‘บาท’ เปิดตลาดเช้านี้ ‘แข็งค่า’ ที่ 30.66บาทต่อดอลลาร์

‘บาท’ เปิดตลาดเช้านี้ ‘แข็งค่า’ ที่ 30.66บาทต่อดอลลาร์

ตลาดยังเป็นไปตามเงินดอลลาร์และเงินทุนไหลเข้า รวมถึงสงครามการค้าที่ผ่อนคลาย เงินบาทยังมีทิศทางแข็งค่า

นายจิติพล  พฤกษาเมธานันท์  นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุนธนาคารกรุงไทยเปิดเผยว่าค่าเงินบาทเปิดเช้าวันนี้ที่ระดับ30.66 บาทต่อดอลลาร์แข็งค่าจากช่วงปิดสิ้นสัปดาห์ก่อนที่ระดับ30.67 บาทต่อดอลลาร์

ในส่วนของค่าเงินบาทเชื่อว่าจะมีทิศทางแข็งค่าได้ตามเงินทุนไหลเข้าและสงครามการค้าที่ผ่อนคลายแต่ในสัปดาห์นี้จำเป็นต้องติดตามตัวเลขเศรษฐกิจโดยเฉพาะตลาดแรงงานสหรัฐซึ่งถ้าชะลอตัวลงอาจส่งผลให้ตลาดกลับมากังวลและขายทำกำไรสินทรัพย์เสี่ยงรอบใหม่และเงินบาทจะมีโอกาสอ่อนค่ากลับได้

อย่างไรก็ดีเราเชื่อว่าแนวโน้มหลักในตลาดจะเป็นทิศทางดอกเบี้ยของสหรัฐและการเลือกประธานธนาคารกลางยุโรป(ECB) คนใหม่ซึ่งทั้งสองปัจจัยมีโอกาสที่จะกดดันให้ค่าเงินดอลลาร์อ่อนค่าได้ต่อไปได้ในระยะยาว

มองกรอบเงินบาทวันนี้30.60 - 30.70 บาทต่อดอลลาร์และกรอบเงินบาทสัปดาห์นี้30.40 - 31.90 บาทต่อดอลลาร์

สำหรับภาพรวมเศรษฐกิจทั่วโลกวันที่1-5 กรกฎาคมมีความเคลื่อนไหวที่น่าจับตาหลายเรื่องเริ่มต้นที่ฝั่งเอเชียวันจันทร์ดัชนีความเชื่อมั่นของภาคการผลิตญี่ปุ่น(Tankan Large Manufacturing Index) ลดลงจากระดับ12จุดสู่ระดับ7จุดหลังจากพิษสงครามการค้าเช่นเดียวกันกับฝั่งจีนมองว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมการผลิต(Caixin Mfg. PMI) จะหลุดลงแตะระดับ50จุดแสดงให้เห็นว่าภาคการผลิตในจีนไม่ฟื้นตัวแม้ว่าทางการจีนจะพยายามกระตุ้นเศรษฐกิจส่วนในวันอังคารคาดว่าธนาคารกลางออสเตรเลีย(RBA) จะมีมติ“ลด” อัตราดอกเบี้ยนโยบาย(Cash Rate) 0.25% สู่ระดับ1.00% เพื่อกระตุ้นตลาดแรงงาน

ขณะที่ฝั่งไทยคาดว่าอัตราเงินเฟ้อ(CPI) เดือนมิถุนายนที่จะรายงานในวันจันทร์นี้มีแนวโน้มชะลอตัวลงแตะระดับ1.1% จากปัจจัยราคาสินค้าพลังงานที่ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

สำหรับฝั่งยุโรปในวันจันทร์มองว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมการผลิต(Manufacturing PMI) ของยูโรโซนจะร่วงลงมาที่47.8จุดในวันพุธคาดว่าธนาคารกลางสวีเดน(Riksbank) จะมีมติ“คง” อัตราดอกเบี้ยนโยบาย(Repo Rate) ไว้ที่ระดับ-0.25% และมองว่าRiksbank จะจบดอกเบี้ยขาขึ้นไว้ก่อนเพราะความเสี่ยงจากสงครามการค้า

และในฝั่งสหรัฐฯวันจันทร์คาดว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคอุตสาหกรรมการผลิต(ISM Mfg. PMI) จะลดลงจากระดับ52.1จุดแตะระดับ51จุดชี้ว่าภาคการผลิตสหรัฐฯชะลอตัวลงต่อเนื่องวันศุกร์มองว่ายอดการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรม(Non-farm Payrolls) จะเพิ่มขึ้น1 แสนตำแหน่งส่งผลให้การว่างงานในสหรัฐทรงตัวได้ที่ระดับ3.6%

นอกเหนือจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจดังกล่าวควรติดตามผลการประชุมโอเปคพลัส(OPEC+) ระหว่าง1-2 กรกฎาคมโดยคาดว่าที่ประชุมOPEC+ จะสามารถบรรลุข้อตกลงขยายเวลาลดกำลังการผลิตน้ำมันไปอีกอย่างน้อย9 เดือน