ชิม-ช้อป-ใช้ กระตุ้นตรงจุด หนุนหุ้นบริโภคยกกลุ่ม

ชิม-ช้อป-ใช้ กระตุ้นตรงจุด หนุนหุ้นบริโภคยกกลุ่ม

สร้างกระแสในโลกโซเซียลแทบแตกเมื่อมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อภายในประเทศ ‘ชิม ช้อป ใช้’เปิดให้ลงทะเบียนวันแรกวานนี้ (23 ก.ย.) ทำเอาขาช้อป-ขาเที่ยว แห่ลงทะเบียนจนเต็มโค้วต้าวันละ 1 ล้านคนในช่วงครึ่งวันแรก

ตามมาตรการต้องการส่งเสริมการท่องเที่ยวและการใช้จ่ายภาย ซึ่งประชาชนต้องลงทะเบียนใช้สิทธิลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์ www.ชิมช้อปใช้.com ระหว่างวันที่ 23 ก.ย. -15 พ.ย. 2562 แบ่งเป็นลงทุนทะเบียนวันละ 1 ล้านคนต่อวัน ต่อเนื่องทุกวันจนกว่าจะครบ 10 ล้านคน เพื่อรับเงินใช้จ่ายตามมาตรการคนละ 1,000 บาท

โดยต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทยอายุ 18 ปีขึ้นไป ณ วันที่ลงทะเบียน มีโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนที่สามารถเชื่อมต่อสัญญาณอินเตอร์เน็ต มีอี-เมล์ของตัวเอง จากนั้นรอรับผลการลงทะเบียนรับสิทธิภายใน 3 วันทำการ

จากนั้นดาวน์โหลดแอฟพิเคชั่น ‘เป๋าตัง’ เพื่อรับจำนวนที่สามารถใช้จ่ายผ่านแอพ ฯ เท่านั้น 1,000 บาท ซึ่งเมื่อได้รับสิทธิแล้วจะต้องเดินทางไปเที่ยวในจังหวัดที่ใช่จังหวัดในทะเบียนบ้านของตนเอง ภายใน 14 วันหลังได้รับการยืนยันสิทธิ เพราะหากเกินเวลาเงินจะถูกดึงกลับ) และหากมีการเริ่มใช้สิทธิแล้วจะสามารถใช้วงเงิน 1,000 บาทต่อไปได้จนถึงวันที่ 30 พ.ย.62

นอกจากการรับเงิน 1,000 บาทแล้ว ผู้ที่ลงทะเบียนยังสามารถรับเงินคืน (Cash Back) ได้อีกด้วย โดยหากมีการเติมเงินส่วนตัวเพื่อใช้จ่ายผ่านแอพฯเพิ่มเติม เนื่องจากรัฐบาลจะชดเชยเงินคืนให้เป็นจำนวนเท่ากับ 15% ของยอดชำระเงินที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 4,500 บาทต่อคน

ตามการประเมินผลสะท้อนกลับมายังเศรษฐกิจไทยแล้ว จากมาตรการดังกล่าวที่ภาครัฐใช้วงเงิน 20,000 ล้านบาท คาดการณ์ว่าจะสามารถกระตุ้นจีดีพีเพิ่มขึ้น 0.1-0.2 % ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบเป็นเม็ดเงินจากจีดีพี มูลค่า 17 ล้านล้านบาท มาตรการดังกล่าวมีผลต่อจีดีพี 17,000-34,000 ล้านบาท

ภาคของประชาชนเป็นการเพิ่มจิตวิทยาการใช้เงินผ่านมาตการดังกล่าว เพื่อกระตุ้นให้มีการใช้จ่ายอาหาร ท่องเที่ยว เพราะค่าใช้จ่ายที่สามารถใช้ผ่านแอพฯ ได้นั้น ประกอบไปด้วย ค่าอาหารและเครื่องดื่ม ค่าที่พัก ค่าซื้อสินค้าท้องถิ่น ค่าซื้อสินค้าและบริการจากร้านธงฟ้าประชารัฐ ค่าบริการที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวในท้องถิ่น เช่น สปา รถเช่า บริการนำเที่ยวในพื้นที่ ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าจะมีเม้ดเงินสะพัดถึง 1 แสนล้านบาท

แน่นอนว่าด้านผู้ประกอบการได้รับผลบวกจากมาตรการนี้เต็มๆ เนื่องจากมีร้านค้าเข้ารวม 150,000 ราย ตามข้อมูลกระทรวงการคลัง มีทั้งร้านประเภทชิม ร้านค้าประเภทช้อป และยังรวมกับร้านค้าธงฟ้าประชารัฐที่มีแอพฯ ถุงเงินเดิมอยู่แล้วกว่า 50,000 ร้านค้า

หากเทียบกับมาตรการก่อนหน้านี้การลดหย่อนภาษีสำหรับค่าใช้จ่าย ในการซื้อสินค้าเพื่อการศึกษาและกีฬา ไม่เกิน 15,000 บาท (ตั้งแต่ 1 พ.ค. – 30 พ.ค. ) กลับไม่ได้ผลต่อภาพเศรษฐมากหนัก ด้วยระยะเวลาที่น้อย และโฟกัสไปที่กลุ่มผู้ปกครองที่มีบุตร เปรียบเทียบมาตรการรอบนี้พุ่งเป้าไปที่การท่องเที่ยวที่คนส่วนใหญ่ชื่นชอบและใช้จ่ายต่อคนต่อครั้งมากกว่า 1,000 บาทอยู่แล้ว ทำให้คาดการณ์ได้ว่าจะช่วยหนุนเศรษฐกิจไตรมาสสุดท้ายของปีได้เป็นอย่างดี

เมื่อมาดูกลุ่มธุรกิจที่ได้รับผลบวกกลุ่มแรก เกี่ยวกับการท่องเที่ยวทั้งสนามบิน โรงแรม รถเช่า บริการอื่นที่เกี่ยวข้อง ซึ่งที่ผ่านมาได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจภายในประเทศที่ชะลอตัวบวกกับนักท่องเที่ยวชาวจีนที่จะไม่กลับมาฟื้นตัวเท่าก่อนปี 2561 ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากค่าเงินบาทของไทยที่ผ่านมาแข็งค่าอันดับต้นๆในเอเชีย และเมื่อเทียบกับค่าเงินหยวนแข็งค่ามากถึง 6 %

กลุ่มอาหารและค้าปลีกถือว่าเป็นธุรกิจได้รับผลดีไม่ต่างกัน ซึ่งกลุ่มนี้เผชิญปัจจัยลบไม่แตกต่างจากกลุ่มท่องเที่ยว โดยเฉพาะการใช้จ่ายภายในประเทศที่หดตัวกระทบยอดขายต่อสาขาเดิม (SSSG) ลดลงชัดเจนในช่วงไตรมาส 2 และคาดว่าจะลดลงหนักสุดในไตรมาส 3

 บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเอสแอล มองว่าจะสนับสนุนการจับจ่ายใช้สอย เพื่อให้ร้านค้ามีลูกค้าเพิ่มขึ้นและมีทุนหมุนเวียนในการประกอบกิจการมากขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อไปในระยะยาว ขณะที่ภาคการท่องเที่ยวของไทยนั้นยังสามารถเติบโตได้ดี ทั้งที่มีปัจจัยกดดันจากภาวะเศรษฐกิจอย่างมาก

คาดว่าการท่องเที่ยวของไทยจะเริ่มพีคในช่วงไตรมาส 4 ปี 2562 หลังรัฐบาลออกมาตรการกระตุ้นท่องเที่ยวในประเทศและมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว “ชิม ช้อป ใช้” ด้านกลยุทธ์การลงทุน ชอบ SPA(ธุรกิจด้านสปา) ASAP(ธุรกิจด้านรถยนต์ให้เช่า) ERW CENTEL MINT AOT

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
-ยอดกระฉูดลงทะเบียนชิมช้อปใช้
-BIG STORY : ดีเดย์วันนี้ลงทะเบียน 'ชิมช้อปใช้' รัฐแจกคนล่ะ 1,000 บาท | 23 ก.ย. 62
-วันแรก! ลงทะเบียน 'ชิมช้อปใช้' แจก1พันบาทเที่ยวไทย
-กรุงไทย ชี้ยอดลงทะเบียน‘ชิมช้อปใช้’พุ่งครบ 1ล้านรายแล้วจ้า