เปิดที่มา 'สารสาสน์วิเทศราชพฤกษ์'

เปิดที่มา 'สารสาสน์วิเทศราชพฤกษ์'

เปิดประวัติ "โรงเรียนสารสาสน์วิเทศราชพฤกษ์" โรงเรียนดัง หนึ่งในเครือโรงเรียนสารสาสน์ กรณีครูทำร้ายเด็ก

เรื่องราวที่เกิดขึ้นใน "โรงเรียนสารสาสน์วิเทศราชพฤกษ์"ไม่ได้เพียงสะท้อนให้เห็นถึงการบริหารงาน ดูแลเด็กนักเรียนของระบบการศึกษาไทยเท่านั้น แต่ยังแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบของทั้งผู้บริหารโรงเรียน ผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการร่วมด้วย เบื้องต้นแม้จะมีแนวทางเยียวยา ตั้งโต๊ะชี้แจงและออกมาตรการแก้ไขปัญหามากมาย ทว่าคลิปครูทำร้ายเด็กก็ออกมาให้เห็นมากขึ้น และผู้ปกครองไม่ได้พึงพอใจถึงการแก้ไข เยียวยาดังกล่าว

แต่ก่อนที่จะไปติดตามรับฟังการแก้ไขเยียวยาจากโรงเรียนและผู้บริหารเพิ่มเติม...ขอย้อนกลับไปจุดเริ่มต้นของโรงเรียนแห่งนี้ก่อน

โรงเรียนในเครือสารสาสน์ ผู้ก่อตั้งและเจ้าของโรงเรียนสารสาสน์ คือ "พิบูลย์ ยงค์กมล" และ "เพ็ญศรียงค์กมล"

โดย "โรงเรียนสารสาสน์วิเทศราชพฤกษ์"ขณะนี้ไม่มีผู้อำนวยการโรงเรียน ซึ่ง "โรงเรียนจัดเป็นโรงเรียนในเครือสารสาสน์ในเขตการปกครองที่ 3 ลำดับที่ 24 โดยปัจจุบันโรงเรียนในเครือสารสาสน์มีประมาณ45แห่ง ซึ่งโรงเรียนมีภารกิจหลักในการจัดการเรียนการสอน ในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพ บนพื้นฐานปรัชญาการศึกษาที่ว่า คุณธรรมนำวิชา พัฒนาตน โดยมีเอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ ของโรงเรียนโดดเด่น เน้นการเขียนลายมือสวยงาม  (Writing With Beautiful  Handwriting)

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :  

โรงเรียนเปิดการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับเตรียมอนุบาล ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 6 ประกอบด้วย  หลักสูตรสองภาษา(Bilingual Programme) และหลักสูตรสามัญ (Regular Programme) ตลอดทั้งเปิดห้องเรียนที่เน้นการสอนเป็นภาษาอังกฤษมากกว่าร้อยละ 90 เรียกว่าห้องเรียน Extra Curriculum ซึ้งเป็นการจัดหลักสูตรการเรียนการสอนเทียบเคียงกับความเป็นสากล มุ่งเน้นความรู้ในด้านวิทยาการ สังคม เศรษฐกิจฐานความรู้ (Learning Society) ในโลกแห่งอนาคตปัจจุบันโรงเรียนมีนักเรียน จำนวน 4,118 คน และครู จำนวน 305 คน

ภาษาอังกฤษ เป็นภาษากลางที่ใช้สื่อสารกันทั่วโลก เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารและเป็นทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 (21 st Century Skills) ที่จำเป็นอย่างยิ่ง อันจะทำให้ได้มาซึ่งองค์ความรู้ใหม่ๆ (Body of  Knowledge) อย่างไม่สิ้นสุด ดังนั้นภาษาอังกฤษจึงมีความสำคัญอย่างมากในการจัดการศึกษาในปัจจุบัน ประกอบกับประเทศไทยเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่โรงเรียนจะต้องมีการจัดหลักสูตรที่มุ่งเน้นส่งเสริมให้นักเรียนเมื่อสำเร็จการศึกษาไปแล้วสามารถสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้ เพื่อการแข่งขันทางการศึกษาในเวทีสากล

โรงเรียนสารสาสน์วิเทศราชพฤกษ์ ในฐานะที่เป็นโรงเรียนเอกชนชั้นนำของประเทศและเป็นโรงเรียนเอกชนในระดับใหญ่ในจังหวัดนนทบุรี และเป็นโรงเรียนที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนทางการศึกษาในระดับประชาคมอาเซียนให้เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพเป้าหมายที่ชัดเจนของโรงเรียนนับต่อไปจากนี้ คือการเพิ่มขีดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของนักเรียนให้เทียบเคียงระดับนานาชาติ (International School)

โรงเรียนสารสาสน์วิเทศราชพฤกษ์ก่อตั้งเมื่อปีพุทธศักราช 2551 ภายใต้การบริหารงานของท่าน ดร. นันทิภา  ยงค์กมล กรรมการที่ปรึกษาโรงเรียนในเครือสารสาสน์เขตการปกครองที่ 3 โดยเปิดการสอนในหลักสูตรสามัญ (Mini-Bilingual Programme) และหลักสูตรสองภาษา (Bilingual Programme) บนพื้นที่ 150 ไร่เศษ มีอาคารเรียนทั้งหมด 3 หลัง แบ่งออกเป็นอาคารเรียนอนุบาลประถมศึกษา และมัธยมศึกษาที่ชัดเจนและอาคารประกอบการที่มากมาย เพื่อให้เหมาะกับการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่จะตอบสนองต่อความต้องการความสามารถ ความถนัด และความสนใจของนักเรียนเป็นสำคัญ

ขณะที่การจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรที่หลากหลายและยืดหยุ่นกับนักเรียนเป็นรายบุคคล โรงเรียนมีการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการเรียนรู้ (Learning Process) เป็นหลัก มุ่งให้นักเรียนได้เรียนได้เรียนรู้จาก      การลงมือทำ (Learning by Doing) การทำงานเป็นทีม (Teamwork) และสามารถการนำความรู้ไปใช้ได้จริง

ในปัจจุบันโรงเรียนได้พัฒนาหลักสูตรให้สนองตอบต่อการเป็นประเทศสมาชิกประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ซึ้งโรงเรียนได้พัฒนาการเรียนการสอนเป็นภาษอังกฤษมากกว่าร้อยละ 90 เป็น แผนกการจัดการนานาชาติ (International Education Programme : IEP) ปัจจุบัน เปิดรับนักเรียนตั้งแต่ระดับอนุบาลเป็นต้นไป และจะเปิดการสอนถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในอนาคตการสอนในรูปแบบนานาชาติ (IEP) นี้ นักเรียนจะได้ครูประจำชั้นเป็นครูต่างชาติที่เป็นเจ้าของภาษาโดยตรง (Native Speaker) โดยมีการจัดการเรียนการสอนโดยครุต่างชาติในทุกรายวิชา ยกเว้น วิชาภาษาไทย หน้าที่พลเมือง และประวัติศาสตร์ ที่ยังคงใช้ครูผู้สอนเป็นคนไทยซึ่งเป้นครูผู้สนับสนุน(Fasilotator) ด้านการเรียนการสอนและมีบทบาทหน้าที่ (Duty) ความรับผิดชอบ (Responsibility) ในด้านการสอนทั้งด้านความรู้วิชาการและอบรมความดีให้กับนักเรียนทุกคนให้โดดเด่นและดียิ่งขึ้น

มีการเปิดรับนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้น Kindergarten 1- Year 8  โดยแผนการเรียนการสอนนานาชาติ (International Education Programme -IEP) จัดการเรียนการสอน

ที่มุ่งเน้นการพัฒนาความเป็นเลิศทางวิชาการทักษะการใช้ภาษา โดยจัดการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมการปฏิบัติจริง(Learning by doing) นักเรียนจะได้เรียนเนื้อหาวิชาการ ตามหลักสูตรแกนกลางของกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ กับครูเจ้าของภาษา (Native speaker) ยกเว้นในรายวิชาภาษาไทยและประวัติศาสตร์ และเสริมทักษะภาษาจีน

ระดับชั้น Kindergarten 1-3  ส่งเสริมพัฒนาการ 4 ด้านควบคู่กับการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษกับครูเจ้าของภาษา ระดับชั้น Y.1-Y.8 เน้นพัฒนาศักยภาพการใช้ภาษา (listening, Speaking, Reading&Writing)  การเรียนรู้เนื้อหาวิชาการผ่านกิจกรรมการปฏิบัติจริงและเสริมทักษะภาษาจีน โดยครูจีนเจ้าของภาษา

ด้วยการเรียนในหลากหลายรูปแบบทำให้ค่าธรรมเนียมของแต่ละโปรแกรมนั้นแตกต่างกันออกไป ซึ่งในส่วนของโรงเรียนสารสาสน์วิเทศราชพฤกษ์นั้น ถ้าอิงข้อมูลค่าธรรมเนียมในเครือโรงเรียนสารสาสน์ จะประมาณดังนี้ ค่าธรรมเนียมการศึกษา ประกอบด้วย ค่าธรรมเนียมการศึกษา ค่าธรรมเนียมอื่นๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพ ทางการศึกษาและค่าอาหาร การชำระค่าธรรมเนียมการศึกษา โดยในส่วนของระดับอนุบาลนั้น อนุบาล 1 (ปกติ) ภาคเรียนแรก22,500 บาท ภาคเรียนที่2  18,500  แต่ถ้าเป็นโปรแกรม  IEP  ซึ่งมีตั้งแต่อนุบาล 2 นั้น ภาคเรียนแรก    61,000

บาท ภาคเรียนที่2   53,000 บาท โรงเรียนในเครือสารสาสน์เติบโตและพัฒนา ขยายสาขาได้มากถึง 45 แห่ง มีทั้งแผนกสามัญ แผนกสองภาษาแผนกสองภาษาอาเซียน แผนกการจัดการเรียนการสอนแบบนานาชาติ อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นปฐมวัยถึงอุดมศึกษา ในปี ..2562 มีนักเรียนในเครือสารสาสน์ทั้งหมด 91,500 คน

สำหรับแนวทางในการบริหารงานนั้น "พิบูลย์ ยงค์กมล" ประธานอำนวยการโรงเรียนในเครือสารสาสน์ และเป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนสารสาสน์  ได้ยืนยันอย่างชัดเจน ว่าจุดเด่นและอัตลักษณ์ของสารสาสน์ หลักๆ คือ F2Q ได้แก่ F คือFraternity คือ ความเป็นพี่น้อง เอื้ออาทรกัน มีความรักต่อกันส่วน Q ตัวแรกคือ Quality หมายถึงคุณภาพ และ Q ตัวที่สอง คือ Quantity ได้แก่ปริมาณ