พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ไทยตอนบน มีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น ก่อนอุณหภูมิจะลดลง

พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ไทยตอนบน มีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น ก่อนอุณหภูมิจะลดลง

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ประเทศไทยตอนบน มีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง ก่อนอุณหภูมิจะลดลงกับมีลมแรง

รายงานสภาพอากาศอีก 7 วันข้างหน้า จาก "กรมอุตุนิยมวิทยา" ระบุ "พยากรณ์อากาศ" ระหว่างวันที่ 30 มีนาคม 2565 - 5 เมษายน 2565 คาดการณ์ว่า ในช่วงวันที่ 1 - 2 เม.ย. 65 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทย เข้ามาปกคลุมบริเวณดังกล่าว ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยจะเริ่มบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือก่อน ส่วนภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคเหนือจะได้รับผลกระทบในระยะต่อไป ซึ่งมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยมีฝนตกหนักบางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 3 - 6 เม.ย. 65 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนยังคงแผ่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิลดลงกับมีลมแรง โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิจะลดลง 5-7 องศาเซลเซียส ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑลอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยตอนบนช่วยคลายความร้อนลงได้

อนึ่ง หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง มีแนวโน้มจะเคลื่อนผ่านประเทศเวียดนามตอนล่าง ปลายแหลมญวน และเคลื่อนเข้าปกคลุมภาคใต้ในช่วงวันที่ 2 – 3 เม.ย. 65 ทำให้ลมฝ่ายตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ มีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

"กรมอุตุนิยมวิทยา" ยังให้รายละเอียด "พยากรณ์อากาศ" ถึงข้อควรระวัง ระหว่างวันที่ 30 มีนาคม 2565 - 5 เมษายน 2565 ระบุว่า ในช่วงวันที่ 1 – 2 เม.ย. 65 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ ป้ายโฆษณาและสิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรไว้ด้วย และดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศแปรปรวน ส่วนในช่วงวันที่ 1 - 3 เม.ย. 65 ประชาชนบริเวณภาคใต้ควรระวังอันตรายจากฝนตกหนัก ซึ่งอาจให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากที่จะเกิดขึ้น ชาวเรือควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

ภาคเหนือ

ในช่วงวันที่ 1 – 2 เม.ย. 65 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 -60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-38 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ส่วนในช่วงวันที่ 3 - 6 เม.ย. 65 อุณหภูมิจะลดลง 2–4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 19-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ไทยตอนบน มีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น ก่อนอุณหภูมิจะลดลง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในช่วงวันที่ 1 – 2 เม.ย. 65 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง โดยมีฝนตกหนักบางพื้นที่ทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ส่วนในช่วงวันที่ 3 - 6 เม.ย. 65 อุณหภูมิจะลดลง 5-7 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ไทยตอนบน มีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น ก่อนอุณหภูมิจะลดลง

ภาคกลาง

ในช่วงวันที่ 1 – 2 เม.ย. 65 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.

ส่วนในช่วงวันที่ 3 - 6 เม.ย. 65 อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 21-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออก

ในช่วงวันที่ 1– 2 เม.ย. 65 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับลมกระโชกแรงและฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

ส่วนส่วนในวันที่ 3 - 6 เม.ย. 65 อุณหภูมิจะลดลง 2–4 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ในช่วงวันที่ 1 – 6 เม.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

ในช่วงวันที่ 1 – 6 เม.ย. 65 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-35 องศาเซลเซียส

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ในช่วงวันที่ 1 - 2 เม.ย. 65 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักและลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ส่วนในช่วงวันที่ 3 - 4 เม.ย. 65 อุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง หลังจากนั้นอุณภูมิจะเริ่มสูงขึ้น อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม.