รพ.เผชิญมรสุมโควิด เร่งเทรนด์ธุรกิจรุกหา' คนไข้'

รพ.เผชิญมรสุมโควิด เร่งเทรนด์ธุรกิจรุกหา' คนไข้'

นับได้ว่าไวรัสโควิด -19 กระทบธุรกิจไม่ทางตรงก็ทางอ้อมจนแทบไม่มีธุรกิจไหนจะเป็นผู้อยู่รอด แม้ว่าจะมีหลายเสียงประเมินว่าในสถานการณ์ที่เป็นวิกฤติมักจะเป็นโอกาสให้กับธุรกิจอื่น ยิ่งเกิดโรคระบาดมีความต้องการรักษาเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว

‘นายแพทย์บุญ วนาสิน’ หรือ ‘หมอบุญ ’ประธานกรรมการ บริษัท ธนบุรี เฮลแคร์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ THG มองต่างว่าพายุใหญ่ลูกนี้ทำให้ธุรกิจที่มีอยู่ไม่เหมือนเดิม และเจอผลกระทบไปหมดแค่มากหรือน้อยเท่านั้น  ด้านธุรกิจโรงพยาบาลวันนี้เกิดการเปลี่ยนแปลง จากโควิด-19 และหากดำเนินไป 1-2 ปี จะกลายเป็นเทรนธุรกิจในระยะยาวที่ผู้บริหารต้องปรับแผนและมองกลยุทธ์ในมุมมองใหม่

หากจะนับว่าเป็น ‘New Norma ‘ ในธุรกิจการแพทย์มองได้ 2 มุม มุมโรงพยาบาลต้องมานั่งดูว่าเป็นรพ.ที่เน้นผู้ป่วยประเภทไหน ถ้าเน้นผู้ป่วยนอกจะเห็นผลกระทบแน่นอน เพราะคนจะเดินทางมารักษาน้อยลง อีกมุมเน้นรายได้ผู้ป่วยนอกน้อย ทำให้สามารถโฟกัสไปยังกลุ่มผู้ป่วยหนัก มีการผ่าตัด เพื่อสร้างรายได้มากขึ้น ส่วนกลุ่มผู้ป่วยต่างประเทศจะกระทบมาก

ส่วนมุมของประชาชนจะสนใจรักษาดูแลตัวเองมากขึ้น มาหาหมอน้อยลง ดูแลอาหาร ออกกำลังกาย และหากภาพตรงนี้เปลี่ยนใน 1-2 ปี จะกลายเป็นการพลิกธุรกิจการแพทย์แบบถาวรไปด้วย ดังนั้นส่งผลต่อมายังแผนธุรกิจที่จะขยายศูนย์ ขยายสาขาต่างๆ ต้องน้อยลง หรือถ้าขยายต้องลดขนาดลง เหมือนกันธุรกิจอื่นที่เจอผลกระทบเช่นกัน

กลายเป็นจากที่รอคนไข้โรงพยาบาลต้องรุกหนักไปหาคนไข้แทนรอให้บริการด้วยการรักษาทางไอที เน้นที่การดูแลปรนนิบัติ ไม่ให้เป็นโรคมากขึ้น ด้วยการใช้ระบบไอที ระบบเสมือนจริงหรือ versus เรียกว่าเป็นการดูแลรักษาไม่ต้องมาพบแพทย์  สามารถปรึกษาให้ผู้ป่วยและบุคลากร ทางการแพทย์สามารถพูดคุยตอบโต้กันได้แบบเรียลไทม์ เช่นเดียวกับการสื่อสารผ่านระบบ video conference ที่คู่สนทนาสามารถมองเทเลเมดิซีน (Telemedicine) การผ่าตัด การส่งยาที่บ้านในโรคที่รักษาได้ง่าย ทั้งหมดจะช่วยประหยัดเวลาผู้ป่วยได้มาก

ที่ผ่านมาต่างประเทศ จีน สหรัฐ ดำเนินการรักษาแนวทางนี้ค่อนข้างมากในไทยก็มีที่เริ่มนำมาใช้แต่ยังไม่แพร่หลาย แต่ด้วยโควิด-19 ทำให้แนวทางรักษาดังกล่าวจะเติบโตมากขึ้น และกลายเป็นความจำเป็น   สิ่งที่จะตามมาคือ โรงพยาบาลต้องลงทุนไอทีมากขึ้นทุกแห่ง และระดับประเทศต้องมาดูและสนใจ บิ๊กเดต้า (Bigdata) การใช้บล็อกเชนเข้ามาเชื่อมข้อมูลเข้าด้วยกัน ดังนั้นงานไอทีกลายเป็นความสำคัญของธุรกิจ จากพฤติกรรมของคนที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งของไทยเชื่อว่าเปลี่ยนแปลงไม่ยาก เพราะไทยมีถือผู้ที่มีมือถือเข้าถึงอินเตอร์เน็ต 60-70 % โอกาสรักษาผ่านไอทีทำได้ง่ายขึ้น

‘การลงทุนด้านนี้จะกลายเป็นอันดับต้นๆ ทุกรพ. ปกติเราเคยลงทุน 2-3 % ของรายได้ เพิ่มเป็น 5 % และด้านบุคคลากร จากเดิม 1 % เป็น 5 % บ้างที่ก็แทบจะสนใจเลยต้องมาเพิ่ม ยิ่งการระบาดกินระยะเวลาไป 1 ปี มีโอกาสที่ไทยจะมีผู้ติดเชื้อเพิ่มได้ จากในประเทศเพราะการตรวจทำได้น้อยมาก แรงงานต่างประเทศที่กำลังกลับมา และคนไทยในต่างประเทศเตรียมกลับไทย’

หลายคนมองว่าความจำเป็นรักษาพยาบาลยังไม่ได้รับผลกระทบ อยากให้คำนึงว่าในยุคที่เศรษฐกิจถดถอยซึ่งไทยเจอภาวะแบบนี้มา 2-3 ปีแล้ว ปีนี้จีดีพีไทยอย่างไงก็ติดลบ ตัวเลขมี ติดลบ 3 % และ ติดลบ 5 % ต่ำที่สุดในอาเซียน

ถ้าการระบาดไม่หยุดตัวเลขจีดีพีจะยังลดลง โครงสร้างเศรษฐกิจไทยก็เสี่ยงมหาศาล เน้นส่งออก 60 % ถึงผลิตได้แต่คนไม่มีกำลังซื้อ ส่งออกยังแย่ ภาคท่องเที่ยวสัดส่วน 20 % ปีนี้ยังไม่ฟื้น ยิ่งตลาดจีนกลัวกลับมาติดเชื้ออีกรอบจะหวังปลายปีคนจีนเข้ามาท่องเที่ยวเป็น 10 ล้านคนคงยาก

เมื่อกำลังซื้อจากโครงสร้างเปลี่ยนคนยากจนในไทยมีมากขึ้นทุก 2 ปี คนจนลง คนว่างงานมากขึ้น ธุรกิจการแพทย์ไม่สามารถดีท่ามกลางธุรกิจอื่นแย่ เพราะไม่มีใครอยากจะมาใช้จ่าย ทุกคนจะตัดรายจ่ายสินค้าฟุ่มเฟือย เน้นรักษาโรคที่เป็นและจำเป็นเท่านั้น เช่น การดูแลเช่นทำฟัน ตรวจสุขภาพตัดออกไป และภาพดังกล่าวเป็นแบบนี้เป็นทั่วโลกธุรกิจการแพทย์อยู่ได้ด้วยที่เศรษฐกิจ ถ้าทั่วไปไม่ดีธุรกิจนี้ย่อมกระทบไปด้วย