กูรูตลาด แนะก้าวข้ามขีดจำกัด ลุยออนไลน์ ระบายสต็อกสู้โควิด

กูรูตลาด แนะก้าวข้ามขีดจำกัด  ลุยออนไลน์ ระบายสต็อกสู้โควิด

ช่วงนี้การค้าขายสินค้าเป็นไปอย่างยากลำบาก เพราะผลกระทบโรคโควิด-19 ระบาดหนัก ทำให้รัฐมีมาตรการเข้มป้องกันโรค เปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตผู้คน ธุรกิจถูก "ล็อค" สต๊อกเริ่มบวม แต่ทางออกยังมี "ออนไลน์" เป็นประตูระบายสินค้าที่ผู้ประกอบการต้องเริ่มลุยได้แล้ว

ห้วงโรคระบาดโควิด-19” ก่อวิกฤติกระทบทุกสรรพสิ่งในโลกนี้ทั้งชีวิต เศรษฐกิจ ธุรกิจ ความเป็นอยู่ของมวลมนุษยชาติ ทุกอย่างถูกล็อกดาวน์แน่นิ่ง คนส่วนหนึ่งตกระกำลำบาก แต่กลุ่มคนที่ยังมีสรรพกำลัง แรงกาย แรงสมอง ไม่ยอมยกธง พยายามสร้างสรรค์สิ่งต่างๆที่ทำได้ภายใต้ข้อจำกัดเพื่อช่วยเหลือกันและกัน

สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทย(MAT) เป็นอีกองค์กรที่ไม่ยอมหยุด เพราะจังหวะที่ภาคธุรกิจน้อยใหญ่เผชิญปัญหารายได้หดหาย จากการปิดหน้าร้าน ค้าขายลำบาก จึงดึง นักการตลาด มาช่วยเฟ้นไอเดีย ปลุกผู้ประกอบการลุยทำตลาด ออนไลน์ ช่วย ระบายสต็อก กับโจทย์ “การตลาดออนไลน์ เริ่มยังไงให้รอด เพื่อช่วยผู้ประกอบการไทยให้ยืนหยัดได้ยามวิกฤติโควิด-19

158704433317

ธัญญ์นิธิ   อภิชัยโชติรัตน์ - ยุทธนา   เทียนธรรมชาติ  -  สุรศักดิ์   เหลืองอุษากุล

สุรศักดิ์   เหลืองอุษากุล นักวางกลยุทธ์การตลาด และผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท แบรนด์เบเกอร์ จำกัด ดิจิทัลเอเยนซี่ หยิบยกเทรนด์ธุรกิจที่เกิดขึ้นในสหรัฐท่ามกลางโควิด-19 ในวอลล์มาร์ทห้างค้าปลีกยักษ์ใหญ่ ค้าขายดีในสินค้า 4 เฟส เริ่มจากเฟสแรกสินค้าทำความสะอาด ฆ่าเชื้อ ทั้งเจลล้างมือ สบู่ ขายดีมาก 

เฟส 2 กระดาษชำระ เป็นของต้องมีทุกบ้าน เฟส 3 อาหารจำเป็นต่อการดำรงชีพ และเฟส 4 ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ส่วนบุคคล ทั้งครีมเปลี่ยนสีผม ปัตตาเลี่ยน กลายเป็นสินค้าที่ผู้บริโภคต้องการเพราะการกักตัว ทำงานอยู่บ้าน ไม่ได้ออกไปใช้บริการด้านความงาม ผม หนวด ยาว

วันนี้หากผู้ประกอบการจะมาขายหน้ากากไม่ทันแล้ว เพราะเลยเฟสความต้องการของผู้บริโภคแล้ว จึงต้องคิด วิเคราะห์ตลาดในเฟสต่อไปจะขายสินค้าอะไร

ทั้งนี้ เมื่อช่องทางออฟไลน์ถูกล็อคปิดให้บริการ ทางออกและโอกาสจึงอยู่ที่ ออนไลน์” แต่การทำตลาดไม่ง่าย เพราะผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อย ยังไม่ก้าวออกจากกรอบ กลยุทธ์การทำตลาดเดิมๆ รวมถึงค้าขายผ่านโซเชียลคอมเมิร์ซด้วยการไลฟ์ไม่ได้รับความสนใจ ไร้คนดูทำให้ท้อแท้ จุดนี้ต้องกล้าก้ามข้ามควรตั้งโจทย์ กำหนดเป้าหมายใหม่ๆ เพื่อปูทางสู่ความสำเร็จให้ได้

ในการทำตลาดออนไลน์การออกสตาร์ทยากสุดถ้าเริ่มแล้วต้องไม่หยุดสำคัญมากหากไลฟ์ไม่มีคนดูต้องปรับโจทย์ตั้งเป้าหมายวันนี้ไปไม่ถึงหาทางทำอย่างไรเพื่อไปถึงเป้าทำต่อเนื่องเหมือนหนูถีบจักร

เมื่อผู้เล่นทุกรายมาลุยขายออนไลน์ สินค้าอาจเหมือนๆกัน แต่หน้าที่นักการตลาดต้องหาความต่างมาเป็นจุดขายให้ได้ สร้างสรรค์หรือครีเอทีฟคอนเทนท์ เล่าเรื่อง(Storytelling) ฉีกจากคู่แข่ง

เมื่อเแพลตฟอร์มออนไลน์มีมากมายทั้งมาร์เก็ตเพลสอย่าง Shoppe Lazada JD โซเชียลคอมเมิร์ซ Facebook Instagram จะเลือกหน้าร้านแบบใด ธัญญ์นิธิ   อภิชัยโชติรัตน์ ผู้ร่วมก่อตั้งและวางแผนกลยุทธ์การตลาด บริษัท สมอลเวิลด์ฟอร์คิดส์ จำกัด ซึ่งเป็น 1 ใน 10 คนไทยที่ได้รับการคัดเลือกจาเฟซบุ๊กให้เป็น Alpha Tester หรือทดลองเครื่องมือการตลาดใหม่ๆบนเฟซบุ๊กรายแรก แนะว่า หากขยับมาขายสินค้าออนไลน์เริ่มจากบัญชีหรือ Account สื่อสังคมออนไลน์ที่มีฟรีอยู่แล้ว ทั้งเฟซบุ๊คส่วนตัว กลุ่ม ไลน์ส่วนตัว ไลน์กลุ่ม เพราะทุกคนล้วนมีเพื่อนที่เป็นเหมือนลูกค้า ที่ผ่านมาบางรายสามารถปิดการขายสินค้าจากเพื่อนฝูงได้จำนวนมาก

158704405761

นอกจากนี้ ยังมีฟีเจอร์ฟรีของแพลตฟอร์มต่างๆ โดยไม่ต้องกังวลกับการยิงโฆษณามากนัก ส่วนจะใช้แพลตฟอร์มใดเป็นหน้าร้านต้องเข้าใจให้ลึก เช่น IG ภาพต้องสวย ดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย มีแค่มือถือก็ทำตลาดได้ เฟซบุ๊ก สร้างเรื่องราวแบรนด์ เนื้อหายาวๆ หากน่าสนใจผู้บริโภคพร้อมอ่าน แต่หากทำได้ควรอยู่ให้ครบทุกแพลตฟอร์ม

บางคนเริ่มทำตลาดออนไลน์ ไม่กล้าไลฟ์ แต่ตอนนี้ต้องก้าวข้ามขีดจำกัดตัวเอง และการขายสินค้าควรเริ่มจาก Why หมดยุคเริ่มจาก What” ที่ผ่านมาแบรนด์จำนวนมากปรับตัวขายออนไลน์ เช่น บาร์บีคิวพลาซ่า ไลฟ์ขายน้ำจิ้ม ร้านชาบูต่างๆขายอาหารพร้อมหม้อต้มไฟฟ้า ร้านอาหารญี่ปุ่นปรับมาขายอาหารจานเดียว เป็นต้น

ยุทธนา   เทียนธรรมชาติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อะเดย์ เฟรช จำกัด ผู้จัดจำหน่ายผลไม้ออนไลน์คนแรกของประเทศไทย ย้ำว่าทุกธุรกิจมีคู่แข่งการทำตลาดที่ดึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมายจากอีกฝั่งมายังแบรนด์ตนเองได้ การให้ความสำคัญกับคุณภาพสินค้าและความรับผิดชอบต่อสินค้าและบริการสำคัญมาก 

ทั้งนี้ การขายผลไม้สดนำเข้า สินค้าเพื่อการโฆษณากับของจริงย่อมต่างกัน เช่น ขนาด สี แม้คุมไม่ได้ แต่สิ่งที่ควบคุมได้คือการส่งสินค้าคุณภาพ แต่ถ้าเกิดเหตุไม่คาดคิด เช่น อุบัติเหตุการขนส่ง ต้องไม่ปฏิเสธความรับผิดชอบ เพราะลูกค้าซื้อสินค้าจากแบรนด์ ไม่ใช่จากบริการขนส่ง

ไม่ว่าเกิดอะไรขึ้น เราต้องรับผิดชอบต่อลูกค้า เพราะลูกค้าซื้อสินค้าตรงจากเรา การรับผิดชอบ ความจริงใจสำคัญมาก

158704484458

ตัวอย่างการที่ซื้อสินค้าจากกรุ๊ปจุฬาฯมาร์เก็ตเพลส-มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการฝากร้าน 

กรณีศึกษาการเปิดตลาดออนไลน์ที่น่าสนใจมากเวลานี้ ยกให้มหาวิทยาลัยต่างๆมาเปิดกลุ่มบนเฟซบุ๊ก เช่น จุฬาฯ ธรรมศาสตร์ ศิลปากร เกษตรศาสตร์ฯ ที่ประกาศขายสินค้าราคาหลักร้อยจนถึงพันล้าน เช่น สติ๊กเกอร์ไลน์ แมลงสาบพันธุ์ดูเบีย โลงศพ หมูป่า รับแต่งกลอนงานศพ ที่ดินมูลค่าพันล้านบาท เป็นต้น