รมว.อว.กลับถิ่นเก่าม.มหิดล ชมเป็นมหา'ลัยแห่งปัญญาของแผ่นดิน

รมว.อว.กลับถิ่นเก่าม.มหิดล ชมเป็นมหา'ลัยแห่งปัญญาของแผ่นดิน

"ดร.สุวิทย์" รมว.อุดมศึกษาฯ กลับถิ่นเก่า "ม.มหิดล" ชมเป็นมหา'ลัยสร้างปัญญาของแผ่นดิน

ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โพสต์เฟซบุ๊ค ระบุว่า ได้มีโอกาสพบกับคณะผู้บริหาร อาจารย์ และผู้แทนนักศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่ผมจบการศึกษามา

จากการจัดอันดับของ Times Higher Education ปี 2018 มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย และอันดับ 104 ของเอเชียครับ มหาวิทยาลัยมหิดลได้ตั้งเป้าไว้ว่าจะเป็น World Class University และติด 100 อันดับแรกของโลกภายในปี 2030 ซึ่งผมมีความเชื่อมั่นว่ามหาวิทยาลัยมหิดลมีศักยภาพที่จะทำได้ โดยกระทรวงการอุดมศึกษาฯ จะให้การสนับสนุน และเราน่าจะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยยะภายใน 5 ปีครับ ผมมองว่า มหาวิทยาลัยมหิดล ควรเป็นเสาหลักของประเทศในการ Reinvent Healthcare System ของประเทศ สร้าง Deep-Tech Innovation ที่เป็น Inclusive Innovation และทำงานวิจัยด้านการแพทย์และสาธารณสุขให้โดดเด่น ทั้งในระดับ Local, Regional และ International

รมว.อว.กลับถิ่นเก่าม.มหิดล ชมเป็นมหา\'ลัยแห่งปัญญาของแผ่นดิน

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วครับว่า มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่และมีความโดดเด่นในเรื่องการแพทย์และสาธารณสุข แต่ในปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมหิดลมีความโดดเด่นในศาสตร์อื่นๆด้วย เช่น ด้านดนตรี ศิลปะ และภาษา ผมขอย้ำว่า ทุกศาสตร์มีความสำคัญครับ “คน” จะมีความเป็น “มนุษย์” อย่างสมบูรณ์ได้ ต้องรวม Art & Science เข้าด้วยกัน ซึ่งมหาวิทยาลัยมหิดล ก็ได้บูรณาการศาสตร์ต่างๆเหล่านี้ ไว้ในการวิจัยและการเรียนการสอน

"ผมได้รับฟังถึงโครงการมหิดลอาสาทำความดี ซึ่งเป็นโครงการที่บัณทิตวิทยาลัยนำความรู้ในสาขาที่ตนเองเชี่ยวชาญต่างๆ ไปร่วมกันช่วยแก้ปัญหาที่ชุมชนประสบอยู่ โดยทำร่วมกับโรงเรียนในชุมชน เช่น การพัฒนาทักษะภาษาภาษาอังกฤษของนักเรียน การทำน้ำสะอาดด้วยเครื่องกรองน้ำ การแยกขยะ โครงการนี้มีวัตถุประสงค์ที่ดีมากครับ แต่หลังจากที่จบโครงการและนักศึกษาออกมาจากพื้นที่ ชุมชนก็ไม่สามารถทำต่อ ไม่มีความต่อเนื่อง และไม่สามารถขยายไปยังชุมชนอื่น ผมมองว่าเรื่องนี้ควรได้รับการสนับสนุน และนักศึกษาควรฝึกกระบวนการคิดแบบองค์รวม หาวิธีทำให้ชุมชนอยู่ได้ด้วยตัวเองอย่างยั่งยืน ทำให้ชุมชนเกิดกระบวนการเรียนรู้แบบไม่ยัดเยียดแต่ต้องตอบโจทย์ความต้องการของชุมชนจริงๆ ผมขอชื่นชมความตั้งใจในการทำงาน การตั้งโจทย์ที่ท้าทาย การบูรณาการรวมศาสตร์ต่างๆ และการร่วมกันลงมือทำงาน เพื่อแก้ไขปัญหาที่ชุมชมประสบอยู่ สมกับที่มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นปัญญาของแผ่นดิน"