เตรียม 6 ข้อง่ายๆ เพื่อชีวิตโสดและสบายจนถึงวัยเกษียณ

เตรียม 6 ข้อง่ายๆ เพื่อชีวิตโสดและสบายจนถึงวัยเกษียณ

คนรุ่นใหม่ Gen Y หันมา "อยู่แบบโสดๆ" กันมากขึ้น ในอนาคตจำเป็นที่จะต้องวางแผนชีวิต และการเงินให้รอบคอบ วันนี้จะมาแนะนำ 6 ข้อง่ายๆ ที่สามารถนำไปปรับใช้เมื่อถึงวัยเกษียณก็ยังสบาย

รู้หรือไม่! คนไทย Gen Y มีค่านิยมเรื่องชีวิตคู่ที่เปลี่ยนไป นั่นคือจะเป็นโสดก็ได้ ไม่แต่งงานมีลูกก็ไม่เป็นไร ชีวิตนี้ขอทุ่มเทให้กับเรื่องงานหรือเก็บเงินไปเที่ยวก็พอ เทรนด์คนที่อยู่เป็นโสดจนถึง วัยเกษียณ เลยมีแนวโน้มที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ติดกันหลายปีนับตั้งแต่ปี 2560 ในเมื่อความโสดไม่ใช่เรื่องใหญ่ที่น่ากังวลใจในสังคมอีกต่อไป วันนี้เลยมีไอเดียที่จะช่วยให้มีชีวิตโสดแบบสบายๆ ไปจนเกษียณมาฝาก

  1. เตรียมเงินฉุกเฉินให้พร้อม สัก 3-6 เท่าของค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน เพื่อรับมือกับความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
  2. จัดสรรรายได้ตลอดปีให้ดี เพราะรายได้ทั้งหมดมีไว้เพื่อตัวเอง เริ่มต้นง่ายๆ ที่การทำบัญชีรายรับรายจ่าย ลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นและไม่สร้างหนี้เพิ่ม
  3. วางแผนให้เงินทำงานแทน ในวันที่พ้นสภาพพนักงานและไม่มีเงินเดือนประจำ สามารถมีรายรับด้วยการลงทุนในสินทรัพย์ สร้าง Passive Income ในกองทุนรวมหรือตราสารหนี้ ซึ่งมีความเสี่ยงต่ำ สภาพคล่องสูง แถมยังได้สิทธิลดหย่อนภาษีด้วย
  4. เลือกปักหลักในสถานที่ที่ชอบ ให้ความสำคัญกับการเลือกที่อยู่อาศัยที่เอื้อต่อการมีชีวิตที่ดี เช่น ใกล้แหล่งชุมชน ใกล้โรงพยาบาล เข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกง่าย และได้ทำกิจกรรมที่ชอบ
  5. ซื้อประกันชีวิตและประกันสุขภาพ เพื่อช่วยบรรเทาภาระค่ารักษาพยาบาล ควรทำตั้งแต่อายุน้อยๆ เพราะค่าเบี้ยประกันจะถูกกว่าการทำตอนอายุมากขึ้น
  6. ลงทุนเพื่อการเกษียณ ผลสำรวจพบว่า จำนวนคนไทยที่พร้อมเกษียณมีต่ำกว่า 40% อีกทั้งรายได้หลักของวัยนี้มาจากบุตร ดังนั้น ถ้าคิดจะโสดยาวๆ แล้วล่ะก็ การออมเงินเพื่อการเกษียณจึงสำคัญมาก เช่น ออมหุ้น กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) เป็นต้น

เริ่มต้นลงทุนตั้งแต่วันนี้ผ่านแอปพลิเคชัน Principal TH จาก บลจ. พรินซิเพิล ดาวน์โหลดได้ ที่นี่ พร้อมติดตามข่าวสาร และข้อมูลกองทุนเพิ่มเติมจาก บลจ.พรินซิเพิล ได้ทุกช่องผ่าน เฟซบุ๊ก ยูทูบ  และ เว็บไซต์ หรือโทร. 02-686-9500

ผู้ลงทุนควรทำความเข้าใจลักษณะสินค้า (กองทุน) เงื่อนไข ผลตอบแทน และความเสี่ยงก่อนตัดสินใจลงทุน / ผู้ลงทุนต้องศึกษาข้อมูลของกองทุนรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายการลงทุน ความเสี่ยง และผลการดำเนินงานของกองทุนรวมที่เปิดเผยไว้ในแหล่งต่างๆ หรือให้ขอข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ ก่อนการตัดสินใจลงทุน / ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันถึงผลการดำเนินงานในอนาคต