กรมวิชาการเกษตร โชว์เทคนิคการตัดช่อดอกอ่อน ขยายผลสับปะรด “พันธุ์เพชรบุรี 2” สู่เกษตรกร

กรมวิชาการเกษตร โชว์เทคนิคการตัดช่อดอกอ่อน ขยายผลสับปะรด “พันธุ์เพชรบุรี 2” สู่เกษตรกร

กรมวิชาการเกษตร โชว์เทคนิคการตัดช่อดอกอ่อน ขยายผลสับปะรด “พันธุ์เพชรบุรี 2” สู่เกษตรกร

การตัดช่อดอกอ่อนเป็นวิธีการผลิตหน่อพันธุ์สับปะรด ที่ใช้เทคนิคที่เกษตรกรสามารถเรียนรู้และปฏิบัติได้เองในแปลงปลูกเพื่อลดระยะเวลาในการผลิต และเพิ่มจำนวนหน่อพันธุ์สับปะรดที่ผลิตได้ต่อพื้นที่มากกว่าการขยายพันธุ์ตามธรรมชาติ เหมาะสำหรับพันธุ์ที่มีหน่อพันธุ์จำนวนน้อยแต่ตลาดมีความต้องการสูง เช่น พันธุ์เพชรบุรี เพชรบุรี 2 และ MD 2 เป็นต้น

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบุรี (ศวพ. เพชรบุรี) สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 กรมวิชาการเกษตร ได้ถ่ายทอดเทคนิคการผลิตหน่อพันธุ์สับปะรดด้วยการตัดช่อดอกอ่อนสู่เกษตรผ่านการจัดอบรม ซึ่งเทคนิคนี้จะบังคับการออกดอกในต้นสับปะรดอายุ 5 เดือนหลังปลูก หรือต้นมีน้ำหนักประมาณ 1 กก. หลังจากนั้น 2 เดือนเมื่อก้านชือดอกยืดตัวจึงตัดช่อดอกออ่อนอออกเพื่อให้เกิดหน่อ หลังจากนั้นประมาณ 3 เดือนเริ่มเก็บเกี่ยวหน่อที่มีขนาดความยาวประมาณ 30 ซม. เพื่อนำไปปลูกขยายพันธุ์ต่อไป โดยวิธีการนี้ใช้ประยะเวลาตั้งแต่ปลูกถึงเก็บเกี่ยวหน่อรวม 14 เดือน

ประโยชน์ที่เกษตรกรจะได้รับจากการผลิตหน่อพันธุ์สับปะรดในแปลงปลูกกลางแจ้งด้วยกรรมวิธีตัดช่อดอกอ่อน คือ ช่วยลดระยะเวลาการผลิตหน่อพันธุ์ จากเดิมตั้งแต่การปลูกจนเก็บหน่อหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วใช้ระเวลา 18-24 เดือน ได้จำนวนพันธุ์ 2-3 หน่อต่อต้น จะลดลงเหลือ 12-14  เดือน ได้จำนวนหน่อพันธุ์ถึง 6-7 หน่อต่อต้น ช่วยลดต้นทุนการผลิตต่อหน่อ เหมาะสำหรับพันธุ์สับปะรดที่มีความต้องการในตลาดสูงแต่หน่อพันธุ์มีไม่เพียงพอกับความต้องการ โดยผู้ผลิตหรือเกษตรกรสามารถเพิ่มรายได้จากการผลิตหน่อพันธุ์เพื่อจำหน่าย

กรมวิชาการเกษตร โชว์เทคนิคการตัดช่อดอกอ่อน ขยายผลสับปะรด “พันธุ์เพชรบุรี 2” สู่เกษตรกร

อย่างไรก็ดี จากสับปะรดพันธุ์เพชรบุรี 2 เป็นที่ต้องการของตลาดสูง โดยเป็นพันธุ์แนะนำที่ได้รับการรับรองจากกรมวิชาการเกษตร เหมาะสำหรับนำไปแปรรูปเป็นสับปะรดกระป๋อง ที่ผ่านมากรมวิชาการเกษตรได้จัดฝึกอบรม หลักสูตร เทคโนโลยีการจัดการสับปะรดพันธุ์เพชรบุรี 2 และการขยายพันธุ์อย่างง่าย เมื่อวันที่  5 ก.ค. 2566 ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบุรี ต. สามพระยา อ. ชะอำ จ. เพชรบุรี มีผู้เข้ารับการอบรมได้แก่ เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดจังหวัดราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ บุคลากรในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เจ้าหน้าที่โรงงานแปรรูปสับปะรด รวมจำนวน 65 ราย

นอกจากนี้ได้จัดเสวนา เรื่อง ห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมสับปะรดเพื่อการแปรรูป และวันถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตสับปะรด และการผลิตหน่อพันธุ์สับปะรดเพชรบุรี 2 ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบุรี ต. สามพระยา อ. ชะอำ จ. เพชรบุรีเมื่อวันที่  20 ก.ค. 2566 มีผู้เข้าร่วมงาน 154 ราย ได้แก่ เกษตรกรผู้ปลูกสับปะรดจังหวัดระยอง ราชบุรี เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์ บุคลากรในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมชาวไร่สับปะรดไทย สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป และโรงงานแปรรูปสับปะรด

กรมวิชาการเกษตร โชว์เทคนิคการตัดช่อดอกอ่อน ขยายผลสับปะรด “พันธุ์เพชรบุรี 2” สู่เกษตรกร

สำหรับในปีงบประมาณ 2567 มีแผนการสร้างเครือข่ายการผลิตหน่อพันธุ์สับปะรดเพชรบุรี 2 และขยายผลสู่เกษตรกร เพื่อสร้างเครือข่ายผลิตหน่อพันธุ์สับปะรดเพชรบุรี 2 ใน  2 กลุ่ม ได้แก่ สหกรณ์การเกษตรดอนขุนห้วย จำกัด อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี และกลุ่มเกษตรกรทำไร่สับปะรดแฟร์เทรด อ.สามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อวางแผนการผลิตและส่งต่อหน่อพันธุ์ที่ผลิตได้ไปยังกลุ่มผลิตหน่อพันธุ์กลุ่มต่อ ๆ ไป

ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเพชรบุรี 60 ม.3 ต.สามพระยา อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี โทร 032-772852-3