Trade war อีกแล้วครับท่าน

Trade war อีกแล้วครับท่าน

รอซื้อช่วงอ่อนตัวโดยเน้นหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยบวกสนับสนุน เช่น งบ 2Q19 เติบโตขึ้น รวมถึงหุ้นปันผลครึ่งปีเด่น

ลาดหุ้นวานนี้: SET Index ทรุดตัวลง -12.22 จุด (-0.71%) ปิดที่ระดับ 1,699 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 5.4 หมื่นล้านบาท จากความกังวล Fund Flow ชะลอตัวหลัง Fed ลดอัตราดอกเบี้ย 0.25% แต่ไม่ส่งสัญญาณการปรับลดดอกเบี้ยอีกในอนาคต นอกจากนี้ความกังวลการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐ-จีนที่ไม่มีความคืบหน้าก็เป็นอีกปัจจัยที่กดดันดัชนี ทั้งนี้เป็นแรงขายในกลุ่ม Fin, Media และ Cons  ส่วนนักลงทุนต่างชาติเป็นฝั่งขายสุทธิ 1,717 ล้านบาท และ Net Short TFEX จำนวน 11,617 สัญญา แต่ซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตร 4,198 ล้านบาท

แนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้: เรามีมุมมองเป็นลบคาด SET ปรับตัวลงทดสอบแนวรับ 1,680 - 1,685 จุด จากแรงกดดัน Trade war ที่กลับมาอีกครั้ง หลังสหรัฐจะเรียกเก็บภาษีสินค้านำเข้าจากจีนรอบใหม่เพิ่มขึ้นอีก 10% มูลค่า 3 แสนล้านดอลลาร์มีผล 1 ก.ย. ซึ่งจะกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจโลกให้ชะลอตัว รวมถึงความกังวล Demand การใช้น้ำมันกดดันให้ราคาน้ำมันดิบวานนี้ทรุดตัวลงแรงราว 7% ซึ่งเป็นลบต่อกลุ่มพลังงานและปิโตรฯ นอกจากนี้กระแส Fund Flow ที่พลิกเป็นลบหลัง Fed ไม่ส่งสัญญาณการลดดอกเบี้ยอีกในช่วงถัดไปจะยังคงเป็นตัวถ่วงต่อทิศทางดัชนีอีกด้วย ดังนั้น แนะนำให้รอซื้อช่วงอ่อนตัวโดยเน้นหุ้นรายตัวที่มีปัจจัยบวกสนับสนุน เช่น งบ 2Q19 เติบโตขึ้น รวมถึงหุ้นปันผลครึ่งปีเด่น

กลยุทธ์การลงทุน: Selective Buy

  • กลุ่มที่คาดว่างบ 2Q19 จะเติบโตขึ้น (EA, BGRIM, GPSC, CKP, TU, GFPT, TFG, CPALL, MTC, VGI, PLANB, MINT, VNT, WORK, MAJOR, JMT, PRM)
  • หุ้นปันผลครึ่งปีเด่น (INTUCH, ADVANC, KKP, TCAP, LH, QH)

หุ้นแนะนำวันนี้: KKP (ปิด 72.25 ซื้อ/เป้า 77 บาท) ราคาหุ้นยัง Laggard เมื่อเทียบกับ TISCO ( 3 เดือนที่ผ่านมา KKP +10% แต่ TISCO+20%) ทั้งที่ให้ Dividend yield ใกล้เคียงกันที่ 6-7%ต่อปี โดยที่ KKP มีปันผลระหว่างกาลขณะที่ TISCO จะจ่ายปันผลครั้งเดียว ณ ตอนสิ้นปี ประกอบกับตัวถ่วงของ KKP ใน 1Q19 คือธุรกิจหลักทรัพย์ แต่ปัจจุบันมูลค่าการซื้อขายปรับตัวขึ้นแล้วจึงไม่น่ากังวล อีกทั้งยังมีรายได้จากงาน IB ขนาดใหญ่หลายรายการ อาทิ ดีลควบรวม TMB + TBANK และ ดีล CRC ทำให้แนวโน้มกำไรน่าจะ Bottom ไปแล้ว, EA (ปิด 53.5 ซื้อ/เป้า 63) โดดเด่นในทุกธุรกิจ 1) ธุรกิจโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์และพลังงานลมคาดกำไรสุทธิทำ New high ต่อเนื่อง จากการรับรู้รายได้จากโรงไฟฟ้าพลังงานลมโครงการหนุมานกำลังการผลิตรวม 260MW ซึ่งเริ่ม COD ตั้งแต่ 1Q19 แต่จะรับรู้รายได้เต็มไตรมาสตั้งแต่ 2Q19, 2) ธุรกิจไบโอดีเซลได้อานิสงส์ภาครัฐส่งเสริมการใช้ B10 และ B20 จากเดิม B7 และ 3) ธุรกิจแบตเตอร์รี่ ล่าสุดได้ Sentiment บวกหลังจากรมว.พลังงานคนใหม่ประกาศสส่งเสริมโครงการ Energy Storage อย่างจริงจัง

KSS report วันนี้IVL (ปิด 40.75 ซื้อ/เป้า 57 บาท), Property sector (Top pick: AP)

ประเด็นสำคัญวันนี้:

  • (-) Trade war กดดันตลาด ทรัมป์เตรียมเรียกเก็บภาษีจีนรอบใหม่อีก 3 แสนล้านเหรียญฯ คาดเริ่มมีผลบังคับใช้ 1 ก.ย. 19: ดัชนีตลาดหุ้นดาวโจนส์ผันผวนหนักโดยเปิดตลาดดัชนีปรับตัวขึ้นแรงกว่า 300 จุด คาดหวังเฟดเดินหน้าลดดอกเบี้ยหลังจากตัวเลขกิจกรรมภาคการผลิตซึ่งจัดทำโดย ISM ออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาด อย่างไรก็ตามดัชนีปรับตัวลงอย่างรวดเร็วและปิดตลาดในแดนลบหลังจาก ประธานาธิบดีโดนัล ทรัมป์ ทวิตข้อความว่าเขาจะสั่งการให้สหรัฐเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนรอบใหม่มูลค่า 3 แสนล้านเหรียญฯ ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.19 นับเป็นข่าวที่เซอร์ไพรส์ตลาดเป็นอย่างมาก เพราะก่อนหน้านี้สหรัฐพึ่งจะชะลอการขึ้นภาษีดังกล่าวหลังจากทรัมป์ และ สี จิ้น ผิง ได้ข้อตกลงร่วมกันในการประชุม G20 ในช่วงปลายเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา Trade war ที่กลับมาตึงเครียดย่อมส่งผลทางลบต่อ Sentiment การลงทุนของหุ้นในกลุ่ม Global pay โดยเฉพาะ อิเล็กทรอนิกส์, น้ำมัน และ ปิโตรฯ
  • (-) กลุ่มธุรกิจน้ำมัน - น้ำมันดิบร่วงทำจุดต่ำสุดในรอบ 1 เดือนครึ่ง กังวลอุปสงค์หดตัว จากปัญหา Trade war ที่กลับมาตึงเครียดอีกครั้ง: ราคาน้ำมันดิบ WTI ร่วงแรงกว่า 4.63 ดอลลาร์ (-7.9%) ปิดที่ 53.95 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ต่ำสุดในรอบ 1 เดือนครึ่ง เนื่องจากนักลงทุนกังวลอุปสงค์น้ำมันดิบจะหดตัวหลังจากทรัมป์ จุดกระแสสงครามการค้าอีกครั้ง ด้วยการประกาศจะเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าจากจีนรอบใหม่ ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ก.ย. 19 เป็นต้นไป นอกจากนี้ตลาดยังถูกกดดันจากเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้นตอบรับเฟดไม่เร่งลดอัตราดอกเบี้ย (ราคาน้ำมันดิบกับค่าเงินดอลลาร์จะมีความสัมพันธ์ในทิศทางตรงกันข้าม)
  • (-) ตัวเลขกิจกรรมภาคการผลิตของสหรัฐยังไม่ดี ส่วนวันนี้ติดตามตัวเลข Nonfarm payrolls เพื่อจับทิศทางการลดดอกเบี้ยของเฟดในระยะถัดไป: ความหวังเฟดลดดอกเบี้ยยังมีอยู่เพราะตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐยังไม่ดี โดยเมื่อคืน ISM รายงานดัชนีภาคการผลิตของสหรัฐเดือน ก.ค. ลดลงสู่ระดับ 51.2 จาก 51.7 ในเดือน มิ.ย. สวนทางกับที่ตลาดคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 52  ขณะที่ Bond yield 10 ปี ของสหรัฐลดลงสู่ระดับ 1.88% ส่วนวันนี้ติดตามรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตร (Nonfarm payrolls) เดือน ก.ค.เพื่อจับสัญญาณความแข็งแกร่งของตลาดแรงงาน รวมไปถึงตัวเลขค่าจ้างต่อชั่วโมงโดยเฉลี่ยเพื่อดูทิศทางของเงินเฟ้อ โดย Consensus คาดตัวเลขการจ้างงานจะเพิ่มขึ้น 1.64 แสนตำแหน่งลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่เพิ่มขึ้น 1.91 แสนตำแหน่ง