เปิด 'แบบฟอร์มมหาดไทย' เลือกรับเยียวยาเหตุโควิด

เปิด 'แบบฟอร์มมหาดไทย' เลือกรับเยียวยาเหตุโควิด

เปิด "แบบฟอร์มมหาดไทย" เลือกรับเยียวยาเหตุโควิด เตรียมข้อมูลให้ครบก่อนกรอก

จากกรณีที่ นายธนาคม จงจิระ อธิบดีกรมการปกครอง ได้ออกหนังสือด่วนที่สุด ลงวันที่ 13 เมษายน ที่ผ่านมา เป็นโทรสารในราชการกรมการปกครอง ด่วนที่สุดจาก อธิบดีกรมการปกครอง ถึง ปลัดจังหวัด ทุกจังหวัด ระบุว่า ตามที่กรมการปกครอง มีหนังสือกรมการปกครอง ด่วนที่สุด ที่ มท 0305.3/ว 9241 ลงวันที่ 6 เมษายน 2563 เรื่อง ซักซ้อมแนวทางการสํารวจข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบจากมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหา โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)เนื่องจากการสํารวจและบันทึกข้อมูลดังกล่าวมีความสําคัญในการวางแนวทางการให้ความช่วยเหลือ ประชาชน กรมการปกครอง จึงขอให้ปลัดจังหวัดเน้นย้ำนายอําเภอให้ความสําคัญกับการบันทึกข้อมูล ผู้ได้รับผลกระทบจากมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยให้นายอําเภอ กําชับปลัดอําเภอที่ได้รับมอบหมายซักซ้อมแนวทางการบันทึกข้อมูลฯ และให้คําแนะนําแก่ผู้ที่มีหน้าที่สํารวจ และบันทึกข้อมูลฯ ตามแนวทางที่กําหนดด้วย

เปิด \'แบบฟอร์มมหาดไทย\' เลือกรับเยียวยาเหตุโควิด

กลไกของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย มีการกำหนดแนวทางการรายงานผู้ได้รับผลกระทบจากมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งใช้ผู้ดําเนินการสำรวจ คือ ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน ประธานกรรมการชุนชน คณะกรรมการชุมชน ปลัดอําเภอ ปลัดเทศบาล ทำหน้าสํารวจข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบในพื้นที่ และให้รายงานข้อมูลผ่านเว็บไซต์ thaiqm.dopa.go.th

เปิด \'แบบฟอร์มมหาดไทย\' เลือกรับเยียวยาเหตุโควิด

คําอธิบายแบบสํารวจ ผู้ได้รับผลกระทบ หมายถึงบุคคล 2 กลุ่ม ได้แก่ 1.ผู้ที่ได้รับผลกระทบที่เดินทางจากกรุงเทพมหานคร ปริมณฑลและพื้นที่เสี่ยงต่าง ๆ กลับเข้าหมู่บ้าน/ชุมชน ที่ได้มีการบันทึกข้อมูลในระบบ Thai QM แล้ว 2.ผู้ที่อยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชนเดิมอยู่แล้ว และได้รับผลกระทบ ทําให้ไม่สามารถประกอบอาชีพได้

ซึ่งมีการออกแบบฟอร์มให้ประชาชนต้องกรอกข้อมูลส่วนตัว ซึ่งกระจายสอบถามทุกจังหวัดในขณะนี้ โดยให้เลือกสิทธิที่ได้รับจากรัฐ (เลือกได้เพียงข้อเดียว) เลือกผลกระทบที่ได้รับ (เลือกได้เพียงข้อเดียว) และผลกระทบอื่น ๆ และระบุข้อมูลการลงทะเบียนขอรับความช่วยเหลือจากรัฐบาล ใน www.เราไม่ทิ้งกัน.com (เลือกได้เพียงข้อเดียว) เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ให้ผู้ได้รับผลกระทบ/ให้ข้อมูล ลงชื่อ เขียนชื่อตัว ชื่อสกุล และวัน เดือน ปี ที่สํารวจให้เรียบร้อย

โดยในข้อ 2 แบบสอบถามจะถามถึงสิทธิจากรัฐ คือ ท่านเป็นผู้ประกันตนตามมาตราอะไร 33,39,40 มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐหรือไม่ และไม่มีสิทธิ์ข้างต้นทั้งสองเลย

ข้อ 3 ของแบบสอบถามจะถามว่า ได้รับผลกระทบจากอะไร

1) ถูกเลิกจ้าง ทั้งแบบเป็นผู้มีสิทธิ์ประกันสังคมมาตรา 33 หรือ เป็นพนักงาน/รายวัน/ลูกจ้าง ที่ไม่มีสิทธิประกันสังคมมาตรา 33 2) ถูกนายจ้างลดวันทำงาน ลดเวลาทำงาน 3) รายได้ลดลง ขายของได้น้อยลง ลูกค้าลดลง หลังจากจังหวัดประกาศมาตรการ 4) ธุรกิจส่วนตัวถูกปิด เช่น ร้านอาหาร ร้านที่อยู่ในห้างฯ พร้อมกับต้องระบุ รายได้ต่อวัน และรายได้ต่อเดือน เดิมที่เคยรับ

ข้อ 4 เมื่อได้รับผลกระทบจากข้อ 3 แล้ว จะถามอีกว่า ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติ หรือ การขนส่งสินค้า/ผลผลิตทางการเกษตรไม่สะดวก ใช่หรือไม่

ข้อ 5 จะถามว่า ได้ลงทะเบียนขอรับเงินเยียวยา 5,000 บาท จาก www.เราไม่ทิ้งกัน.com หรือไม่

และข้อ 6 จะมีแนวทางให้เรียงลำดับความสำคัญความช่วยเหลือที่ต้องการ โดยมีตัวเลือกทั้งหมด 15 ตัวเลือก 1.เงินสนับสนุนการยังชีพระยะสั้น 2.การส่งเสริมการฝึกอาชีพ 3.การลดหย่อนภาษีต่างๆ 4.พันธุ์พืช 5.อุปกรณ์ค้าขาย 6.เครื่องอุปโภคบริโภค-ถุงยังชีพ 7.เงินกู้ ดอกเบี้ยต่ำ 8.ลดค่าสาธารณูปโภคต่างๆ 9.พันธุ์สัตว์ 10 อุปกรณ์การเกษตร 11.การจ้างงานระยะสั้น 12. การพักชำระหนี้ต่างๆ ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ บัตรเครดิต 13.มาตรการด้านการเงินส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 14.พันธุ์สัตว์น้ำ และ 15.อื่นๆ

จากนั้นผู้ดําเนินการสํารวจ ได้แก่ กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน หรือ ประธานกรรมการชุมชน กรรมการชุมชน ลงชื่อและตําแหน่งให้เรียบร้อย โดยมีปลัดอําเภอ / ปลัดเทศบาล ลงชื่อผู้ตรวจสอบข้อมูลตัดแบ่งแบบสํารวจฯ ส่วนที่ 1 และ 2 สําหรับส่วนที่ 1 ผู้สํารวจเก็บไว้เป็นหลักฐาน และส่วนที่ 2 ให้นําส่งอําเภอ ซึ่งข้อมูลในส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 ต้องเป็นข้อมูลที่ตรงกัน

เปิด \'แบบฟอร์มมหาดไทย\' เลือกรับเยียวยาเหตุโควิด

เปิด \'แบบฟอร์มมหาดไทย\' เลือกรับเยียวยาเหตุโควิด