ศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ เปิดยุทธการ “สทก.ท้ารบสยบไพรี”สกัดส่งออกยาเสพติด

ศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ เปิดยุทธการ “สทก.ท้ารบสยบไพรี”สกัดส่งออกยาเสพติด

ศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ การท่าเรือฯ ตำรวจปราบปรามยาเสพติด กองสืบสวนและปราบปราม กรมศุลกากร เปิดยุทธการ “สทก. ท้ารบสยบไพรี” สกัดเครือข่าย ลักลอบลำเลียงยาเสพติด

วันนี้ (23 มี.ค. 65) พ.ต.อ.ณรัชต์พล เลิศรัชตะปภัสร์ ผู้อำนวยการสำนักงานศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ นางสาววรรณา ผู้อุตส่าห์ รักษาการในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคการตรวจสอบสินค้า พร้อมด้วยการท่าเรือแห่งประเทศไทย กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด และกองสืบสวนและปราบปราม กรมศุลกากร ร่วมกันปล่อยแถวตามยุทธการ “สทก. ท้ารบสยบไพรี” ในการ

ปิดล้อมและตรวจค้นหีบห่อรวมทั้งยานพาหนะที่เข้ามาในเขตท่าเรือกรุงเทพเพื่อเป็นการป้องกัน กดดัน และปราบปรามเครือข่ายการลักลอบลำเลียงยาเสพติด อันเป็นการปกป้องสังคมและผู้ประกอบการที่มีความสุจริต ตลอดจนสร้างความเชื่อมั่นให้กับประเทศในเวทีการค้าระหว่างประเทศ ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนและประเทศตามนโยบายของรัฐบาลและกรมศุลกากร

นายประสิทธิ์ ดีจงเจริญ ผู้อำนวยการศูนย์เอกซเรย์และเทคโนโลยีศุลกากร เปิดเผยว่าในช่วงที่ผ่านมากรมศุลกากรสามารถตรวจยึดยาเสพติดที่ส่งออกทางท่าเรือกรุงเทพได้เป็นจำนวนมาก อาทิ เมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 2564 ตรวจยึดยาไอซ์น้ำหนักรวมสิ่งห่อหุ้ม 897 กิโลกรัม ปลายทางไต้หวัน มูลค่ากว่า 3,000 ล้านบาท และเมื่อ 23 ธ.ค. 2564 ตรวจยึดยาไอซ์ น้ำหนักรวมสิ่งห่อหุ้มประมาณ 193.5 กิโลกรัม ปลายทางออสเตรเลีย มูลค่ากว่า116 ล้านบาท เป็นต้น ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดตามมาตรา 202 และ มาตรา244 ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 ประกอบประมวลกฎหมายยาเสพติด พ.ศ. 2564 ศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ เปิดยุทธการ “สทก.ท้ารบสยบไพรี”สกัดส่งออกยาเสพติด ศุลกากรท่าเรือกรุงเทพ เปิดยุทธการ “สทก.ท้ารบสยบไพรี”สกัดส่งออกยาเสพติด

ทั้งนี้ นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมศุลกากร นายกิตติ สุทธิสัมพันธ์ ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาและบริหารการจัดเก็บภาษี นายพงศ์เทพ บัวทรัพย์ รองอธิบดีกรมศุลกากร และนายถวัลย์ รอดจิตต์ ผู้อำนวยการกองสืบสวนและปราบปราม มีนโยบายในการสร้างความสมดุลระหว่างการอำนวยความสะดวกทางการค้าควบคู่ไปกับการควบคุมทางศุลกากร โดยได้กำชับให้ทุกหน่วยงานป้องกันการลักลอบส่งออกยาเสพติดตลอดจนสินค้าผิดกฎหมายอย่างเต็มที่ เพื่อให้ผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจอย่างสุจริตได้รับผลกระทบในการส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศให้น้อยที่สุด