัก เวทีเราก็อาจจะไม่ใหญ่มากนัก และการจัดการก็อาจทุลักทุเลพอสมควร อาจจะมีแค่คนปราศรัยเป็นหลัก ความบรรเทิงอาจลดลงถึงอาจไม่มีเลย

แล้วเราจะยังจะมาร่วมกันเปลี่ยนแปลงสังคมหรือไม่ หรือเราจะยอมแพ้ แล้วปล่อยให้บ้านเมืองเป็นไปตามชะตากรรมอย่างที่เขาต้องการ"

160200593246

การพูดเช่นนี้แง่หนึ่งอาจมองได้ว่า เป็นเทคนิคในการปลุกระดมมมวลชนให้ออกมาร่วมต่อสู้อย่างล้นหลาม

แต่อีกแง่หนึ่งก็อาจมองว่า การพูดเช่นนี้หมือนเป็นการส่งสัญญาณและยอมรับกลายๆแล้วว่า ขณะนี้แนวร่วมที่มีอยู่ลดน้อยถดถอยลง

อีกภาพที่ปรากฎชัดคือ การไร้ประเด็นร่วมในการต่อสู้ และการเล่นใหญ่ด้วยข้อเสนอทะลุเพดานตั้งแต่เริ่มต้น ส่วนนี้เองที่อาจทำให้แนวร่วมเริ่มตีตัวออกห่าง โดยเฉพาะพรรคเพื่อไทย ที่นับตั้งแต่การเข้าเทคโอเวอร์ ของ หญิงอ้อคุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ ภริยา นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ก็เริ่มมีมีสัญญาณแยกตัวออกจากม็อบ เพื่อลบครหาในเรื่อง ท่อน้ำเลี้ยง” จากคนแดนไกล รวมทั้งกันตัวออกจากข้อเสนอที่สุดจัด “ทะลุเพดานและพุ่งเป้าไปที่แก้ไขรัฐธรรมนูญเปิดทางรื้อระบบเลือกตั้ง ซึ่งถือเป็นผลไม้พิษที่ทำให้พรรคไร้ ..บัญชีรายชื่อ เป็นประเด็นสำคัญ

ฟากฝั่งรัฐบาลที่มีเสียง 250 ..อยู่ในมือ เหมือนจะรู้เกมตรงนี้ดี เห็นชัดจากกระแสข่าวที่  “บิ๊กตู่ตั้งโต๊ะถกบิ๊กรัฐบาล หัวหน้าพรรค และแกนนำพรรคร่วมรัฐบาล ปักธงโหวตผ่านเฉพาะญัตติรัฐบาลและฝ่ายค้าน (เพื่อไทย) ในประเด็นการแก้ไขมาตรา 256 เปิดทางตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (...)

แต่ไม่เอาด้วยกับการ “ปิดสวิตช์ ..” ซึ่งเป็นฐานค้ำบัลลังก์รัฐบาล ไม่แตะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญหมวด 1 และหมวด 2 ดังที่พรรคเพื่อไทยเคยหักดิบก้าวไกลมาแล้วก่อนหน้านี้

ไม่แน่ว่าประเด็นนี้อาจกลายเป็นอีกหนึ่ง "ดีลพิเศษ" ตามที่มีการพูดถึงอยู่ในขณะนี้ก็ได้

ขณะที่พรรคก้าวไกล และ คณะก้าวหน้า แม้เวลานี้จะประกาศตัวเป็นแนวร่วมม็อบนักศึกษา แต่ที่ผ่านมาก็ไม่ได้แสดงบทบาทในฐานะแกนนำ หากแต่เป็นเพียงแนวร่วมอยู่หลังฉากเท่านั้น โดยเฉพาะประเด็นแก้ไขรัฐธรรมนูญ  ซึ่งพรรคก้าวไกลรู้ดีอยู่แล้วว่าการตั้งส...เพื่อแก้รัฐธรรมนูญ ย่อมส่งผลไปถึงการรื้อระบบเลือกตั้งซึ่งพรรคได้ประโยชน์ชนิดที่เรียกว่า "ส้มหล่น"  ที่นอกเหนือจากส..เขตแล้วยังกวาดส..บัญชีรายชื่อมากที่สุดในสภา

จึงไม่แปลกที่ในช่วงที่ผ่านมาก้าวไกลจะอิงกระแสม็อบชูประเด็น "ปิดสวิชต์ส.." เป็นประเด็นสำคัญ

160200590444

การชุมนุมที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 14 ..นี้ จริงอยู่ที่การหยิบเอาเหตุการณ์ วันมหาวิปโยค มาเป็นตัวปลุกกระแสม็อบ จะมีผลในแง่การแสดงสัญลักษณ์ทางการเมือง

แต่ต้องไม่ลืมว่าเหตุการณ์ในครั้งนั้มีจุดร่วมที่ชัดเจนคือ การตัดอำนาจระบอบทหาร การแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตย จนเป็ที่มาของ "13ขบถรัฐธรรมนูญ"

ผลจากเหตุการณ์ครั้งนั้น นำมาสู่การลาออกของจอมพลถนอม กิตติขจร มีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประชาชนต่าง จนถูกมองว่าเป็นยุคที่ประชาธิปไตยเบ่งบาน และเป็นครั้งแรกที่ประสบความสำเร็จในยุคศตวรรษที่ 20

ดังนั้นการชุมนุมที่กำลังจะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่วันข้างหน้าจึงถือเป็นโจทย์ใหญ่ที่ม็อบจะต้องพิจรณาเพื่อถอดบทเรียนและหา"จุดร่วมที่หายไป" ให้ได้ มิเช่นนั้นอาจต้องเผชิญสภาวะแนวร่วมถดถอยเช่นนี้ไปเรื่อยๆ