ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจไฮสปีด

ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจไฮสปีด

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) มีพื้นที่พัฒนาโครงการที่การรถไฟแห่งประเทศไทย( ร.ฟ.ท.) จะต้องส่งมอบให้เอกชน แบ่งออกเป็น 2 ส่วน

คือ 1. พื้นที่เกี่ยวกับรถไฟ ประกอบไปด้วย พื้นที่โครงการฯ ที่อยู่ในเขตทางรถไฟ พื้นที่ช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา จำนวนประมาณ 850 ไร่ พื้นที่ที่อยู่ในความครอบครองดูแลของหน่วยงานของรัฐหรือที่ราชพัสดุ 79 ไร่ ประกอบด้วยพื้นที่ที่ดินสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ที่ดินกรมทางหลวง ที่ดินกรมชลประทาน ที่ดินกรมธนารักษ์

ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจไฮสปีด

2.การพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ แบ่งออกเป็น 2 พื้นที่ คือ 1.พื้นที่มักกะสันบริเวณสถานีแอร์พอร์ต เรล ลิงค์มักกะสัน เป็นพื้นที่ของ รฟท. สามารถนำมาพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ได้ โดยมีขนาดพื้นที่ประมาณ 150 ไร่ และ 2.พื้นที่บริเวณสถานีศรีราชา เป็นพื้นที่ของ รฟท.นำมาพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ ได้ โดยมีขนาดพื้นที่ประมาณ 25 ไร่

ประเมินว่าการลงทุนทั้งงบประมาณและพื้นที่การก่อสร้างและพื้นที่โดยรอบ จะสามารถสร้างผลตอบแทนทางเศรษฐกิจภายใต้โครงการนี้ในรัศมี 2 กิโลเมตรเส้นทางรถไฟ 214,621 ล้านบาท