รวมสนามบินภาคใต้ขนาดเล็กก่อนมี “สนามบินเบตง”

รวมสนามบินภาคใต้ขนาดเล็กก่อนมี “สนามบินเบตง”

หลังตกเป็นกระแสทางสังคมถึงการเปิดใช้สนามบินเบตงที่มีความล่าช้ากว่ากำหนดเนื่องจากปัจจัยหลายอย่าง แต่มีการให้บริการเที่ยวบินทางราชการ และเที่ยวบินส่วนบุคคล อย่างต่อเนื่อง ซึ่งภาคใต้มีสนามบินขนาดเล็กอยู่แล้ว 8 สนามบิน ซึ่งมีผู้โดยสารใช้งานอยู่ตามปกติแล้ว

ก่อนหน้านี้ปีเมื่อปี 2558 คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ "โครงการก่อสร้างท่าอากาศยานเบตง" ในพื้นที่ ต.ยะรม อ.เบตง จ.ยะลา พื้นที่ 920 ไร่ ระยะรันเวย์ 1,800 เมตร กรอบวงเงิน 1,900 ล้านบาท โครงการดังกล่าว ผ่านขั้นตอนสำคัญต่างๆ เรียบร้อยแล้ว เช่น รายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ผ่านความเห็นชอบตั้งแต่เดือน ก.ย. 2557 และก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2562 และคาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2564 แต่เนื่องจากปัญหาด้านโครงสร้างทำให้เกิดประเด็นในโลกออนไลน์ว่าสนามบินเปิดใช้งานไม่ได้เนื่องจากมีรันเวย์ขนาดเล็กทำให้มีแต่เครื่องบินแบบใบพัดเท่านั้นที่ลงจอดได้จึงทำให้ยังไม่ได้เปิดใช้งาน

ทำให้เมื่อวันที่ 4 ม.ค.2564 รายงานข่าวจากกรมท่าอากาศยาน (ทย.) ออกมาชี้แจงกรณีมีประเด็นบิดเบือนของท่าอากาศยานเบตงตามที่ได้มีข้อมูลปรากฏบิดเบือนในสื่อสังคมออนไลน์ ถึงกรณีการก่อสร้างท่าอากาศยานเบตงที่มีข้อติดขัดไม่สามารถเปิดให้บริการได้นั้น ทย. ขอชี้แจงข้อมูลเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องดังนี้

โดยเส้นทางบินและการขึ้นลงของอากาศยาน จะอยู่ในน่านฟ้าของประเทศไทยเท่านั้น ไม่มีล้ำเข้าไปในน่านฟ้าของประเทศเพื่อนบ้านแต่อย่างใด ขณะนี้ได้มีสายการบินขออนุญาตทำการบินไว้ 2 เส้นทาง คือ 1.หาดใหญ่-เบตง-หาดใหญ่ และ 2.ดอนเมือง-เบตง-ดอนเมือง ปัจจุบันท่าอากาศยานเบตงมีการให้บริการเที่ยวบินทางราชการ และเที่ยวบินส่วนบุคคล ซึ่งได้มีการทำการบินมาอย่างต่อเนื่อง

สำหรับสนามบินขนาดเล็กในภาคใต้ที่เปิดให้บริการมีอยู่ด้วยกันทั้งหมด 8 สนามบิน ได้แก่ สนามบินชุมพร สนามบินระนอง สนามบินสุราษฎร์ธานี สนามบินนครศรีธรรมราช สนามบินกระบี่ สนามบินตรัง สนามบินปัตตานี สนามบินนาราธิวาส

และจากภาพรวมตัวเลขผู้เดินทางที่ใช้บริการสนามบินและเที่ยวบินสูงสุดในไตรมาส ที่ 1 ประจำปี 2564 จาก 15 อันดับแรก ของสนามบินทั้งหมดในประเทศไทย มีสนามบินขนาดเล็กจากภาคใต้รวม 3 สนามบิน ที่มีผู้ใช้บริการสูงสุด ได้แก่ อันดับที่ 11 สนามบินสุราษฎร์ธานีร้อยละ 0.16 สนามบินกระบี่ร้อยละ 0.14 และสนามบินตรังร้อยละ 0.08 

ต่อมารายงานสถิติการขนส่งทางอากาศไตรมาสที่ 1 ประจำปี 2564 ภาพรวม 15 สนามบินที่มีการขนส่งมากที่สุด มีสนามบินขนาดเล็กจากภาคใต้ติดอันดับอยู่ 4 สนามบิน ได้แก่ อันดับที่ 6 สนามบินนครศรีธรรมราชร้อยละ 2.1 อันดับที่ 11 สนามบินสุราษฎร์ธานีร้อยละ 1.4 อันดับที่ 12 สนามบินกระบี่ร้อยละ 1.3 และ อันดับที่ 15 สนามบินตรังร้อยละ 0.7 ทำให้หลังจากนี้ต้องจับตาดูต่อไปว่าสนามบินเบตงจะสามารถเปิดใช้งานเที่ยวบินเชิงพาณิชย์ตามที่ตั้งใจไว้ได้หรือไม่