วว. ร่วมประชุมกับ CSIRO ออสเตรเลีย แลกเปลี่ยนความรู้ด้านการวิจัย และการสร้างระบบนิเวศการจัดการพลาสติกอย่างยั่งยืน

วว. ร่วมประชุมกับ CSIRO ออสเตรเลีย แลกเปลี่ยนความรู้ด้านการวิจัย และการสร้างระบบนิเวศการจัดการพลาสติกอย่างยั่งยืน

วว. ร่วมประชุมกับ CSIRO ออสเตรเลีย แลกเปลี่ยนความรู้ด้านการวิจัย และการสร้างระบบนิเวศการจัดการพลาสติกอย่างยั่งยืน

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ภายใต้ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เดินหน้าโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเชิงพื้นที่ด้วยนวัตกรรม ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานปลัด อว. สร้างความร่วมมือเครือข่ายนานาชาติด้านนวัตกรรมเกษตรสร้างสรรค์ นำคณะ วว. และ อว. ร่วมประชุมหารือกับ องค์การวิจัยวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมแห่งเครือจักรภพ (CSIRO) ประเทศออสเตรเลีย พบ ทีมปัญญาประดิษฐ์ (AI) ทีมเกษตรสมัยใหม่และทีมพลาสติก แลกเปลี่ยนความรู้ด้านการวิจัย และการสร้างระบบนิเวศการจัดการพลาสติกอย่างยั่งยืน ผ่านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีนวัตกรรม

ในการประชุมครั้งนี้ ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในฐานะประธานคณะกรรมการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (กวท.) ให้เกียรติเข้าร่วมประชุมพร้อมด้วย ศ.(วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ดร.บุณณณิดา โสดา  ผู้อำนวยการกองวิเทศสัมพันธ์  (กวส.) สำนักผู้ว่าการ วว. และดร.อนันต์  พิริยะภัทรกิจ นักวิจัยอาวุโส  ศนก. ขณะที่ Ms.Andrea Sosa-Pintos, IPPIN Senior Program Manager และตัวแทนจากองค์การวิจัยวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมแห่งเครือจักรภพ (CSIRO) ได้นำทีมปัญญาประดิษฐ์ (AI), ทีมเกษตรสมัยใหม่และทีมพลาสติกเข้าร่วมหารือ

วว. ร่วมประชุมกับ CSIRO ออสเตรเลีย แลกเปลี่ยนความรู้ด้านการวิจัย และการสร้างระบบนิเวศการจัดการพลาสติกอย่างยั่งยืน

วว. ร่วมประชุมกับ CSIRO ออสเตรเลีย แลกเปลี่ยนความรู้ด้านการวิจัย และการสร้างระบบนิเวศการจัดการพลาสติกอย่างยั่งยืน

ในการหารือ ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้เล่าถึงบทบาทและหน้าที่ของ อว. รวมไปจนถึงความเกี่ยวข้องของ วว. จากนั้น ศ.(วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ได้บอกเล่าถึงประเด็นหลักที่สำคัญที่ วว. ให้ความสนใจในขณะนี้ ซึ่งรวมไปถึงงานด้านการเกษตรที่ทำโดยผ่านศูนย์วิจัยนวัตกรรมการเกษตร และงานทางด้านพลาสติก

จากนั้น ได้มีการถกถึงประเด็นประเด็นปัญญาประดิษฐ์ (AI) ปัจจุบัน ปัญหาหลักของ AI ในออสเตรเลียคือปัญหาทางด้านจริยธรรม จึงมีเครือข่าย หรือชมรมจริยธรรมมากกว่า 150 แห่ง เนื่องเพราะชาวออสเตรเลียคำนึงถึงความเป็นส่วนตัวเป็นสำคัญ ในขณะที่คนทำงานส่วนมากจะมีความเชี่ยวชาญทางด้านเทคนิคเป็นหลักมากกว่าการให้ความสำคัญด้านจริยธรรม นอกจากนี้ ยังพบกว่า 70% ของผู้ประกอบการทางด้าน AI ในออสเตรเลียเป็นผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) ที่มีคนทำงานน้อยกว่า 4 คน ดังนั้น ผู้ประกอบการรายย่อยเหล่านี้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องใช้แบบประเมินตนเอง (self-assessment tools) เพราะไม่มีเงินทุนมากพอที่จะสามารถจัดซื้อระบบมาจากบริษัท AI รายใหญ่ได้

วว. ร่วมประชุมกับ CSIRO ออสเตรเลีย แลกเปลี่ยนความรู้ด้านการวิจัย และการสร้างระบบนิเวศการจัดการพลาสติกอย่างยั่งยืน

ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า “ประเทศไทย ประเด็นเรื่องความเป็นส่วนตัวยังไม่ใช่ปัญหาหลัก เมื่อเทียบกับประเด็นการสูญเสียงานเนื่องจากนำเทคโนโลยีมาใช้แทนกำลังคน ขณะที่ ศ.(วิจัย) ดร.ชุติมา เอี่ยมโชติชวลิต ผู้ว่าการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) ได้ซักถามเพิ่มเติมถึงแนวทางการลงทะเบียนเข้าหน่วยงานต่างๆ ในออสเตรเลียที่ขอข้อมูลส่วนตัวจำนวนมาก ว่ามีแนวทางการปกป้องข้อมูลส่วนตัวอย่างไร ซึ่ง CSIRO เล่าว่า องค์กรไม่มีนโยบายแชร์ข้อมูลส่วนตัวใดๆให้หน่วยงานภายนอก และโดยปกติการมีข้อมูลเพียงไม่กี่ข้อมูล เช่น ทราบเพศ ทราบเมืองที่อาศัย และทราบวันเดือนปีเกิด เพียงเท่านี้ ก็สามารถระบุตัวตนบุคคลได้

จากนั้นได้ถกถึงประเด็น การเกษตรสมัยใหม่ ทีม CSIRO แจ้งว่าได้ดำเนินการพัฒนาฐานข้อมูลเกี่ยวกับผลกระทบของสภาพภูมิอากาศที่มีต่อพืชผลทางการเกษตรทั้งในออสเตรเลียและประเทศพันธมิตร ซึ่งภูมิภาคอาเซียนเป็นหนึ่งในภูมิภาคที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดแห่งหนึ่ง สำหรับโครงการวิจัยการเกษตรและเพาะปลูกพืชผล โดยเฉพาะการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ตอบรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (climate smart agriculture) เป็นเรื่องที่จำเป็น และพร้อมจะร่วมมือกับประเทศไทย

วว. ร่วมประชุมกับ CSIRO ออสเตรเลีย แลกเปลี่ยนความรู้ด้านการวิจัย และการสร้างระบบนิเวศการจัดการพลาสติกอย่างยั่งยืน

วว. ร่วมประชุมกับ CSIRO ออสเตรเลีย แลกเปลี่ยนความรู้ด้านการวิจัย และการสร้างระบบนิเวศการจัดการพลาสติกอย่างยั่งยืน

โอกาสนี้ ได้มีการหารือถึงประเด็น ความร่วมมือทางด้านพลาสติก ทางทีม CSIRO เผยว่า กำลังจะเปิดตัวโครงการ Indo-Pacific Plastics Network (IPPN) สำหรับภูมิภาคแม่โขงในต้นปี 2566 ซึ่งในประเทศไทย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช) และ มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย (TEI) ได้เข้าร่วมแล้ว และ วว. ได้แจ้งความประสงค์จะเข้าร่วมกับโครงการนี้ และยังได้เล่าถึงโครงการ RDF5 ประเด็นขยะมูลฝอย และขยะพลาสติก ประเทศไทยได้มีการดำเนินการอย่างจริงจัง โดยมุ่งเน้นไปที่การทำงานในพื้นที่ชนบท รวมไปถึงการวิจัย และการสร้างระบบนิเวศการจัดการพลาสติกอย่างยั่งยืน ผ่านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม ภายใต้หลักการ BCG (BIO-CIRCULAR-GREEN ECONOMY) ช่วยยกระดับทั้งมาตรฐานผลิตภัณฑ์และต่อยอดสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

ศ.(วิจัย) ดร.ชุติมา เผยว่า ประเด็นความร่วมมืออื่นๆ ที่เป็นไปได้ คือ ความช่วยเหลือทางด้านเทคนิคจากทาง CSIRO ในการพัฒนาโมเดลทางธุรกิจของการจัดการขยะในประเทศไทยแบบครบวงจร การแลกเปลี่ยนผู้เชี่ยวชาญระหว่างกัน โดยทาง วว. ได้เสนอผู้เชี่ยวชาญทางด้าน biodegradable รวมถึงระบบการออกใบรับรองและขั้นตอนการทดสอบ ในขณะที่ CSIRO เสนอผู้เชี่ยวชาญทางด้านการประเมิน Life Cycle ต่อไป”

วว. ร่วมประชุมกับ CSIRO ออสเตรเลีย แลกเปลี่ยนความรู้ด้านการวิจัย และการสร้างระบบนิเวศการจัดการพลาสติกอย่างยั่งยืน

วว. ร่วมประชุมกับ CSIRO ออสเตรเลีย แลกเปลี่ยนความรู้ด้านการวิจัย และการสร้างระบบนิเวศการจัดการพลาสติกอย่างยั่งยืน