ไทยออยล์คาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์"ราคาน้ำมัน" 4 - 8 พ.ย. 62 และสรุปสถานการณ์ฯ 28 ต.ค. - 1 พ.ย. 6

ไทยออยล์คาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์"ราคาน้ำมัน" 4 - 8 พ.ย. 62 และสรุปสถานการณ์ฯ 28 ต.ค. - 1 พ.ย. 6

ราคาน้ำมันดิบผันผวนต่อเนื่องจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่ยังไร้ข้อสรุป

ไทยออยล์คาดราคาน้ำมันดิบเวสต์เทกซัสในสัปดาห์นี้จะเคลื่อนไหวที่กรอบ 54 – 59 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนน้ำมันดิบเบรนท์เคลื่อนไหวที่กรอบ 59 - 64 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล

แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบ (4 - 8 พ.ย. 62)

ราคาน้ำมันดิบคาดจะยังคงผันผวนต่อเนื่อง แม้ว่าการเจรจาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนจะมีความก้าวหน้าในเรื่องของหลักการสำหรับข้อตกลงในเฟส 1 แล้ว แต่ยังคงไร้ข้อสรุปว่าทั้ง 2 ประเทศจะสามารถบรรลุข้อตกลงร่วมกันได้เมื่อไหร่ โดยหากได้ข้อสรุปล่าช้ากว่าวันที่ 15 ธ.ค. จะส่งผลให้สหรัฐฯ มีการเดินหน้าปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนในรอบต่อไป ซึ่งประเด็นดังกล่าวสร้างความกังวลต่อตลาดว่าการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจโลกและความต้องการใช้น้ำมันจะยังคงชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ราคาน้ำมันดิบยังได้รับแรงกดดันจากปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น หลังปริมาณความต้องการใช้ยังคงอยู่ในระดับต่ำ รวมถึง ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ที่ยังคงอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบได้รับแรงหนุนจากปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของกลุ่มผู้ผลิตทั้งในและนอกโอเปคที่มีแนวโน้มปรับลดลงตามข้อตกลงการปรับลดกำลังการผลิต และเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้น หลังธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

ปัจจัยสำคัญที่คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์นี้:

  • จับตาการเจรจาสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนว่าจะสามารถบรรลุข้อตกลงได้ในเร็วนี้หรือไม่ โดยล่าสุดทางด้านสหรัฐฯ และจีนได้เปิดเผยทั้งสองประเทศได้มีการเห็นพ้องต้องกันในเรื่องของหลักการของร่างของข้อตกลงใน เฟส 1 (Phase I) ซึ่งได้บรรลุข้อตกลงในเรื่องของสินค้าเกษตร รวมถึงการเปิดเสรีในภาคการเงิน อย่างไรก็ตาม ทางด้านสหรัฐฯ และจีน ยังไม่ได้มีการเปิดเผยว่าจะมีการเซ็นสัญญาสำหรับข้อตกลงนี้เมื่อใด หลังการประชุม APEC ในวันที่ 16-17 พ.ย. ที่ชิลีที่จำเป็นต้องยกเลิกไป เนื่องจากเกิดเหตุประท้วงที่บานปลาย ส่งผลให้จะต้องหาที่ในการลงนามกันใหม่ ทั้งนี้ หากทั้งสองประเทศไม่สามารถตกลงกันได้ก่อนวันที่ 15 .. จะส่งผลให้สหรัฐฯ มีการปรับเพิ่มภาษีนำเข้าจากจีนและประเด็นดังกล่าวคาดจะสร้างแรงกดดันต่อเศรษฐกิจโลกและความต้องการใช้น้ำมันอย่างต่อเนื่อง
  • ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ มีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น หลังคาดความต้องการใช้น้ำมันดิบยังคงอยู่ในระดับต่ำในช่วงฤดูกาลปิดซ่อมบำรุงของโรงกลั่น รวมถึง ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ที่ยังคงอยู่ในระดับสูง โดยสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ประจำสัปดาห์ สิ้นสุดวันที่ 25 ต.ค. 62 ปรับเพิ่มขึ้นกว่า 7 ล้านบาร์เรล ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับเพิ่มขึ้นเพียง 0.5 ล้านบาร์เรล เนื่องจากปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบและปริมาณการผลิตของสหรัฐฯ ยังอยู่ในระดับสูง นอกจากนี้ ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ณ จุดส่งมอบคุชชิ่ง โอกลาโฮมา ปรับเพิ่มขึ้นต่อเนื่องกว่า 4 สัปดาห์ติดต่อกัน โดยในสัปดาห์ล่าสุดปรับเพิ่มขึ้นกว่า 1.6 ล้านบาร์เรล
  • จับตาปริมาณการผลิตน้ำมันดิบจากสหรัฐฯ หลัง EIA เปิดเผยว่า ในปีหน้าตลาดน้ำมันดิบจะเผชิญแรงกดดันจากอุปทานที่ล้นตลาดจากการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯ ที่ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงปริมาณการผลิตน้ำมันดิบจากบราซิลและแคนาดาที่คาดจะปรับเพิ่มขึ้นในปีหน้าด้วยเช่นกัน โดยปริมาณการผลิตน้ำมันดิบจากสหรัฐฯ คาดจะแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ราว 26 ล้านบาร์เรลต่อวันในปีนี้ ส่งผลให้ตลาดต้องการปริมาณการผลิตน้ำมันดิบจากโอเปคลดลง
  • ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบจากกลุ่มโอเปคและประเทศพันธมิตร (OPEC+) คาดจะยังคงอยู่ในระดับที่จำกัด หลังตลาดคาดกลุ่มผู้ผลิตจะขยายระยะเวลาของข้อตกลงการปรับลดกำลังการผลิตออกไปจากกำหนดการเดิมที่จะสิ้นสุดในเดือน มี.. 63 โดยระดับความร่วมมือในการปรับลดกำลังการผลิตล่าสุดของกลุ่มผู้ผลิตอยู่ในระดับสูงกว่า 100% โดยกลุ่มโอเปคพลัสจะทำการประชุมเพื่อหารือกันถึงปริมาณการผลิตน้ำมันดิบในการประชุมวันที่ 5-6 ธ.ค. 62
  • เศรษฐกิจที่น่าติดตามในสัปดาห์นี้ ได้แก่ ดัชนีภาคการผลิตและบริการสหรัฐฯ ดัชนีภาคการผลิตและบริการยูโรโซน และดัชนีภาคการบริการจีน

สรุปสถานการณ์ราคาน้ำมันในสัปดาห์ที่ผ่านมา (28 .. – 1 พ.ย. 62)

ราคาน้ำมันดิบเวสต์เทกซัสในสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับลดลง 0.46 ดอลลาร์สหรัฐฯ มาอยู่ที่ 56.20 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ในขณะที่ ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ปรับลดลง 0.33 ดอลลาร์สหรัฐฯ มาอยู่ที่ 61.69 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบดูไบปิดเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 58.8 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล หลังได้รับแรงกดดันจากปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ โดยในสัปดาห์ล่าสุด ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้นสูงถึงราว 5.7 ล้านบาร์เรล ซึ่งมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะปรับเพิ่มขึ้น 0.5 ล้านบาร์เรล เนื่องจากปริมาณการนำเข้าน้ำมันดิบจากแคนาดาปรับเพิ่มขึ้นค่อนข้างมาก รวมถึง ความต้องการใช้น้ำมันดิบที่ยังอยู่ในระดับต่ำในช่วงฤดูกาลปิดซ่อมบำรุงของโรงกลั่น นอกจากนี้ ราคายังได้รับแรงกดดันจากความไม่แน่นอนจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน ที่อาจจะได้ข้อสรุปล่าช้ากว่ากำหนดการเดิมในช่วง พ.. 62 อย่างไรก็ตาม ราคายังได้รับแรงหนุนจากปริมาณการผลิตน้ำมันดิบจากกลุ่มผู้ผลิตทั้งในและนอกโอเปคที่มีแนวโน้มปรับลดลง หลังกลุ่มผู้ผลิตมีแนวโน้มขยายระยะเวลาการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบไปจากข้อตกลงเดิม

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

-ไทยออยล์คาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์'ราคาน้ำมัน' 4

-ไทยออยล์คาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมัน 30

-ไทยออยล์คาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมัน 26

-ไทยออยล์คาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมัน 23

-ไทยออยล์คาดการณ์แนวโน้มสถานการณ์ราคาน้ำมัน 19