องค์กรครู ยื่นเสนอแก้กม.2ฉบับแก่รัฐสภา

กลุ่มเครือข่ายองค์กรครูทั่วประเทศ ยื่นหนังสือเสนอแก้กม.2 ฉบับแก่ทางรัฐสภา ยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคสช. ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการศึกษา และระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ฉบับที่ 5 ) พ.ศ. ...หวังช่วยพี่น้องครู
วันนี้ (4 ธ.ค.2562) ชมรมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแห่งประเทศไทย (ชร.ผอ.สพท.) และภาคีเครือข่ายองค์กรครูทั่วประเทศ กว่า 20 คน ได้เดินทางไปยื่นหนังสือเสนอแก้กฎหมาย 2 ฉบับ แก่ทางรัฐสภา โดยมีสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร มาเป็นผู้รับหนังสือ
นายธนชน มุทาพร ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) ชัยภูมิ เขต 1 และประธานชร.ผอ.สพท.กล่าวว่า การมายื่นเสนอกฎหมาย 2 ฉบับในครั้งนี้ เพื่ออาศัยช่องทางรัฐธรรมนูญในมาตรา133 ต้องเป็นประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งและต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน สามารถใช้สิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ได้ โดยกฎหมาย 2 ฉบับที่มายื่น คือ (ร่าง)พระราชบัญญัติยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ...
ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ประกาศว่าโดยที่เป็นการสมควรให้มีกฎหมายว่าด้วย ยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติยกเลิกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่เกี่ยวข้องกับการปฏิรูปการศึกษา ของกระทรวงศึกษาธิการ”
มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่ วันที่ถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้ยกเลิก(1) คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 16/2560 เรื่อง การบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ลงวันที่ 21 มีนาคม พุทธศักราช 2560 ข้อ 1 ข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 8 ข้อ 11 ข้อ 12 ข้อ 13 และ ข้อ 14 (2) คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของกระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 เมษายน พุทธศักราช 2560 ข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4
ข้อ 8 (1)เฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (5) (8) ข้อ 9 และข้อ 11 (1) (6) (8) ข้อ 12 เฉพาะอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเฉพาะงานที่เกี่ยวกับ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และอ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา และ ข้อ 13
มาตรา 4 บรรดา คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ยกเลิกตามมาตรา 3 ให้กลับไปใช้พระราชบัญญัติที่ถูกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ตามมาตรา 3 ยกเลิก มาตรา 5 การใดที่ดำเนินการตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ยกเลิกตามมาตรา 3ที่ดำเนินการแล้ว ให้มีผลผูกพันตามกฎหมายได้ เว้นแต่การใดที่ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จให้โอนอำนาจหน้าที่ให้เป็นไปตามมาตรา 4
ส่วนฉบับที่ 2 ที่เสนอยื่น คือ (ร่าง) พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(ฉบับที่ 5 ) พ.ศ. ....โดยมีสาระดังนี้ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ มหิศรภูมิพลราชวรางกูร กิติสิริสมบูรณอดุลยเดช สยามินทราธิเบศรราชวโรดม บรมนาถบพิตร พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยคำแนะนำและยินยอมของรัฐสภา ดังต่อไปนี้ มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา(ฉบับที่ 5 ) พ.ศ. ....” มาตรา 2 พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้ ในมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 “(4) คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 16/2560 เรื่อง การบริหารงานบุคคลของ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ลงวันที่ 21 มีนาคม พุทธศักราช 2560 ข้อ 1 ข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4ข้อ 5 ข้อ 6 ข้อ 8 ข้อ 11 ข้อ 12 ข้อ 13 และ ข้อ 14 (5) คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาในภูมิภาคของ กระทรวงศึกษาธิการ ลงวันที่ 3 เมษายน พุทธศักราช 2560 ข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 8 (1) เฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
(5) (8) ข้อ 9 และ ข้อ 11 (1) (6) (8) ข้อ 12 เฉพาะอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเฉพาะงานที่เกี่ยวกับ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และอ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา และ ข้อ 13
มาตรา 4 ให้ยกเลิกความในมาตรา 25 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน“มาตรา 25 ให้มีคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาสามัญประจำส่วนราชการเรียกโดยย่อว่า “อ.ก.ค.ศ. ส่วนราชการ” โดยออกนามส่วนราชการ ประกอบด้วย(1) หัวหน้าส่วนราชการ เป็นประธาน (2) รองหัวหน้าส่วนราชการ ที่ได้รับมอบหมายหนึ่งคนเป็นรองประธาน
(3) ผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งแต่งตั้งจากบุคคลซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์สูงในด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการศึกษาและด้านกฎหมาย จำนวนสามคน (4) รองเลขาธิการ ก.ค.ศ. หรือผู้แทนสำนักงาน ก.ค.ศ. ที่เลขาธิการ ก.ค.ศ. มอบหมายหนึ่งคน (5) ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งดำรงตำแหน่งประเภทบริหารหรือประเภทอำนวยการ และประเภทดำรงตำแหน่งสายงานการสอนประเภทละหนึ่งคนให้หัวหน้าส่วนราชการตั้งข้าราชการในส่วนราชการนั้นเป็นกรรมการและเลขานุการหนึ่งคนและผู้ช่วยเลขานุการไม่เกินสองคน
คุณสมบัติ หลักเกณฑ์ วิธีการได้มาและระยะเวลาการดำรงตำแหน่ง และการพ้นจากตำแหน่ง
ของ อ.ก.ค.ศ. ส่วนราชการ (3) (5)ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ค.ศ.มาตรา 25/1 อ.ก.ค.ศ. ส่วนราชการ มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไป(1) เสนอแนะ ก.ค.ศ. เกี่ยวกับนโยบายการผลิตและการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษาในส่วนราชการ (2) พิจารณากำหนดนโยบายเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในส่วนราชการ รวมทั้ง วางแผนอัตรากำลัง เกณฑ์อัตรากำลัง การกำหนดจำนวนและอัตราตำแหน่งการเกลี่ย อัตรากำลังให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารงานบุคคล ระเบียบ หลักเกณฑ์และวิธีการที่ ก.ค.ศ.กำหนด(3) พิจารณาให้ความเห็นชอบการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในส่วนราชการที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของหัวหน้าส่วนราชการ(4) พิจารณาเกี่ยวกับการดำเนินการทางวินัยและการสั่งให้ออกจากราชการ การอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้(5) พิจารณาแต่งตั้ง อ.ก.ค.ศ. วิสามัญ เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานของ อ.ก.ค.ศ. ส่วนราชการ ได้ตามความจำเป็น
(6) ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนา การเสริมสร้างขวัญกำลังใจ การปกป้องคุ้มครองระบบคุณธรรม การจัดสวัสดิการ และการยกย่องเชิดชูเกียรติข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในส่วนราชการ
(7) กำกับ ดูแล ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและ บุคลากร
ทางการศึกษาในส่วนราชการ ในการนี้ให้มีอำนาจเรียกเอกสารและหลักฐานจากหน่วยงานการศึกษา ให้ผู้แทนของหน่วยงานการศึกษาหรือบุคคลใดมาชี้แจงข้อเท็จจริง กรณีปฏิบัติไม่ถูกต้องและไม่เหมาะสม หรือปฏิบัติการโดยขัดหรือแย้งกับกฎหมาย กฎ ก.ค.ศ. ระเบียบ หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด
(8) จัดทำ พัฒนา และบูรณาการฐานข้อมูลข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในส่วนราชการ(9) จัดทำรายงานประจำปีที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาเพื่อเสนอ ก.ค.ศ.(10) ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ กฎหมายอื่น หรือตามที่ ก.ค.ศ. มอบหมาย
มาตรา 5 ให้ยกเลิก มาตรา 38 ค ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นแห่งพระราชบัญญัติระเบียบ
ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 และให้ใช้ข้อความต่อไปนี้แทน
มาตรา 38 ค ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่น มีดังต่อไปนี้(1) ศึกษานิเทศก์(2) รองศึกษาธิการจังหวัด ศึกษาธิการจังหวัด(3) ตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นตามที่ ก.ค.ศ. กำหนด หรือตำแหน่งของข้าราชการที่ ก.ค.ศ.นำมาใช้กำหนดให้เป็นตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามพระราชบัญญัตินี้
“การกำหนดระดับตำแหน่ง และการให้ได้รับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของตำแหน่งบุคลากรทาง
การศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค (3) ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎ ก.ค.ศ. โดยให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วย
เงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา”เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ก.ค.ศ. อาจกำหนดตำแหน่งหรือเปลี่ยนตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาประเภทตำแหน่งผู้บริหารการศึกษาบางตำแหน่งเป็นประเภทตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค. (2) (3) ก็ได้มาตรา 6 ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
“เราพยายามเรียกร้องให้อดีตหัวหน้าคสช.ปรับปรุงแก้ไขก็ไม่ยอมแก้ไข ซึ่งทางรัฐสภาน่าจะเป็นช่องทางที่ยกเลิกหรือแก้ไขคำสั่งนี้ได้ เพื่อให้การศึกษาในภูมิภาคเดินไปข้างหน้าอย่างมีความมั่นคง โดยเหตุผลของการดำเนินการครั้งนี้ เนื่องจากหัวหน้าคสช. ได้มีคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 16/2560 เรื่องการบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และคำสั่งหัวหน้าคสช. ที่ 19/2560 เรื่อง การปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค"”นายธนชน กล่าว
จากคำสั่งทั้ง2 ฉบับดังกล่าวเมื่อนำไปสู่การปฏิบัติกลับมีปัญหาในขั้นตอนการปฏิบัติหลายประการ อาทิ ความซ้ำซ้อนของหน่วยงานและภารกิจ เกิดความล่าช้าในการดำเนินงานขาดการมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและเป็นการรวมอำนาจเข้าสู่พื้นที่จังหวัด จึงส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการของหน่วยงานการศึกษาในพื้นที่ที่ขาดอิสระต่อการบริหารจัดการศึกษาให้สอดคล้องเหมาะสมตามบริบทของหน่วยงานการศึกษาแต่ละแห่ง
รวมทั้งไม่สอดคล้องกับหมวด 5 การลดขั้นตอนการปฏิบัติงานตามพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหาร กิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 และไม่สอดคล้องกับ ข้อ 16 ของระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยงานสารบรรณพ.ศ.2526 และแก้ไข เพิ่มเติม จึงเรียกร้องและฝากความหวังจากทางสส.สว.ให้ความเห็นใจของพี่น้องครูไทยทั่วประเทศ เพ่ออนาคตการศึกษาไทย เพราะเมื่อครูมีคุณภาพ เด็กไทยก็จะมีคุณภาพขึ้นมา
'คนละครึ่ง' ลงทะเบียน 20 ม.ค.นี้ ใครไม่มีสิทธิ์รับเงิน 3,500 บาทบ้าง?
‘เราชนะ’ วันนี้ลุ้น! ครม. อนุมัติหลักเกณฑ์จ่าย 'เงินเยียวยา' 31 ล้านคน
'คนละครึ่งเฟส 2' รอบเก็บตก เคยถูกตัดสิทธิ 14 วัน ลงได้อีกหรือไม่?
'ทรัมป์' ร่วง รีพับลิกันล่ม ประชาธิปไตยรุ่ง
"Weekly Oil" report 18 January 2021
'ตลาดหุ้น' ที่ไหนจะรุ่ง ที่ไหนจะร่วง ในปี 2021