พักตัว เน้นหุ้นงบ 2Q19 เด่น

พักตัว เน้นหุ้นงบ 2Q19 เด่น

Fund Flow ต่างชาติจะยังคงเป็นบวกหลัง Fed มีโอกาสปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุม 30 - 31 ก.ค.

ลาดหุ้นวานนี้: SET Index ทรุดตัวลงแรงปิด -14.14 จุด (-0.81%) ที่ระดับ 1,724 จุด มูลค่าการซื้อขาย 8.8 หมื่นล้านบาท เนื่องจากขาดปัจจัยใหม่กระตุ้นการลงทุน และมีแรงขายตามสัญญาณเทคนิคภาวะ Overbought รวมถึงความกังวลข่าวผู้ตรวจการแผ่นดินให้ทบทวนแผนการซื้อไฟฟ้า (PDP) ปี61 ให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ภาครัฐมีสัดส่วนการผลิตไฟฟ้า 51% ส่งผลให้มีแรงขายกลุ่ม ENERG และ PETRO กดดันดัชนี ทั้งนี้นักลงทุนต่างชาติเป็นฝั่งซื้อสุทธิ 1,600 ล้านบาท และซื้อสุทธิในตลาดพันธบัตร 2,453 ล้านบาท แต่ Net Short TFEX 6,534 สัญญา

แนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้: มุมมองเป็นกลางคาด SET Index แกว่งตัว 1,715 – 1,730 จุด เนื่องจากภาวะตลาดขาดปัจจัยใหม่กระตุ้นการลงทุน โดยแม้ว่าทิศทาง Fund Flow ต่างชาติจะยังคงเป็นบวกหลัง Fed มีโอกาสปรับลดอัตราดอกเบี้ยในการประชุม 30 – 31 ก.ค. อย่างไรก็ตามการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐ-จีนยังมีความไม่แน่นอนหลังมุมมองจีนกับสหรัฐขัดแย้งกัน โดยจีนต้องการให้สหรัฐยกเลิกการจัดเก็บภาษีทั้งหมด ส่วนทางสหรัฐมองว่าข้อตกลงการค้าควรจะเป็นประโยชน์ต่อสหรัฐ นอกจากนี้แรงขายทำกำไรระยะสั้นในหุ้นกลุ่มที่ดีดตัวขึ้นมาก เช่น กลุ่มโรงไฟฟ้า รวมถึงกลุ่มที่คาดว่าผลประกอบ 2Q19 จะชะลอตัว เช่น อิเล็กทรอนิคส์ และปิโตรเคมี จะเป็นแรงกดดันให้ดัชนีผันผวนสูง

กลยุทธ์การลงทุน: Selective Buy

  • กลุ่มที่คาดว่างบ 2Q19 จะเติบโตขึ้น (PTTEP, EA, BGRIM, GPSC, CKP ,CPF, GFPT, TFG, CPALL, MTC, THANI, VGI, PLANB, MINT, VNT, WORK, MAJOR)
  • กลุ่มขนส่งทางเรือ (PSL, TTA) อานิสงส์ค่าระวางเรือปรับตัวขึ้นต่อเนื่องล่าสุด 1,700 จุด

หุ้นแนะนำวันนี้: CPF (ปิด 29.75 ซื้อ/เป้า IAA Consensus สูงสุด 34) ราคาหมูและราคาไก่ในประเทศปรับตัวขึ้นทำสถิติสูงสุดในรอบ 36 เดือน และ 21 เดือนในเดือนมิ.ย.ที่ผ่านมา ขณะที่เรามอง Cycle ขาขึ้นรอบนี้จะยาวนานกว่าในอดีต เนื่องจากได้ผลบวกจากการแพร่ระบาดของโรคอะหิวาต์แอฟริกาในจีน ซึ่งจะส่งผลบวกต่อผลกำไรกลุ่มธุรกิจเกษตรใน 2Q19 และจะโตต่อเนื่องใน 3Q19 เนื่องจากเป็น high season ของธุรกิจ เรายังเลือก CPF เป็น Top pick ของกลุ่ม, GPSC (ปิด 69.25 ซื้อ เป้า 80 บาท) มองข่าว สตง.เสนอให้กระทรวงพลังงานทบทวนแผน PDP2018 ใหม่ไม่กระทบ GPSC เนื่องจากกำลังการผลิตไฟฟ้าส่วนใหญ่ส่งขายให้บริษัทในกลุ่ม PTT เป็นหลัก ส่วน Growth story ในอนาคตมุ่งเน้นลงทุนในต่างประเทศ อาทิ เวียดนาม ซึ่งมีแนวโน้มจะเพิ่มกำลังการผลิตมากกว่าไทยถึง 2 เท่า กำไรสุทธิปีหน้าจะเพิ่มขึ้นเป็น 10,000 ล้านบาทจากการรวมงบกับ GLOW ทำให้ EPS น่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 4 บาทต่อหุ้น กดดัน PE ลดลงต่ำกว่า 20 เท่า

KSS report วันนี้: PSH (ปิด 21.2 ปรับเป็นซื้อ/เป้าใหม่ 24.3 เดิม 17), PTTEP (ปิด 132.5 ซื้อ/เป้า 150)

ประเด็นสำคัญวันนี้:

  • (+/-) กลุ่มโรงไฟฟ้า : สตง.ส่งหนังสือให้กระทรวงพลังงานทบทวนแผน PDP2018 ใหม่ มองเป็นโอกาสมากกว่าต้องกลัวหรือ Panic, Top pick GPSC, BGRIM และ EA : วานนี้หุ้นในกลุ่มโรงไฟฟ้าผันผวนหนัก นำโดย BCPG, GULF และ GPSC หลังมีกระแสข่าว สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ส่งหนังสือให้กระทรวงพลังงานพิจารณาทบทวนแผน PDP2018 ใหม่ เนื่องจากปัจจุบันภาครัฐหรือ EGAT มีสัดส่วนในการผลิตต่ำกว่า 51% ซึ่งขัดกับรัฐธรรมนูญที่ระบุไว้ว่ากิจการสาธารณูปโภคพื้นฐานที่เกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ รัฐจะต้องมีสัดส่วนในการถือหุ้นไม้น้อยกว่า 51% ประเด็นนี้เราไม่ได้วิตกกังวลมากนัก เนื่องจากจะต้องใช้เวลาในการพิจารณาเพราะ 1) จะต้องไปตีความว่าการผลิตไฟฟ้าของ EGAT ในปัจจุบันและตามแผนในอนาคตขัดหรือไม่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ และ 2) เมื่อมีการตีความแล้วหากขัดจริง จะมีการทบทวนแผน PDP ใหม่โดยจะต้องเพิ่มสัดส่วนการผลิตของ EGAT ขึ้นเป็น 51% และลดสัดส่วนการผลิตของเอกชนลงจากปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 57% ของทั้งหมด หากเป็นไปตามแนวทางนี้จะทำให้ Growth story จากการขยายกำลังการผลิตไฟฟ้ในประเทศลดลงซึ่งจะกระทบต่อกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้า IPP อาทิ RATCH, EGCO และ GULF โดยในกรณีของ RATCH ต้องไปตีความอีกว่าการที่ EGAT ถือหุ้น 45% และ สหกรณ์ออมทรัพย์ EGAT ถือหุ้นอีก 5% จะรวมเป็นหน่วยงานของรัฐหรือไม่หากรวมจะทำให้ RATCH มีโอกาสได้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเพราะเป็นหน่วยงานของรัฐโดยตรง ส่วนกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้ารายอื่นๆ GPSC, BGRIM, BPP และ BCPG คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากประเด็นนี้จำกัด เนื่องจากผู้ผลิตกลุ่มนี้ส่วนใหญ่มี Growth story ของการเพิ่มกำลังการผลิตอยู่ในต่างประเทศ เช่นเดียวกับ EA ที่มุ่งเน้นสู่ธุรกิจแบตเตอร์รี่ไฟฟ้าจึงไม่ได้รับผลกระทบจากประเด็นดังกล่าว ดังนั้นราคาหุ้นที่ปรับตัวลงแรงเมื่อวานจึงเป็นโอกาสในการเข้าซื้อ โดยเฉพาะหุ้นโรงไฟฟ้าที่เป็น Top pick ของเราอยู่แล้วคือ GPSC, BGRIM และ EA
  • (+/-) คืนนี้ติดตามรายงานตัวเลข Nonfarm payrolls และค่าจ้างต่อชั่วโมงโดยเฉลี่ยของสหรัฐว่าจะมีผลชี้นำให้เฟดลดดอกเบี้ยได้หรือไม่ : ตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร (Nonfarm payrolls) อัตราการว่างงานและค่าจ้างต่อชั่วโมงโดยเฉลี่ย ถือเป็นตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญที่ เฟด ใช้ประกอบการพิจารณาในการขึ้นหรือลดอัตราดอกเบี้ย โดย Consensus คาดตัวเลข Nonfarm payrolls เดือนมิ.ย.จะเพิ่มขึ้นเป็น 1.7 แสนตำแหน่งสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ระดับ 7.5 หมื่นต่ำแหน่งหากตัวเลขดังกล่าวออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดหรือต่ำกว่าเดือนก่อนหน้าจะบ่งชี้ว่าตลาดแรงงานของสหรัฐเริ่มซบเซาจะยิ่งกดดันให้ เฟด อาจจะต้องลดเบี้ยแรงขึ้น ส่วนอัตราการว่างงาน Consensus คาดว่าจะทรงตัวที่ระดับ 3.6% ด้านค่าจ้างต่อชั่วโมงโดยเฉลี่ยจะเป็นตัวแทนทางด้านเงินเฟ้อ หากปรับลงแรงก็จะหนุนให้เฟดต้องลดดอกเบี้ยลงได้เช่นกัน