10 เทรนด์สุขภาพคนไทยที่น่าห่วงปี 2563

10 เทรนด์สุขภาพคนไทยที่น่าห่วงปี 2563

จับตา 10 ประเด็นพฤติกรรมสุขภาพคนไทย ปี 2563 เพื่อตอกย้ำว่าก่อนเข้าปีใหม่เราพร้อมที่จะดูแลสุขภาพของตัวเองอย่างเต็มที่หรือยัง

การดูแลสุขภาพถือสิ่งสำคัญหนึ่งในการดำรงชีวิต ระหว่างรอนับเคาดาวน์ลาปีเก่า 2562 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายทางวิชาการ จัดเวที Thaihealth Watch จับตา 10 ประเด็นพฤติกรรมสุขภาพคนไทย ปี 2563 เพื่อตอกย้ำว่าก่อนเข้าปีใหม่เราพร้อมที่จะดูแลสุขภาพของตัวเองอย่างเต็มที่หรือยัง 

โดยทั้งหมด 10 เทรนด์ สสส. แบ่งความน่าสนใจออกเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มเด็กและเยาวชน กลุ่มวัยทำงาน และกลุ่มสูงอายุ นอกจากนี้ยังมีหัวข้อที่ไม่จำกัดกลุ่มคือเป็นเทรนด์สุขภาพที่มีผลกระทบกับทุกคนได้อีก 2 หัวข้อ 

157674838584

  • กลุ่มเด็ก และเยาวชน ประเด็นที่น่าจับตาคือ

- แค่เครียด หรือซึมเศร้า ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต ปี 2562 พบว่า ทุก 1 ชั่วโมงจะมีคนพยายามฆ่าตัวตาย 6 ราย โดยมีกลุ่มเด็กเยาวชนที่ฆ่าตัวตายสำเร็จถึงปีละ 300 ราย และยังพบแนวโน้มการเข้ารับคำปรึกษาสายด่วนสุขภาพจิตเพิ่มขึ้น สิ่งที่น่าสนใจจากการกระแสบนโลกออนไลน์พบว่า สาเหตุที่ทำวัยรุ่นเครียด อันดับ 1 มาจากปัญหาความสัมพันธ์โดยเฉพาะครอบครัว ตามด้วยเรื่องหน้าที่การงาน การถูกกลั่นแกล้ง และความรุนแรง

ทั้งนี้ ช่วงเวลาที่วัยรุ่นโพสต์ข้อความอยากฆ่าตัวตายมากที่สุดในสื่อทวิตเตอร์คือ วันอังคาร 4 ทุ่ม และวันศุกร์ 1 ทุ่ม หากช้อนความรู้สึกได้ทันจะสามารถลดความเสี่ยงจากการคิดสั้นได้ถึง 50%

- ภัยคุกคามทางออนไลน์ ยิ่งเสพติดออนไลน์ ยิ่งเสี่ยงสูง เด็กเยาวชนยุค Gen Z ใช้เวลากับอินเทอร์เน็ตเฉลี่ย 10.22 ชั่วโมง ผลสำรวจของ COPAT ร่วมกับมูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย ในปี 62 พบว่า เด็ก 31% เคยถูกกลั่นแกล้งทางออนไลน์ 74% เคยพบเห็นสื่อลามกอนาจารทางออนไลน์ และ 25% เคยนัดเพื่อนที่รู้จักในออนไลน์ ซึ่งผลวิจัยพบว่า เด็กที่ใช้เวลากับโลกออนไลน์มากยิ่งเสี่ยงต่อการถูกกลั่นแกล้งและเป็นผู้กลั่นแกล้งทางออนไลน์ถึง 3 เท่า ดังนั้นสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัวและการป้องกันข้อมูลส่วนบุคคลจะช่วยป้องกันความเสี่ยงตั้งแต่ต้นทาง

- การจราจร และ อุบัติเหตุทางคมนาคม แม้แนวโน้มการใส่หมวกกันน็อกจะเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่ถึง 50% โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นมีแนวโน้มใส่หมวกกันน็อกลดลง จาก 32% ในปี 2553 เหลือเพียง 22% ในปี 2561 ขณะที่เด็กเล็ก 92% ไม่ใส่หมวกกันน็อก และยังพบแนวโน้มการบาดเจ็บและเสียชีวิตในกลุ่มเด็กเยาวชนจากมอเตอร์ไซค์เคลื่อนย้ายจากภาคที่มีรายได้สูงไปยังภาคที่มีรายได้ต่ำกว่า ในปี 2563 สสส.ร่วมกับภาคีเครือข่ายทำงานโดยลงลึกใน 283 อำเภอกลุ่มเสี่ยง ซึ่งครอบคลุมการเสียชีวิตถึง 81%

- กลัวท้อง มากกว่าติดโรค อัตราคลอดของแม่วัยรุ่นลดลงแต่อัตราการติดโรคทางเพศสัมพันธ์เพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าตัว โดยเฉพาะโรคซิฟิลิสและหนองใน สาเหตุสำคัญคือไม่ใส่ถุงยางทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ในปี 2561 พบว่า นักเรียนม.5 และ ปวช. 2 เมื่อมีเพศสัมพันธ์กับแฟนมีการใช้ถุงยางทุกครั้งไม่ถึง 50% ขณะเดียวกันก็ไม่ได้ใช้ถุงยาง 100% ทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์กับพนักงานบริการ หญิงหรือผู้ชายอื่น เหตุผลที่วัยรุ่นไม่ใช้ถุงยางเมื่อเจาะลึกในโลกออนไลน์คือ ถุงยางราคาแพง อายไม่กล้าซื้อ ใช้วิธีอื่น เช่น ฝังยาคุม ดังนั้นเพื่อลดการติดโรค

- ความเข้าใจของกีฬา E-sport พบว่า "E-Sport" กลายเป็น 1 ใน 5 อาชีพในฝันของเด็กไทย แต่ไม่ใช่ทุกคนที่จะเป็นโปรเพลเยอร์ได้ การศึกษาพบว่า วินัยและการแบ่งเวลาเป็นเส้นแบ่งสำคัญระหว่างนักกีฬามืออาชีพกับเด็กติดเกม นอกจากนี้ยังพบการพนันออนไลน์ที่แฝงมาพร้อมกับการแข่งขัน

  • กลุ่มวัยทำงาน ประเด็นที่น่าจับตาคือ

- โรคที่เกิดจากการกินอาหาร เนื่องจากการเสียชีวิต 3 อันดับแรกของคนไทยยังคงเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอย่างโรคหลอดเลือดสมอง เบาหวาน หัวใจขาดเลือด พฤติกรรมการกินและการใช้ชีวิตจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดโรค

ผลการสำรวจ Top Post อาหารยอดนิยมในโลกออนไลน์ในปีที่ผ่านมาพบว่า รสเผ็ดและหวานยังคงเป็นรสชาติยอดนิยมของคนไทย วัยทำงานเน้นอาหารรสจัด วัยรุ่นเน้นที่รูปลักษณ์ ขณะที่เด็ก คนโสด คนทำงานบริษัทกินผักน้อยที่สุด เพื่อปรับพฤติกรรมการกิน สสส.จึงรณรงค์เพื่อปรับพฤติกรรมการกิน รวมถึงการทำงานเชิงนโยบายเพื่อส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเข้าถึงอาหารสุขภาพมากยิ่งขึ้น 

- กัญชา หลังจากที่กัญชาได้รับการปลดล็อกอนุญาตให้ใช้ทางการแพทย์เพื่อการรักษาผู้ป่วย โรคที่กรมการแพทย์ประกาศรับรองว่าสามารถใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาทางการแพทย์มีเพียง 4 โรค คือ  ภาวะคลื่นไส้อาเจียนจากเคมีบำบัด โรคลมชักที่รักษายากและโรคลมชักที่ดื้อต่อยารักษา ภาวะกล้ามเนื้อหดเกร็งในผู้ป่วยโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง และภาวะปวดประสาท

ขณะที่โลกออนไลน์ที่ระบุถึงสรรพคุณในการใช้กัญชาเพื่อรักษาโรคไปไกลมากกว่าที่ได้มีการรับรอง ขณะที่งานวิจัยเรื่องกัญชายังมีอีกจำนวนมากจึงต้องมีการศึกษาเพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป

5 ข่าวปลอมสุขภาพที่มียอดแชร์มากที่สุด คือ อังกาบหนูรักษามะเร็ง, น้ำมันกัญชารักษามะเร็ง, หนานเฉาเว่ยสารพัดโรค, บัตรพลังงานรักษาสารพัดโรค และ ความฉลาดของลูกได้จากแม่มากกว่าพ่อ

  • กลุ่มผู้สูงอายุ ประเด็นที่น่าจับตาคือ

- Fake news จากการสำรวจบนโลกออนไลน์พบว่า 5 ข่าวปลอมสุขภาพที่มียอดแชร์มากที่สุด คือ อังกาบหนูรักษามะเร็ง, น้ำมันกัญชารักษามะเร็ง, หนานเฉาเว่ยสารพัดโรค, บัตรพลังงานรักษาสารพัดโรค และ ความฉลาดของลูกได้จากแม่มากกว่าพ่อ เพจที่เผยแพร่ข่าวปลอมแล้วได้รับยอดแชร์มากที่สุดส่วนมากเป็นเพจที่ตั้งชื่อเป็นสำนักข่าว แต่ไม่ใช่สื่อหลัก  ส่วนเพจที่ให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับข่าวปลอมและได้รับยอดแชร์มากที่สุด เป็นเพจสำนักข่าวเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้น หมอแล็บแพนด้า ที่ไม่ใช่เพจสำนักข่าว แต่ได้รับยอดแชร์มากที่สุด  

  • ไม่มีการจำกัดกลุ่ม มีผลกระทบกับทุกคน

- ฝุ่น P.M. 2.5 เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 5 ของประชากรโลกในปี 2558 องค์การอนามัยโลกประกาศให้ในปี 2559 ทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากมลพิษทางอากาศ 7 ล้านคน ซึ่ง 91% เกิดในประเทศภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแปซิฟิกตะวันตก

หากดูจากค่าความเข้มของฝุ่น PM 2.5 ในกทม. ย้อนหลังจะพบแนวโน้มฝุ่นพิษเกิดขึ้นในช่วงเดือนม.ค.ถึง มี.ค. ซึ่งเด็กและผู้สูงอายุจัดเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง จึงร่วมกับเครือข่ายอากาศสะอาดประเทศไทยจัดทำข้อเสนอแนะในการจัดการฝุ่นตั้งแต่ต้นทางทั้งเขตเมือง ภาคการเกษตรและภาคอุตสาหกรรม

- ขยะอาหาร หรืออาหารส่วนเกิน คนไทยสร้างขยะอินทรีย์ที่บางส่วนเป็นขยะอาหารเฉลี่ยปีละ 254 กิโลกรัมเป็นอย่างน้อย มากกว่าชาวฝรั่งเศส 30% และมากกว่าชาวอเมริกัน 40% ขณะที่การจัดการขยะจากงานวิจัยของทีดีอาร์ไอพบว่า การกำจัด โดยการเผา ฝังกลบ เป็นวิธีการที่หลายประเทศแนะนำให้ทำน้อยที่สุด ขณะที่ประเทศไทยใช้วิธีการนี้มากที่สุด ดังนั้นภาครัฐ ในระดับนโยบายควรสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการลดขยะอาหารและการนำอาหารที่ต้องทิ้งไปใช้ประโยชน์อื่นหรือนำไปบริจาคแทนการฝังกลบ

10 เทรนด์พฤติกรรมสุขภาพที่น่าจับตาในปีหน้าก็ยังคงเป็นประเด็นต่อเนื่องจากปี 2562 หรือเป็นหัวข้อที่พูดถึงตลอดในปีนี้ สำหรับปี 2563 ต้องรอดูว่าพฤติกรรมเหล่านี้มีแนวโน้มจะมากขึ้นหรือลดลง แต่ที่แน่ ๆ ผลพวงของสุขภาพที่น่าห่วงก็มาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตในแต่ละวันของเราทั้งสิ้น  การจับตาดูอย่างเดียวอาจจะไม่ใช่ทางเลือกที่ดี แต่การลงมือทำเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงอาจจะเป็นทางออกให้เราทุกคนก็ได้