‘ไอยรา’ หุ่นยนต์ชั้นวางของ มช.ส่งทำหน้าที่บนวอร์ด

‘ไอยรา’ หุ่นยนต์ชั้นวางของ มช.ส่งทำหน้าที่บนวอร์ด

“ไอยรา” หุ่นยนต์ขนส่งในหอผู้ป่วย โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ พัฒนาจากความร่วมมือระหว่างคณะแพทยศาสตร์กับคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำหน้าที่ผู้ช่วยพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 เพื่อลดความเสี่ยงการสัมผัส ลดปริมาณการใช้ชุดและอุปกรณ์ป้องกัน

หุ่นยนต์ CMU Aiyara คือ ส่งน้ำ ส่งอาหาร ส่งยา เสื้อผ้าและในช่วงที่เข้าไปส่งสิ่งของ ควรได้เห็นผู้ป่วยว่ามีสภาพอย่างไรในแต่ละวัน ต้องได้เห็นหน้าเห็นตากันสองฝั่ง ทั้งผู้ป่วยรวมถึงพยาบาล และแพทย์ผ่านระบบสื่อสารทางไกล ขณะเดียวกันหุ่นยนต์ยังสามารถนำของเสียทั้งขยะและเสื้อผ้าที่ใช้แล้วกลับออกมาด้วย ขณะเดียวกันก็เป็นช่องทางส่งมอบการดูแลและการสื่อสารระหว่างทีมดูแลกับผู้ป่วย ภยใต้แนวคิด “กายห่างแต่ใจไม่ห่าง”

เทคโนโลยีรับเหตุเร่งด่วน

รศ.ธีระพงษ์ ว่องรัตนะไพศาล อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะ พัฒนาหุ่นยนต์ไอยราตามโจทย์ความต้องการของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วย ซึ่งมีผู้ที่เป็นกลุ่มต้องเฝ้าระวังหรือยังไม่ทราบแน่ชัดว่าติดเชื้อไวรัสหรือไม่ ฉะนั้น ความยากของการทำงานนี้คือ ต้องสมมติว่าผู้ที่เข้ามาอยู่ในห้องต่างๆ ในหอผู้ป่วยอาจจะติดเชื้อแล้ว และอาจมีบางคนที่ไม่ได้ติดเชื้อ

158678157473

เมื่อแพทย์และพยาบาลเข้าไปแต่ละห้องเพื่อตรวจติดตามอาการผู้ป่วยแล้ว จะต้องออกมาทำความสะอาดก่อนที่จะเข้าไปปฏิบัติหน้าที่อีกห้อง เพื่อลดโอกาสการติดเชื้อในผู้ที่ต้องเฝ้าระวังได้ ฉะนั้น ปัญหาเรื่องการเข้าไปเปลี่ยนชุดกาวน์ต่างๆ หากมีหลายห้อง หลายคน ผู้ดูแลอาจรับไม่ไหว จึงหันมาใช้เทคโนโลยีด้านหุ่นยนต์แทน” รศ.ธีระพงษ์ กล่าว

จากโจทย์ที่ได้รับประกอบกับสถานการณ์ความต้องการเร่งด่วน จึงไม่เหมาะที่จะใช้เทคโนโลยีขั้นสูงหรือเป็นหุ่นยนต์อัตโนมัติ 100% ทีมงานเลือกออกแบบหุ่นยนต์ที่เป็นระบบบังคับโดยคน (manual control) สามารถบังคับขับเคลื่อนโดยทีมพยายาล ที่ผ่านการฝึกทักษะการใช้อุปกรณ์ควบคุม

158678160173

ในการออกแบบการทำงานเบื้องต้น หุ่นยนต์จะเคลื่อนที่ไปตามห้องต่างๆ ประมาณ 4-5 ห้อง ไม่ใช่ทีละห้องซึ่งจะทำให้เสียเวลามาก ทำให้หุ่นยนต์มีลักษณะเหมือนชั้นวางของและมีเลขที่ห้องกำกับ เมื่อเคลื่อนที่ไปหนึ่งครั้งทางพยาบาลจะเรียกผู้ป่วยผ่านอินเตอร์คอมให้มารับของด้านนอก โดยไม่สัมผัสกับหุ่นยนต์ จากนั้นก็จะไปทำงานต่อยังห้องอื่น

หุ่นยนต์จะติดตั้งกล้อง 2 ตัว คือกล้องนำทางให้ผู้ควบคุมมองเห็นสภาพรอบข้าง และกล้องที่ใช้สื่อสารและสังเกตสภาพผู้ป่วย ส่วนการเลือกใช้วัสดุนั้นเน้นจะไม่สร้างปัญหาให้อนาคต หมายถึงว่า ไม่ใช่ทำไปซ่อมไป นอกจากนั้นจากโจทย์ที่ไม่อยากให้บุคลากรทางการแพทย์เข้าไปสัมผัสกับผู้ป่วยมากเกินไป หากใช้ของคุณภาพด้อย แล้วไปมีปัญหาเสียอยู่กลางวอร์ดก็จะเพิ่มความเสี่ยงโดยไม่จำเป็น จึงต้องใช้วัสดุที่ทีมงานมั่นใจในคุณภาพ

158678162888

สอบถามผู้ใช้งานก่อนลงมือสร้าง

นักวิจัย กล่าวอีกว่า ตอนนี้ระบบทั้งหมดทำงานเรียบร้อยแล้ว ได้ทดลองใช้กับทีมพยาบาลจริงๆ ซึ่งค่อนข้างพอใจเพราะสามารถควบคุมได้ง่ายและมีความนุ่มนวลมากพอ ส่วนที่ยังต้องปรับปรุงคือ การสื่อสารจากภาพของกล้องผู้ป่วยกับแพทย์พยาบาลที่ติดขัดเรื่องสัญญาณไวไฟ เพราะในโรงพยาบาลมีความหนาแน่นของช่องสื่อสารมาก จึงได้หารือกับทีมคณาจารย์และวิศวกรที่มีความรู้ด้านการสื่อสารทำการแก้ไข และเริ่มใช้งานทันทีในช่วงสงกรานต์นี้

158678164825


สิ่งที่เราทำตอนนี้ถือว่าไม่ยากมาก คนที่เล่นอุปกรณ์ต่างๆ เกี่ยวกับหุ่นยนต์ เช่น มีความรู้ทางวิศวกรรมเครื่องกล อิเล็กทรอนิกส์ คอมพิวเตอร์ สื่อสาร มีทักษะทางช่าง น่าจะทำได้โดยไม่ยาก อาจปรับปรุงดัดแปลงนิดหน่อย ไม่จำเป็นต้องเป็นระบบที่เบ็ดเสร็จในตัวเหมือนลักษณะนี้ คิดว่าน่าจะทำเป็นระบบที่ราคาถูกกว่านี้ได้ ส่วนการขนส่งของแต่ละโรงพยาบาลก็อาจดัดแปลงใช้ชั้นวางของโรงพยาบาลที่มีอยู่แล้วมาวางบนหุ่นยนต์ หรือเปลี่ยนชั้นวางเป็นรูปแบบอื่นได้ด้วย ผมและทีมงานสามารถให้คำปรึกษาและจะจัดทำแบบทางวิศวกรรมหลังจากที่ต้นแบบหุ่นยนต์ไอยราแล้วเสร็จ เพื่อเผยแพร่ต่อไป”

รศ.ธีระพงษ์ กล่าวว่า บุคลากรการแพทย์ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงมาก และถือเป็นผู้เสียสละอย่างมาก ใครที่สามารถช่วยเหลือทั้งเรื่องการประดิษฐ์อุปกรณ์หรืออะไรก็ตาม อยากให้สอบถามความต้องการจากแพทย์และผู้จะใช้งานจริงให้ชัดเจนด้วย เพื่อให้ชิ้นงานนั้นใช้ประโยชน์ได้จริง ไม่เป็นการสูญเปล่า

158678167767