ศธ.เสนอครม.สัปดาห์หน้าขอให้(ดีอีเอส)ช่วยค่าอินเตอร์เน็ตเรียนออนไลน์

 ศธ.เสนอครม.สัปดาห์หน้าขอให้(ดีอีเอส)ช่วยค่าอินเตอร์เน็ตเรียนออนไลน์

ฟังกันชัดๆความไม่พร้อมของการเรียนออนไลน์ในวันแรกที่มีทดลองระบบกลายเป็นปัญหาในเรื่องระบบ เนื้อหาของหลักสูตรบางระดับที่ไม่ต่อเนื่องและความไม่พร้่อมของครอบครัวชายขอบที่เข้าไปม่ถึงซึ่งอุปกรณ์และอินเตอร์ทำให้เป็นอุปสรรคในการเรียนออนไลน์

เพราะการจัดการเรียนการสอนออนไลน์นั้นเป็นการยกห้องเรียนจากโรงเรียนไปไว้ที่บ้านเพื่อให้นักเรียนทุกคนสามารถเข้าถึงการเรียนการสอนได้ แม้ไม่สามารถไปโรงเรียน ทว่านักเรียนทุกคนไม่สามารถเข้าถึงการเรียนการสอนได้ บ้านทุกหลัง พ่อแม่ทุกครอบครัวไม่สามารถจััดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ได้     

158980281149

เห็นได้จากการโพสต์ข้อความในโซเชียลมีเดียเล่าถึงปัญหาต่าง ๆ ที่พบเช่น หาช่องทีวีไม่เจอ เว็บไซต์ dltv.ac.th ล่มหรือโหลดช้า  ถ้าพ่อแม่ต้องไปทำงานไม่สามารถอยู่คอยให้คำแนะนำหรือดูแลการเรียนที่บ้านได้จะทำอย่างไร ไปจนถึงนักเรียนที่ฐานะยากจนว่าจะเรียนออนไลน์ได้อย่างไรหากไม่มีทีวี โทรศัพท์มือถือและสัญญาณอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง 

 

ก่อนหน้านี้ ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(รมว.ศธ.) ให้นโยบายไว้ว่า ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในพื้นที่ที่ไม่สามารถจัดการเรียนการสอนที่โรงเรียนได้ ให้ใช้ระบบการเรียนรู้ทางไกลและระบบออนไลน์ 80% เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงการเรียนขั้นพื้นฐานได้ ส่วนที่เหลือ 20% หรือมากกว่า ให้โรงเรียนและคุณครูในแต่ละพื้นที่พิจารณาออกแบบตามความเหมาะสม 

โดยวันนี้ (18 พ.ค.)เป็นวันแรกที่กระทรวงศึกษาธิการ ทดลองถ่ายทอดสัญญาณสำหรับเรียนออนไลน์ผ่านช่องทีวีดิจิทัล ทีวีดาวเทียม และแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ DLTV ของมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม เนื่องจากมี ไม่ต่ำกว่า 20 %ของนักเรียนทั้งหมดที่ไม่สามารถเข้าถึงอุปกรณ์ และอินเตอร์เน็ต

ปรากฏว่ามีครอบครัวจำนวนไม่น้อยที่ไม่ความพร้อมสำหรับการเรียนทางไกล บางบ้านไม่มีโทรทัศน์ เช่น ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือพื้นที่ชายขอบตามชายแดนด้านต่างๆ หรือบางบ้านอาจจะมีโทรทัศน์ แต่ไม่มีจานดาวเทียมรับสัญญาณ DLTV ไม่มีอินเทอร์เน็ต Wi-Fi ไม่มีคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟน สำหรับให้บุตรหลานได้เรียนออนไลน์ แม้จะมีอุปกรณ์ครบ แต่เรียนวันแรกกลับระบบล่ม รับสัญญาณไม่ได้เลย ทั้งเรียนทางไกลและเรียนออนไลน์

 

ที่สำคัญเด็กไม่มีสมาธิมากพอ โดยเฉพาะเด็กเล็ก วัยอนุบาลถึงประถมศึกษา การเรียนออนไลน์หรือเรียนทางไกลต้องมีพี่เลี้ยงหรือผู้ปกครองคอยช่วยเหลือ ขณะที่ พ่อแม่-ผู้ปกครองต้องออกไปทำงาน ทำให้ไม่มีเวลาดูแลและสอนเสริมให้กับบุตรหลาน ไม่สามารถเฝ้ากำกับให้บุตรหลานเรียนหนังสือได้ โดยเฉพาะเด็กเล็ก

นอกจากนี้ยังพบว่าครูผู้สอนจำนวนมากยังใหม่กับการสอนออนไลน์ ซึ่งต้องใช้เทคนิคเพิ่มเติมแตกต่างจากการสอนในห้องเรียน รวมทั้งระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและอุปกรณ์ต่างๆ ของโรงเรียนยังไม่รองรับสำหรับการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ และยังไม่ได้จัดทำหลักสูตรสำหรับการเรียนการสอนออนไลน์ ให้รองรับทุกระดับชั้น ตลอดจนการประเมินผล การตรวจสอบการเข้าเรียน การส่งการบ้าน การส่งใบงาน และการทำแบบฝึกหัด แบบฝึกปฏิบัติ

หัวใจ การเรียนออนไลน์การเรียนออนไลน์ให้มีคุณภาพ ได้นั้น ทั้งผู้สอนและผู้เรียน จะต้องทำให้การเรียนรู้เทียบเท่ากับการไปเรียนในโรงเรียนเนื้อหาที่ใช้สอนต้องให้เข้าใจง่าย ที่สำคัญครูผู้สอนต้องมีความสามารถในการถ่ายทอดที่ดีให้นักเรียนเข้าใจ สามารถสร้างสื่อการเรียนการสอนให้เด็กเรียนรู้ผ่านออนไลน์ได้สนุกและกระตือรือร้นในการเรียนที่บ้านให้ได้

สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้ นอกจากครูแล้ว พ่อแม่ก็มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนระหว่างเรียน สร้า่งบรรยากาศและสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้ นอกจากนี้การเรียนการสอนออนไลน์ ต้องมีการวัดผล ทำอย่างไรให้เด็กทำการบ้านและต้องมีโปรแกรมตรวจสอบถูกต้องให้นักเรียนได้ตรวจสอบด้วย ที่สำคัญต้องมีการสื่อสาร 2 ทาง

  

“อำนาจ วิชยานุวัติ”  เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวภายหลังการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ DLTV และระบบออนไลน์ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาหรือโควิด-19 ที่โรงเรียนวัดบางไกรนอก(แย้มพร้อมอุปถัมภ์) จ.นนทบุรี รวมถึงเยี่ยมบ้านนักเรียน เพื่อดูความพร้อมและศักยภาพของการเรียนการสอนทางไกลผ่านฟรีทีวี และออนไลน์ ว่า การเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม และระบบออนไลน์ในครั้งนี้ คงไม่ได้มีความพร้อม 100% การทดสอบระบบครั้งนี้จะถือเป็นการเตรียมการเพื่อนำไปสู่ความพร้อมหากในวันที่ 1 ก.ค.

158980280413

 ตอนนี้ได้รับรายงานเข้ามามากมายว่ามีปัญหาในเรื่องระบบ ทั้งการเรียนผ่านทีวี ยอมรับว่าในช่วงเช้า ระบบการส่งสัญญาณมีปัญหา เพราะจะต้องมีการเปลี่ยนจากระบบสัญญาณของมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมฯ มาเป็นอีกระบบสัญญาณเพื่อสามารถถ่ายทอดผ่านทีวีดิจิตอลได้ ขอย้ำว่าการเรียนผ่านระบบออนไลน์และทีวีดิจิตอล เป็นมาตรการเตรียมความพร้อมเท่านั้น และเป็นการทดลองระบบเพื่อให้เห็นข้อบกพร่องในการแก้ไขปัญหา

 "นักเรียนบางบ้านไม่สามารถดูผ่านทีวีได้ สพฐ.ไม่มีนโยบายให้ผู้ปกครองไปซื้อโทรศัพท์มือถือหรือทีวีใหม่ หรือไปซื้ออุปกรณ์เสริมใดๆมาเพิ่มเติม โดยหากครอบครัวไหนไม่มีความพร้อมให้แจ้งมาที่โรงเรียน เพราะขณะนี้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นชุมชนหรือโรงเรียนพร้อมให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนอย่างเต็มที่นายอำนาจ กล่าว

158980280369

แม่หวาย-ปวีรดา เพชรสัมฤทธิ์” ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดดอนไก่เตี้ย จ.เพชรบุรี กล่าวว่า จากการทดลองใช้ระบบการเรียนการสอนทางไกลและออนไลน์ ระบบ PSI ไม่มีระบบสัญญาณ เข้าใจว่าวันนี้ เป็นวันแรกของการใช้ระบบ ซึ่งอาจจะไม่สมบูรณ์ทั้งหมด แต่ก็อยากให้มีการแจ้งข้อมูลต่างๆไปยังโรงเรียนและช่วยเหลือ พ่อแม่ผู้ปกครองมากกว่านี้ เพราะขนาดบ้าน ครอบครัวอยู่ในเมืองยังได้รับข้อมูลเพียงระดับหนึ่งเท่านั้น แล้วพ่อแม่ ครอบครัวห่างไกล หรือโรงเรียนที่อยู่ห่างไกลจะทำอย่างไร ซึ่งเรื่องนี้ อยากฝากสพฐ. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย

  เห็นได้ชัดเจนว่าความพร้อมในการเตรียมการเพื่อทดลองระบบการเรียนทางไกลและการสอนออนไลน์จากหน่วยงานที่รับผิดชอบไม่มากพอ สะท้อนจากที่บางครอบครัวมีโทรทัศน์ แต่ไม่มีจานดาวเทียมรับสัญญาณ DLTV หรือบางบ้านไม่มีอินเทอร์เน็ต Wi-Fi ไม่มีคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟนให้หรือแม้จะมีอุปกรณ์ครบแต่เรียนวันแรกกลับระบบล่ม ซึ่งหลังจากนี้กระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.)จะไปหารือร่วมกับกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ให้ช่วยเหลือเรื่องค่าใช้จ่ายอินเตอร์เน็ต ไม่ให้เป็นภาระของผู้ปกครองที่ให้ลูกหลานเรียนผ่านเว็บไซต์ทางมือถือและจะนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาในเรื่องดังกล่าวสัปดาห์หน้า

“ณัฏฐพล ทีปสุวรรณ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวในการแถลงข่าวช่วงบ่ายวันเดียวกันว่าศธ.ไม่มีนโยบายให้นักเรียนซื้ออุปกรณ์เสริมมาใช้ในการเรียนการสอนแต่อย่างใด ซึ่งหากครอบครัวไหนมีปัญหาการใช้งานขอให้ติดต่อไปที่สถานศึกษาทางสถานศึกษา กระทรวงศึกษาธิการจะจัดให้ ไม่ต้องไปเสียเงินเพิ่ม และการจัดการเรียนการสอนออนไลน์ครั้งนี้ ขอพ่อแม่ผู้ปกครองอย่างกังวล เพราะจะไม่มีการประเมินผลใดๆทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็นครูหรือนักเรียน 

158980280360

รวมถึงเนื้อหาการเรียนผ่านทีวีที่มีปัญหา เช่น เนื้อหาการเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ศธ.จะรับไปแก้ไขต่อไป โดยเท่าที่ทราบเบื้องต้น เนื้อหาหลักสูตรไม่มีความต่อเนื่องกัน แต่เรื่องนี้ไม่ต้องกังวล ศธ.มีการดูแลตรวจสอบ ให้มีความถูกต้องแน่นอน อย่างไรก็ตาม ทุกปัญหาที่เกิดขึ้น ศธ.รับมาแก้ปัญหาทุกเรื่อง แต่ขอให้ผู้ปกครองเข้าใจว่าระบบดังกล่าว เป็นการเตรียมความพร้อมในการเรียนช่วงวิกฤตเท่านั้น และต้องการให้นักเรียนได้เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง