สมาคมส่งออกข้าวเตรียมหั่นเป้าส่งออกข้าวปี 63 ข้าวเหลือ 6 ล้านตัน

สมาคมส่งออกข้าวเตรียมหั่นเป้าส่งออกข้าวปี 63 ข้าวเหลือ 6 ล้านตัน

สมาคมส่งออกข้าวไทย รับ การส่งออกข้าวไทยเข้าสู่ภาวะถดถอย ข้าวไทยแพง ขณะที่ข้าวคู่แข่งราคาถูกทำให้ถูกแย่งส่วนแบ่งตลาด  จี้รัฐเร่งพัฒนาพันธุ์ข้าวนุ่มที่เป็นที่ต้องการของตลาด

นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์  นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย  เปิดเผยว่า การส่งออกข้าวไทยในช่วงครึ่งปีหลังน่าจะส่งออกได้ไม่ตามเป้าที่วางไว้ในแต่ละเดือน  เนื่องจากการแข่งขันค่อนข้างสูง และข้าวไทยไม่สามารถต่อกรกับคู่แข่งได้  เช่น เวียดนาม พม่า อินเดียโดยเฉพาะเวียดนามที่มีการพัฒนาด้านการผลิตและพันธุ์ข้าวอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา  20 ปี ขณะที่ไทยแม้มีการพัฒนาพันธุ์ข้าวแต่ก็ยังไม่ได้นำมาทดลองใช้ ประกอบกับพันธุ์ข้าวของไทยก็ยังไม่ตรงยังไม่มีความหลากหลายและตรงกับความต้องการของตลาด นอกจากนี้ราคาข้าวของประเทศคู่แข่งยังราคาถูกกว่าของไทย โดยราคาข้าวขาว 5% ของไทยราคา 510 ดอลลาร์ต่อตัน  ขณะที่เวียดนาม ราคา 448-452 ดอลลาร์ต่อตัน อินเดีย 378-382 ดอลลาร์ต่อตันและปากีสถานน 428-432 ดอลล่าต่อตัน

“ในสถานการณ์ที่เศรษฐกิจทั่วโลกตกต่ำกำลังการซื้อก็น้อยลง ขณะนี้ทุกประเทศก็ซื้อสินค้าราคาถูก โอกาสของไทยในตลาดโลกก็ยิ่งน้อยลง เมื่อประเมินสถานการณ์แล้ว การส่งออกข้าวไทยในปีนี้คงไม่ได้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ที่ 7.5 ล้านตัน เพราะครึ่งปีหลังการแข่งขันในตลาดโลกก็น่าจะรุนแรงมากขึ้น สมาคมฯจะมีการปรับเป้าการส่งออกข้าวใหม่เหลือ  6-6.5 ล้านตัน เพราะครึ่งปีแรกยอดการส่งออกก็หายไปแล้ว 1 ล้านตัน “นายชูเกียรติ กล่าว

  159497423321

นายชูเกียรติ  กล่าวว่า  ต้องยอมรับว่า การส่งออกข้าวไทยเริ่มถดถอยลง เพราะมีต้นทุนการผลิตสูง ไม่สามารถต่อสู่กับคู่แข่งได้  เช่น เวียดนาม อินเดีย พม่า  โดยเฉพาะเวียดนามที่มีการพัฒนาด้านการผลิตและพันธุ์ข้าวอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา  20 ปี ขณะที่ไทยแม้มีการพัฒนาพันธุ์ข้าวแต่ก็ยังไม่ได้นำมาทดลองใช้ ประกอบกับพันธุ์ข้าวของไทยก็ยังไม่ตรงยังไม่มีความหลากหลายและตรงกับความต้องการของตลาด ที่ขณะนี้มีความต้องการพันธุ์ข้าวนุ่ม ซึ่งเวียดนามสามารถพัฒนาพันธุ์ข้าวนุ่มและส่งออกแย่งส่วนแบ่งตลาดข้าวไปแล้ว  ดังนั้นเรื่องของการพัฒนาพันธุ์ข้าวจึงเป็นเรื่องสำคัญ รวมถึงการพัฒนากระบวนการผลิตที่ต้องให้ผลผลิตต่อไร่สูง จึงอยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งพัฒนาในเรื่องนี้ให้ได้โดยเร็ว

สำหรับตลาดส่งออกข้าวไทยเชื่อว่ายังคงส่งออกไปได้ดี เช่น ตลาดสหรัฐที่เป็นตลาดข้าวหอมมะลิไทย แม้จะได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ส่วนตลาดญี่ปุ่น ก็คงยังซื้อข้าวจากประเทศไทยเหมือนเดิมแม้ว่าราคาข้าวไทยจะสูงกว่าประเทศอื่น โดยเราส่งออกไปประมาณ 3 แสนตัน ขณะที่ตลาดฮ่องกง สิงคโปร์ จีน ฟิลิปปินส์ ที่เคยเป็นผู้นำเข้ารายใหญ่ คาดว่าโอกาสน่าจะน้อยลง เช่น ฮ่องกง ส่วนแบ่งการตลาดของข้าวไทยก็เริ่มน้อยลงเมื่อเวียดนามเข้ามาเจาะตลาดเพิ่มขึ้น ทำให้ปีนี้คาดว่า อันดับการส่งออกข้าวของไทยจะหล่นมาอยู่ในอันดับที่ 3 ของโลก ซึ่งปีนี้เวียดนามตั้งเป้าการส่งออกที่ 6.7 ล้านตันแต่วันนี้ส่งออกเกินเป้าไปแล้ว

      159497425587             

นายชูเกียรติ กล่าวว่า ปัญหาส่งออกของข้าวไทยก็ยังมีปัญหาเกี่ยวกับค่าเงินบาทที่แข็งค่า เมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่งอย่างอินเดีย เวียดนาม เพราะการที่ค่าเงินบาทแข็งทำให้ราคาข้าวไทยแพงในตลาดโลก ซึ่งมาตราการส่งเสริมอื่นที่จะช่วยดันการส่งออกข้าวไทยคงยากหากค่าเงินบาทของไทยยังคงแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับเศรษฐกิจโลกที่อยู่ในช่วงขาลง ทุกประเทศก็ประคับประครองตัวเองให้อยู่รอดด้วยการซื้อของถูก เมื่อไรที่เศรษฐกิจฟื้นก็ซื้อของแพงได้

ทั้งนี้การส่งออกข้าวในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2563 (ม.ค.—พ.ค.) มีปริมาณ 2,574,374 ตัน มูลค่า 1,732.2 ล้านดอลลาร โดยปริมาณส่งออกลดลง 31.9% และมูลค่าลดลง 13.2% เมื่อเทียบกับ         ช่วงเดียวกันของปี 2562 ที่มีการส่งออกปริมาณ 3,779,394 ตัน มูลค่า 1,975.2 ล้านดอลลาร์ โดยการส่งออกข้าวในเดือนพ.ค. 2563 มีปริมาณ 462,768 ตัน มูลค่า 11,122 ล้านบาท โดยปริมาณและมูลค่าส่งออกลดลง 28.1% และ 23.6% ตามลำดับ เมื่อเทียบกับเดือนเม.ย. 2563 และคาดว่าในเดือนมิ.ย. 2563 ปริมาณส่งออกข้าวจะอยู่ที่ประมาณ 450,000-500,000  ตัน เนื่องจากประเทศ ผู้นำเข้าได้ชะลอการนำเข้าเพราะมีสต็อกข้าวเพียงพอแล้ว ประกอบกับเริ่มเข้าสู่ช่วงฤดูร้อนของต่างประเทศซึ่งมักจะมีการบริโภคข้าวลดลง และราคาข้าวของประเทศคู่แข่งก็ยังต่ำกว่าข้าวไทยมาก ทั้งนี้การที่ราคาข้าวไทยยังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่าประเทศคู่แข่ง เนื่องจากอุปทานข้าวของไทยมีจำกัดทำให้ราคาข้าวภายในประเทศยังคงอยู่ในระดับสูง ขณะที่ค่าเงินบาทก็ยังอยู่ในระดับที่แข็งค่า จึงส่งผลให้ราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้นและห่างจากประเทศคู่แข่งประมาณ 60-130 ดอลลาร์