หุ้น ‘การบิน’ เผชิญปัจจัยกดดัน ปรับตัวสู่โหมดธุรกิจแบบใหม่

 หุ้น ‘การบิน’ เผชิญปัจจัยกดดัน   ปรับตัวสู่โหมดธุรกิจแบบใหม่

‘ธุรกิจสายการบินจะกลับมาฟื้นได้แค่ไหน’และ’ยังดำเนินธุรกิจเหมือนเดิมหรือไม่  ‘ เชื่อว่าเป็นคำถามที่ผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมดังกล่าวและนักลงทุนที่สนใจหุ้นกลุ่มนี้ล้วนแต่คาดการณ์ได้ยาก เพราะธุรกิจท่องเที่ยวอย่างสายการบินต้องเจอความท้าทายอย่างหนักมาก

          หากรัฐบาลไทยมีการพิจารณาและการประกาศผ่อนคลาย พ.ร.ก. ฉุกเฉิน วันที่ 1 พ.ค. นี้จริง หลายฝ่ายเชื่อว่าจะเป็นการผ่อนคลายแบบมีเงื่อนไข  ซึ่งจะทำให้การดำเนินธุรกิจจำเป็นต้องคำนึงถึงการป้องกันแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ไปด้วย

            การให้บริการสายการบินเช่นกัน  ซึ่งสำนักงานการบินผลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.)  ต้องหารือกับผู้ประกอบการสายการบินวันนี้ (23 เม.ย.) เพื่อเตรียมความพร้อก่อนจะเปิดทำการบินเส้นทางในประเทศอีกครั้ง  หลังจากมีการประกาศห้ามอากาศยานบินเข้าประเทศชั่วคราวจนถึงเวลา 23.59 น. ของวันที่ 30 เม.ย. 2563

            โดยเบื้องต้นต้องมีการปรับให้บริการ เช่น การจัดที่นั่งให้มีระยะเว้นห่างกัน ให้ผู้โดยสารใช้หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การไม่เสริฟอาหารและเครื่องดื่มระหว่างอยู่บนเครื่อง  ซึ่งนั้นอาจจะหมายถึงการต้องปรับตารางการบินจำเป็นต้องถี่ขึ้นเพราะการบรรทุกผู้โดยสารต่อเที่ยวทำได้น้อยลง การจำหน่ายที่นั่งได้น้อยลง การให้บริการระดับพรีเมี่ยมราคาอาจจะแพงขึ้น   รวมทั้งยังต้องปรับยุทธ์ศาสตร์ธุรกิจกันใหม่เพื่อรับกับการใช้ชีวิตแบบใหม่ (New Normal ) 

            ปัจจุบันสถานการณ์ของทุกสายการบินเผชิญช่วงวิกฤติของธุรกิจอยู่แล้ว  หลังจากต้องประกาศหยุดบินเป็นการชั่วคราว  จนทำให้ต้องงัดมาตรการลดต้นทุน ลดคน  ซึ่งสถานการณ์หนักสุดหนีไม่พ้น บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI   ที่เข้าเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการเต็มรูปแบบ ซึ่งอาจจะทำให้ภายในต้องการเจอการเปลี่ยงแปลงครั้งใหญ่ที่แท้จริง

           ด้วยการยอมลดคน  ลดขนาดองค์กร  ตัดขายสินทรัพย์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการบินออกไป รวมไปถึงการลดสิทธิพิเศษที่มีอยู่ออกไปให้หมด เพื่อขอความช่วยเหลือด้านการเงินจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่อย่างกระทรวงการคลัง

            ขณะที่ บริษัท เอเชียเอวิเอชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ AAV เป็นเบอร์ 1 ในสายการบินต้นทุนต่ำ เจอสถานการณ์ย่ำแย่ไม่แพ้กันเพราะดำเนินการลดต้นทุนบุคลากร Leave without pay ชั่วคราว  ขอเจรจากับเจ้าหนี้เพื่อผ่อนผันค่าเช่าเครื่องบิน ขอเลื่อนชำระหนี้เงินต้น และขอเพิ่มวงเงินเพื่อนำมาให้เป็นเงินทุนหมุนเวียนให้กับบริษัท

           เนื่องจากคาดว่าหากสามารถกลับมาดำเนินการบินได้ภายในได้ในเดือน พ.ค. นี้ มีสัดส่วนกลับมาบินเฉพาะในประเทศเพียง 40-50%   และไตรมาส 3จะกลับเปิดบางส่วนในต่างประเทศ ส่วนไตรมาส 4 เชื่อว่าธุรกิจและฐานะการเงินจะกลับมาสู่ปกติ

           ส่วนบริษัท  การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BA   นอกจากจะปรับลดเงินเดือนผู้บริหารและพนักงานแล้ว   ตัดค่าใช้จ่ายเกือบทุกหน่วยงานลง ลดจำนวนเครื่องบินที่ใช้ปฏิบัติการ รวมทั้งเจรจาต่อรองค่าเช่าเครื่องบินกับผู้ให้เช่าเครื่องบิน  ขอวงเงินสินเชื่อจากสถาบันการเงิน และเจรจาปรับเปลี่ยนตารางชำระหนี้

            และบริษัท สายการบินนกแอร์  จำกัด (มหาชน) หรือ NOK  เจอสถานการณ์วิกฤติก่อนหน้านี้จะธุรกิจจึงทำให้มีการลดต้นทุนและจัดโครงสร้างการเงินไว้แล้วจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้ถือหุ้นจึงทำให้มีการปรับลดบุคคลากร เช่น นักบินและพนักงานสายการบินนกสกู๊ตออกมา 20 กว่าตำแหน่ง

            แต่ดูจะไม่เพียงพอ จึงทำให้ 8 สายการบินยื่นขอความช่วยเหลือด้านจัดหาแหล่งเงินทุนดอกเบี้ยต่ำหรือซอฟโลน 25,000 ล้านบาท จากภาครัฐเพื่อช่วยเยียวยาธุรกิจ   เนื่องจากด้วยภาวะการเดินทางเพื่อท่องเที่ยวลดน้อยลง เหลือเท่าที่จำเป็นน่าจะเห็นยาวไปจนถึงครึ่งปีแรก  นั้นหมายถึงรายได้ที่ไม่ฟื้นตัวเต็มไปจนถึงไตรมาส 3 ปี 2563 ของธุรกิจนี้ตามไปด้วย

            อย่างไรก็ตามท่ามกลางข่าวลบที่กระทบแต่ต้นทุนใหญ่สุดของธุรกิจถึง 30-40 % อย่าง    น้ำมันที่ราคาลดลงมาทำราคาต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่  11  ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ช่วยลดแรงกดดันรายได้ได้บ้าง แม้ว่าจะมีคำถามตามมาว่าประชาชนจะมีความต้องการเดินทางหรือไม่ท่ามกลางการแพร่ระบาดของไวรัส