เปิดปฏิทิน "วันหยุด" เดือนเมษายน 2565 พร้อมเช็ควันสำคัญที่ต้องรู้!

เปิดปฏิทิน "วันหยุด" เดือนเมษายน 2565 พร้อมเช็ควันสำคัญที่ต้องรู้!

เปิดปฏิทิน "วันหยุด" เดือนเมษายน 2565 พร้อมส่อง วันหยุดราชการ และวันสำคัญต่างๆ รวมถึงในเดือนนี้มี เทศกาล "สงกรานต์ 2565" และวันจักรี

นับถอยหลังเข้าสู่เดือน "เมษายน 2565" เปิดปฏิทินเช็ค "วันหยุด" ประจำเดือนทั้ง วันหยุดนักขัตฤกษ์ วันหยุดราชการ และวันสำคัญต่างๆ โดย "กรุงเทพธุรกิจออนไลน์" ได้รวบรวมมาให้เช็คกัน ดังนี้

 

"วันหยุด" ประจำเดือนเมษายน 2565 

  • 6 เมษายน 2565 : วันจักรี
  • 13-15 เมษายน 2565 : วันสงกรานต์

ซึ่งปีนี้จะเริ่มหยุดยาว 3 วัน ตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน ยาวไปจนถึงวันศุกร์ที่ 15 เมษายน และหากรวมวันเสาร์ที่ 16 เมษายน และวันอาทิตย์ที่ 17 เมษายน จะมีวันหยุดรวมทั้งหมด 5 วันด้วยกัน

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

วันสำคัญ เดือนเมษายน 2565

1 เมษายน 2565 : วัน April Fools’ Day | วันออมสิน | วันเลิกทาส | วันข้าราชการพลเรือน

2 เมษายน 2565 : วันอนุรักษ์มรดกไทย |วันคล้ายวันพระราชสมภพ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

4 เมษายน 2565 : วันภาพยนตร์แห่งชาติ | วันเชงเม้ง

5 เมษายน 2565 : วันคล้ายวันประสูติ ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตน์ราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี

7 เมษายน 2565 : วันอนามัยโลก

12 เมษายน 2565 : วันป่าชุมชนชายเลนไทย

13 เมษายน 2565 : นอกจากจะเป็นวันสงกรานต์แล้วยังเป็น วันผู้สูงอายุ อีกด้วย

14 เมษายน 2565 : วันครอบครัว

22 เมษายน 2565 : วันคุ้มครองโลก

24 เมษายน 2565 : วันเทศบาล

25 เมษายน 2565 : วันนเรศวรมหาราช | วันคล้ายวันสวรรคต สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

26 เมษายน 2565 : วันทรัพย์สินทางปัญญาโลก

29 เมษายน 2565 : วันเต้นรำสากล | วันคล้ายวันประสูติ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ

30 เมษายน 2565 : วันชาไข่มุกแห่งชาติ | วันคุ้มครองผู้บริโภคไทย

รู้จักประเพณี "สงกรานต์" 

วันสงกรานต์ ถือเป็นประเพณีวันขึ้นปีใหม่ของไทยมาแต่โบราณ คำว่า “สงกรานต์ มาจากภาษาสันสกฤตว่า “สํ-กรานต” ซึ่งแปลว่า ก้าวขึ้น ย่างขึ้น หรือย้ายขึ้น มีนัยยะหมายถึงการเข้าสู่ศักราชราศีใหม่หรือวันขึ้นปีใหม่นั้นเอง

โดยเทศกาล “สงกรานต์” นั้นเป็นประเพณีที่มีความเก่าแก่และถูกสืบทอดกันมานานตั้งแต่โบราณ ในยุคแรกๆ คนไทยโบราณจะถือเอาวันขึ้น 1 ค่ำ เดือนอ้าย ซึ่งจะตรงในช่วงเดือนพฤศจิกายนหรือธันวาคม ให้เป็นวันขึ้นปีใหม่

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการเปลี่ยนมากำหนดใหม่ โดยกำหนดให้วันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ ผ่านมาจนถึงยุคสมัยของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม (พ.ศ. 2483) ได้เปลี่ยนวันปีใหม่ให้เป็นวันสากล คือ วันที่ 1 มกราคม แต่ถึงอย่างไร คนโบราณก็ยังคงคุ้นเคยกับวันปีใหม่ไทยในเดือนเมษายน จึงได้กำหนดให้วันที่ 13 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ไทยหรือวัน “สงกรานต์” ร่วมด้วย โดยมีวันสำคัญต่างๆ ที่พ่วงมาด้วยในช่วงวันที่ 13-14-15 เมษายน คือ วันมหาสงกรานต์ พ่วง วันผู้สูงอายุ วันครอบครัว และวันเถลิงศก